กลอนลำทำนองขอนแก่น

ข้อมูลผลงาน

  14,975      4,199
 
Creative Commons License
กลอนลำทำนองขอนแก่น is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  กลอนลำทำนองขอนแก่น
คำอธิบาย :  ลำกลอนทำนองขอนแก่น\nสถานที่ : ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา : นายมูลตรี วังสีดี อายุ ๔๒ ปี \nที่อยู่ ๒๕๕ หมู่ ๑ ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น \nอาชีพ ศิลปินหมอลำ อายุการศึกษาภูมิปัญญา ๒๕ ปี \n\nชื่อภูมิปัญญา : ลำกลอนทำนองขอนแก่น\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \n ลำกลอนมีอยู่ด้วยกันหลายทำนองตามแต่ท้องถิ่น ลำกลอนเป็นแม่แบบของการลำประเภทอื่นๆ จากนั้นก็จะเป็นลำเพลิน เมื่อนำลำเพลินและกลอนมาผนวกกัน ก็จะกลายเป็นลำซิ่ง ส่วนลำเรื่องนั้นเกิดขึ้นมาทีหลัง โดยแต่ละบทจะเรียกว่า “ยก” โดยเรียงลำดับดังนี้\n ยกที่ ๑ ไหว้ครู\n ยกที่ ๒ ประกาศศรัทธา (พูดกับเจ้าภาพ)\n ยกที่ ๓ ถามข่าวบ้าน (ถามข่าวคราวโดยให้ผู้ชายถามข่าวผู้หญิง) โดยจะโต้ตอบกันตลอดคืน\n ยกที่ ๔ บาปบุญคุณโทษ \n ยกที่ ๕ นิทาน เช่น สีทนมโนราห์ (พระสุธนมโนราห์) การะเกด ขุนช้างขุนแผน \n เมื่อก่อนจะลำกันจนสว่างอาจจะมีหลายๆยกเพิ่มขึ้นมากว่านี้ หากแต่เนื้อความก็จะอยู่ในเนื้อหาของ ๕ ยกนี้ ในบางครั้งอาจเรียกยกว่า “กลอน” (คำกลอน) หลังจากลำเสร็จแล้วก็จะลำล่องลา และเต้ยลา “สมควรแล้วนะท่านหนาหมอลำขอลาไปก่อนแล้ว” มักจะเป็นทำนองเต้ยพม่าไปพร้อมกับการเป่าแคน มักจะเป็นการร้องด้นไป แต่จะไม่ลำเร็วเหมือนในปัจจุบัน\n การลำเมื่อก่อนหมอลำชาย ๑ คน หมอลำหญิง ๑ คน หมอแคน ๒ คน ส่วนเวทีสำหรับแสดงนั้นเจ้าภาพจะเป็นคนทำขึ้นมาให้ โดยใช้ต้นมะพร้าวเป็นเสาหลัก แล้วก็ปูแป้น (ไม้กระดาน) ในการทำเวที ยกธงทิวขึ้นเป็นสาย มีบักอันโหล(ไมค์) ไว้ ๒ ตัวสำหรับหมอลำฝ่ายชายและหญิง บางครั้งการสร้างเวทีก็ไม่แข็งแรงทำให้บางครั้งก็จะเหยียบเวทีทะลุลงไป หลังจากนั้นได้มีการนำเอากลองทอม (กลองคองก้า) เข้ามาตีผสม โดยมีที่มาที่ไปจากการที่ผู้มาชมแล้วปรบมือเคาะขวดเคาะหม้อไปด้วย จากก็เริ่มนำฉิ่งเข้ามาและพิณ โดยในช่วงนี้เริ่มมีการประยุกต์เป็นลำซิ่งแล้ว\n การลำกลอนและลำเรื่องนั้นต่างก็เป็นพื้นฐานที่หมอลำจะต้องฝึกฝน หากแต่ลำกลอนสามารถนำลำเรื่องไปผสมได้ แต่ลำเรื่องไม่สามารถนำลำกลอนไปผสมได้ ฉะนั้นลำกลอนจึงเป็นการลำที่กว้างกว่าลำเรื่อง\n(มูลตรี วังสีดี, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ : สัมภาษณ์)\n\n\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\nเมื่อก่อน หมอลำเป็นอาชีพหลัก แต่ทุกวันนี้เป็นอาชีพเสริม เมื่อก่อนเป็นอาชีพที่มั่นคง ลำแล้วรวย แต่เดี๋ยวนี้มีหมอลำคนอื่นๆ เกิดขึ้นมามาก การแข่งขันในเชิงธุรกิจมีมาก ดังนั้นถ้ามีงานก็ไปแต่ถ้าไม่มีงานก็ไม่เป็นไร ก็ทำอาชีพอื่นๆไปด้วย เอาประสบการณ์เก็บไว้เพื่อเอาไว้สอนลูกหลาน ว่าเคยได้ลำอย่างไรบ้าง เพราะมันเป็นมูล(มรดก) ของพ่อของแม่ที่สืบทอดกันมา โดยได้รับการถ่ายมาจากคุณพ่อคำเบา เพชรเสียงทอง\n(มูลตรี วังสีดี, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ : สัมภาษณ์)\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\nการแต่งกลอนลำ\n ก่อนที่จะแต่งกลอนลำนั้นจะต้องไปเห็นกิจกรรม สัมผัสกับเรื่องราวที่จะมาแต่งก่อน เพื่อให้บรรยากาศต่างๆได้ซึมซับเข้าไปในความทรงจำแล้วจึงค่อยถ่ายทอดออกมาเป็นคำกลอน แต่ละประโยคจะไม่เกิน ๘ คำ (แต่ทั้งนี้ไม่รวมคำที่เป็นคำทำนองเอื้อน เช่น เด้อ นะ นั่นเด้อ) คล้องกันไปเรื่อยๆ หากท้ายเป็นสระเสียงใดในวรรคถัดไปก็จะมีสระนั้นผสมอยู่ด้วย คล้ายกับภาคกลาง แต่ลำกลอนจะมีความโดดเด่นด้านสำนวน \nตัวอย่างการลำกลอนไหว้ครู\nโอละน้อ...................(ต่ำ)\n เอาละนี่ว่าพุทธรัตตะนัง ธัมรัตตะนัง \n แล้วฮ๊านี่กุกูทสันโทโกนากัสโปโคตะโม\n (จั้งว๊าศรีเอ๋ยศรี)ซ้ำ ศรีอาริยะเมตตัยโย \n จั้งว๊าคุณเอ้ยคุณ คุณบิดรมารดา\n จั้งว๊าคุณเอ้ยคุณ คุณครูบาอาจารย์ \n ทั้งคุณศิลคุณทานจงมาปกมาหวัง\n จงมากั้งมาเลี๊ยมหมอลำไว้\nโอละน้อ................นวลน้องเอ๋ย\n เอาละนี่ ว๊าสาธุสาจั้งว๊าสาธุเด้อ \n อภิวันนะน้อมจอมใจแจ้วแจ๊น(แก้วแก่น) \n คุณพระยกใส๊เก้ากวมกุ้มใส๊เศียรละกะ(ทุกสิงก้มกราบวันทา)ซ้ำ\n คุณครูบาหละพวกอาจารย์สอนละซ๊งพรซูค่ำ \n ซูค่ำผู๊ข้าลำวันนี่เวทีสนามกวง \n (ปวงนั่นเดอ)ซ้ำ ปวงประชาทางพื้นแผ๊นใต่\n ยามนั้นเด้อ ยามผุข่านี่ได๊ นี่ได๊ออกค๊าวกลอนแถลง\n สาธุเด้อขอให่แปงยอยก ให่แปงยอยกกะลำคำควมกุ้ม \n ควมกุ้มกับคุมสถานที่เฮือนซานบ้านซ๊อง\n บ้านซ๊องผุข่าลองกล๊าวเอาประนมไหว่ทั๊วแดน\n ตลอดโขงแม๊นแล่นแผ๊นแดนด๊านเทวา......... (มูลตรี วังสีดี, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ : สัมภาษณ์)\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\n การจดบันทึกกลอนลำเมื่อก่อนจดเพื่อให้จำได้ แต่ปัจจุบันนี้ไม่ต้องจดแล้วเพราะลำจนมีความชำนาญ สามารถนึกใช้ได้ตอนไหนก็ได้ ตัวคุณพ่อไม่ได้หวังเอาผลงาน ศิลปินแห่งชาติพ่อไม่ได้หวัง แต่ถ้าเป็นคนอื่นที่เขาจะเอาเป็นผลงานก็จะมีการบันทึกและพิมพ์ไว้ และคุณพ่อจะเป็น “ครูพักลักจำ”ถ่ายทอดด้วยสติปัญญา หากผู้ใดที่ต้องการจะได้จะต้องฟังแล้วจดบันทึกเอาเอง เอกสารเกี่ยวกับกลอนลำบางส่วนยังเหลืออยู่บ้างจากการได้มาจากครูบาอาจารย์ก็จดเก็บไว้ เมื่อย้ายบ้านเอกสารก็หายบ้าง หนูกัดบ้าง\n(มูลตรี วังสีดี, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ : สัมภาษณ์)\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\n ลำกลอนนั้นเป็นลักษณะของผู้เชี่ยวชาญ กล่าวคือ หมอลำจะต้องใช้ไหวพริบปฏิภาณกับความรู้ที่ได้ฝึกฝนมาผนวกกับเรื่องราวที่ได้พบเห็นมา ก็สามารถพูดขึ้นเป็นกลอนลำได้ เพราะส่วนมากกลอนลำจะเป็นคำที่ใช้ในชีวิตประวันพูดติดปากไปอยู่แล้วด้วย เช่น คำพูด คำอวยพร\n หมอลำคือผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญเปรียบเหมือนแพทย์ที่เชี่ยวชาญ แต่เชี่ยวชาญกันคนละอย่าง อันเกิดจากการพูดบ่อย ไปลำบ่อยเพราะคำพวกนั้นมันติดปากพูดอะไรก็จะเป็นคำกลอนไปหมด\n ส่วนการสืบทอดนั้น สืบทอดให้กับลูกหลาน และลูกศิษย์ \n(มูลตรี วังสีดี, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ : สัมภาษณ์) \nพิกัด (สถานที่)\n\n\n\n \n\n\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา ๒๕๖๐\nชื่อผู้ศึกษา นายพงษ์ศักดิ์ มากสูงเนิน \nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น ๔ \nรายวิชา ความเป็นครู (๘๐๐๕๒๐๑) \nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \nคณะ ศึกษาศาสตร์ \nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\nสถานที่ทำงาน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง)\nอาจารย์ผู้สอน\n๑ รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\n๒ อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\n๓ อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\n๔ อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\n๕ อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\n๖ อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย\n\nhttps://youtu.be/kNDSZ3GdRm8
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ครู / อาจารย์, นักเรียน / นักศึกษา, ทั่วไป, ผู้ปกครอง
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  มูลตรี วังสีดี
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   พงษ์ศักดิ์ มากสูงเนิน, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, กลอนลำทำนองขอนแก่น, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, กลอนลำ, หมอลำขอนแก่น, หมอลำ
URL  :   https://youtu.be/kNDSZ3GdRm8
จำแนกตามระดับชั้น :   ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
 

  ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง