การทำรากบัวเชื่อม

ข้อมูลผลงาน

  1,143      3,757
 
Creative Commons License
การทำรากบัวเชื่อม is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  การทำรากบัวเชื่อม
คำอธิบาย :  ภูมิปัญญาท้องถิ่น : การทำรากบัวเชื่อม\\\\nบ้านทับกฤช ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์\\\\n\\\\n\\\\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา นางบุญยัง รุ่งสง่า\\\\nที่อยู่ ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ 60250\\\\nอาชีพ ค้าขาย อายุศึกษาภูมปัญญา 40 ปี\\\\nชื่อภูมิปัญญา การทำรากบัวเชื่อม\\\\n\\\\nประวัติข้อมูลของภูมิปัญญา\\\\n ความเป็นมาของภูมิปัญญาท้องถิ่น รากบัวเชื่อม ของป้ายัง ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เริ่มมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ของป้ายัง ได้ริเริ่มการแปรรูปรากบัวให้มีราคาที่สูงขั้น เพราะตำบล ทับกฤชอยู่ในบึงบอระเพ็ด เพราะในบึงนั้นมีบัวเยอะ จากการขายรากบัวได้ราคาถูกจึงไม่พอต่อการดำรงชีวิต เลยคิดหาวิธีการที่จะถนอมอาหาร โดยเป็นมาเป็นการเชื่อม แบบน้ำและแบบแห้ง ทำให้รากบัวมีราคา ที่สูงขึ้น\\\\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้(ภายนอก/ภายใน)\\\\nความหมายของรากบัว\\\\nรากบัว หรือเหง้าของบัวหลวง มีลักษณะเป็นท่อนยาว แบ่งเป็นปล้อง ๆ เมื่อหั่นตามขวางจะเห็นรูกลวงเรียงตัวเป็นรัศมี เนื้อรากบัวฉ่ำกรอบ สีขาวอมเหลืองหรือสีเหลืองงาช้าง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ คล้ายดอกบัว สามารถกินได้ทั้งแบบดิบและแบบสุก ซึ่งวิธีการกินที่ต่างกันก็จะให้สรรพคุณ ที่แตกต่างกันด้วย ตามตำราสมุนไพรจีน รากบัวมีฤทธิ์เย็นจัด รสหวาน รากบัวดิบมีสรรพคุณขับร้อน แก้อาการกระหายน้ำ อาเจียนเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล รักษาอาการป่วยเพราะไข้ขึ้นเฉียบพลัน ส่วนรากบัวสุกมีสรรพคุณช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงเลือด เสริมสร้างกล้ามเนื้อ บำรุงม้าม รักษาม้ามหรือกระเพาะพร่อง แก้ท้องเดิน \\\\nนอกจากกินเป็นยาแล้ว ยังนำรากบัวมาทำเป็นอาหารคาวหวานได้หลายชนิด ที่เห็นกันบ่อย ๆ คือรากบัวเชื่อมในเต้าทึง หรือเอารากบัวที่เหลือทิ้งจากน้ำต้มรากบัวมาคลุกน้ำตาลหรือแช่อิ่มกินเป็นขนม นำไปประกอบอาหารคาวอย่างใส่ในแกงจืด ต้มซี่โครงหมู หรือจะกินรากบัวอ่อน ๆ เป็นผักสดเคียงน้ำพริกก็ให้ความฉ่ำกรอบได้ไม่แพ้ผักชนิดอื่น แถมยังช่วยให้ขับถ่ายดี ท้องไม่ผูก เพราะรากบัวมีเส้นใยอาหารสูงนั่นเอง\\\\n\\\\nความหมายคำว่า “เชื่อม”\\\\nเชื่อม คือทําของหวานอย่างหนึ่ง โดยเอานํ้าตาลใส่นํ้าตั้งไฟเคี่ยวให้ละลายแล้วใส่สิ่งที่ต้องการเคี่ยวจนได้ที่ เช่น เชื่อมกล้วย เคี่ยวนํ้าตาลให้ใสเพื่อประสมกับสิ่งอื่น เช่น วุ้นนํ้าเชื่อม. ว. เรียกนํ้าหวานที่เอานํ้าตาลเคี่ยวให้ใสเพื่อใช้ประสมหรือเคี่ยวกับสิ่งอื่นว่า นํ้าเชื่อม ใช้ประกอบคำ หวาน หมายความ ว่า หวานมาก เช่น ตาหวานเชื่อม.ก. ทําให้ติดเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น เชื่อมเหล็ก ทําให้ประสานกัน เช่น เชื่อมสัมพันธไมตรี.ว. มีอาการเงื่องเหงามึนซึมคล้ายเป็นไข้ เช่น เชื่อมซึม.\\\\n\\\\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการสร้างภูมิปัญญา)\\\\n- รากบัวเชื่อมแบบน้ำ\\\\nวัสดุอุปกรณ์ในการทำ\\\\n1. รากบัว\\\\n2. น้ำตาลทรายขาว \\\\n3. น้ำสะอาด \\\\n(ปริมาณตามน้ำหนักของรากบัว)\\\\n วิธีการทำรากบัวเชื่อม\\\\n 1. รากบัวปอกเปลือก นำมาล้างในน้ำสะอาด แล้วหั่นตามชอบ (ในรูปหั่นเต๋าและขวาง)\\\\n 2. ตั้งน้ำกับน้ำตาลให้เดือด ใช้ไฟระดับกลาง\\\\n 3. ใส่รากบัวลงไป\\\\n 4. คอยตักฟองทิ้ง เมื่อเดือดแล้วให้ลดไฟลง พอเดือดน้ำปุด ๆ\\\\n 5. ต้มไปเรื่อย ๆ จนกว่าน้ำจะงวดลงเหลือน้อยกว่ารากบัว \\\\n 6. เสร็จแล้ว เทใส่หม้อพักให้เย็น\\\\n- รากบัวเชื่อมแบบแห้ง\\\\nวัสดุอุปกรณ์ในการทำ\\\\n 1.รากบัว\\\\n 2.น้ำตาลทรายขาว \\\\n 3.น้ำสะอาด \\\\n(ปริมาณตามน้ำหนักของรากบัว)\\\\n วิธีการทำรากบัวเชื่อม\\\\n 1. รากบัวปอกเปลือก นำมาล้างในน้ำสะอาด แล้วหั่นตามชอบ (ในรูปหั่นเต๋าและขวาง)\\\\n 2. ตั้งน้ำกับน้ำตาลให้เดือด ใช้ไฟระดับกลาง\\\\n 3. ใส่รากบัวลงไป\\\\n 4. คอยตักฟองทิ้ง เมื่อเดือดแล้วให้ลดไฟลง พอเดือดน้ำปุด ๆ\\\\n5. ต้มไปเรื่อย ๆ จนกว่าน้ำจะแห้ง \\\\n6. เสร็จแล้ว เทใส่ตะแกงที่เตรียมไว้ แล้วคอยยืดให้รากบัวตรง \\\\n7. คอยจนกว่ารากบัวจะแห้ง แล้วจัดเรียงใช้ถุง\\\\n\\\\nรูปภาพขั้นตอนการทำรากบัว\\\\n\\\\n\\\\n\\\\n\\\\n\\\\n\\\\n\\\\n\\\\n\\\\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\\\\n ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำรากบัวเชื่อมนี้ ได้สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ของป้ายัง และได้สืบทอดมาเป็นรุ่นป้ายัง ทำให้ชาวบ้านในระแวกนั้น มีการแปรรูปรากบัวเป็นอาหารหวานและยังช่วยถนอมรากบัวให้เก็บไว้กินได้อีกนาน\\\\n\\\\n\\\\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\\\\n การนำภูมิปัญญาที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการสอนนักเรียน นักศึกษา โดยการแปรรูปอาหารให้สามารถเก็บไว้ทานได้นาน และยังเพิ่มมูลค่าราคาอาหารให้สูงขึ้นอีกด้วย\\\\n\\\\nพิกัด (สถานที่)\\\\nที่อยู่ ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ 60250\\\\n \\\\n\\\\n\\\\n\\\\n\\\\n\\\\n\\\\n\\\\n\\\\n\\\\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\\\\nชื่อผู้ศึกษา MR. BI GUOXIAN\\\\nประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ( ป.บัณฑิต)รุ่นที่ 4\\\\nรายวิชา ความเป็นครู (800 5201)\\\\nคณะ ศึกษาศาสตร์\\\\nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\\\\nสถานที่ทำงาน โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน\\\\nอาจารย์ผู้สอน\\\\n1. รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย,ศิลปินมรดกอีสาน)\\\\n2. อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\\\\n3. อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\\\\n4. อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\\\\n5. อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\\\\n6. อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  บุญยัง รุ่งสง่า
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   BI GUOXIAN, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, การทำรากบัวเชื่อม, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, รากบัว, รากบัวเชื่อม
URL  :   https://youtu.be/tz1b19vMpS4
จำแนกตามระดับชั้น :   ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
 

  ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง