บุญยัง รุ่งสง่า

ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  1,368       1,931

-  File 1
-  File 2
-  File 3
-  File 4
หัวเรื่อง :  การทำรากบัวเชื่อม
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  บุญยัง รุ่งสง่า
เจ้าของผลงานร่วม :   BI GUOXIAN, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   การทำรากบัวเชื่อม, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, รากบัวเชื่อม, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คำอธิบาย :  ภูมิปัญญาท้องถิ่น : การทำรากบัวเชื่อม\
บ้านทับกฤช ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์\
\
\
ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา นางบุญยัง รุ่งสง่า\
ที่อยู่ ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ 60250\
อาชีพ ค้าขาย อายุศึกษาภูมปัญญา 40 ปี\
ชื่อภูมิปัญญา การทำรากบัวเชื่อม\
\
ประวัติข้อมูลของภูมิปัญญา\
ความเป็นมาของภูมิปัญญาท้องถิ่น รากบัวเชื่อม ของป้ายัง ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เริ่มมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ของป้ายัง ได้ริเริ่มการแปรรูปรากบัวให้มีราคาที่สูงขั้น เพราะตำบล ทับกฤชอยู่ในบึงบอระเพ็ด เพราะในบึงนั้นมีบัวเยอะ จากการขายรากบัวได้ราคาถูกจึงไม่พอต่อการดำรงชีวิต เลยคิดหาวิธีการที่จะถนอมอาหาร โดยเป็นมาเป็นการเชื่อม แบบน้ำและแบบแห้ง ทำให้รากบัวมีราคา ที่สูงขึ้น\
กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้(ภายนอก/ภายใน)\
ความหมายของรากบัว\
รากบัว หรือเหง้าของบัวหลวง มีลักษณะเป็นท่อนยาว แบ่งเป็นปล้อง ๆ เมื่อหั่นตามขวางจะเห็นรูกลวงเรียงตัวเป็นรัศมี เนื้อรากบัวฉ่ำกรอบ สีขาวอมเหลืองหรือสีเหลืองงาช้าง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ คล้ายดอกบัว สามารถกินได้ทั้งแบบดิบและแบบสุก ซึ่งวิธีการกินที่ต่างกันก็จะให้สรรพคุณ ที่แตกต่างกันด้วย ตามตำราสมุนไพรจีน รากบัวมีฤทธิ์เย็นจัด รสหวาน รากบัวดิบมีสรรพคุณขับร้อน แก้อาการกระหายน้ำ อาเจียนเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล รักษาอาการป่วยเพราะไข้ขึ้นเฉียบพลัน ส่วนรากบัวสุกมีสรรพคุณช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงเลือด เสริมสร้างกล้ามเนื้อ บำรุงม้าม รักษาม้ามหรือกระเพาะพร่อง แก้ท้องเดิน \
นอกจากกินเป็นยาแล้ว ยังนำรากบัวมาทำเป็นอาหารคาวหวานได้หลายชนิด ที่เห็นกันบ่อย ๆ คือรากบัวเชื่อมในเต้าทึง หรือเอารากบัวที่เหลือทิ้งจากน้ำต้มรากบัวมาคลุกน้ำตาลหรือแช่อิ่มกินเป็นขนม นำไปประกอบอาหารคาวอย่างใส่ในแกงจืด ต้มซี่โครงหมู หรือจะกินรากบัวอ่อน ๆ เป็นผักสดเคียงน้ำพริกก็ให้ความฉ่ำกรอบได้ไม่แพ้ผักชนิดอื่น แถมยังช่วยให้ขับถ่ายดี ท้องไม่ผูก เพราะรากบัวมีเส้นใยอาหารสูงนั่นเอง\
\
ความหมายคำว่า “เชื่อม”\
เชื่อม คือทําของหวานอย่างหนึ่ง โดยเอานํ้าตาลใส่นํ้าตั้งไฟเคี่ยวให้ละลายแล้วใส่สิ่งที่ต้องการเคี่ยวจนได้ที่ เช่น เชื่อมกล้วย เคี่ยวนํ้าตาลให้ใสเพื่อประสมกับสิ่งอื่น เช่น วุ้นนํ้าเชื่อม. ว. เรียกนํ้าหวานที่เอานํ้าตาลเคี่ยวให้ใสเพื่อใช้ประสมหรือเคี่ยวกับสิ่งอื่นว่า นํ้าเชื่อม ใช้ประกอบคำ หวาน หมายความ ว่า หวานมาก เช่น ตาหวานเชื่อม.ก. ทําให้ติดเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น เชื่อมเหล็ก ทําให้ประสานกัน เช่น เชื่อมสัมพันธไมตรี.ว. มีอาการเงื่องเหงามึนซึมคล้ายเป็นไข้ เช่น เชื่อมซึม.\
\
การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการสร้างภูมิปัญญา)\
- รากบัวเชื่อมแบบน้ำ\
วัสดุอุปกรณ์ในการทำ\
1. รากบัว\
2. น้ำตาลทรายขาว \
3. น้ำสะอาด \
(ปริมาณตามน้ำหนักของรากบัว)\
วิธีการทำรากบัวเชื่อม\
1. รากบัวปอกเปลือก นำมาล้างในน้ำสะอาด แล้วหั่นตามชอบ (ในรูปหั่นเต๋าและขวาง)\
2. ตั้งน้ำกับน้ำตาลให้เดือด ใช้ไฟระดับกลาง\
3. ใส่รากบัวลงไป\
4. คอยตักฟองทิ้ง เมื่อเดือดแล้วให้ลดไฟลง พอเดือดน้ำปุด ๆ\
5. ต้มไปเรื่อย ๆ จนกว่าน้ำจะงวดลงเหลือน้อยกว่ารากบัว \
6. เสร็จแล้ว เทใส่หม้อพักให้เย็น\
- รากบัวเชื่อมแบบแห้ง\
วัสดุอุปกรณ์ในการทำ\
1.รากบัว\
2.น้ำตาลทรายขาว \
3.น้ำสะอาด \
(ปริมาณตามน้ำหนักของรากบัว)\
วิธีการทำรากบัวเชื่อม\
1. รากบัวปอกเปลือก นำมาล้างในน้ำสะอาด แล้วหั่นตามชอบ (ในรูปหั่นเต๋าและขวาง)\
2. ตั้งน้ำกับน้ำตาลให้เดือด ใช้ไฟระดับกลาง\
3. ใส่รากบัวลงไป\
4. คอยตักฟองทิ้ง เมื่อเดือดแล้วให้ลดไฟลง พอเดือดน้ำปุด ๆ\
5. ต้มไปเรื่อย ๆ จนกว่าน้ำจะแห้ง \
6. เสร็จแล้ว เทใส่ตะแกงที่เตรียมไว้ แล้วคอยยืดให้รากบัวตรง \
7. คอยจนกว่ารากบัวจะแห้ง แล้วจัดเรียงใช้ถุง\
\
รูปภาพขั้นตอนการทำรากบัว\
\
\
\
\
\
\
\
\
\
การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\
ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำรากบัวเชื่อมนี้ ได้สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ของป้ายัง และได้สืบทอดมาเป็นรุ่นป้ายัง ทำให้ชาวบ้านในระแวกนั้น มีการแปรรูปรากบัวเป็นอาหารหวานและยังช่วยถนอมรากบัวให้เก็บไว้กินได้อีกนาน\
\
\
การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\
การนำภูมิปัญญาที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการสอนนักเรียน นักศึกษา โดยการแปรรูปอาหารให้สามารถเก็บไว้ทานได้นาน และยังเพิ่มมูลค่าราคาอาหารให้สูงขึ้นอีกด้วย\
\
พิกัด (สถานที่)\
ที่อยู่ ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ 60250\
\
\
\
\
\
\
\
\
\
\
ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\
ชื่อผู้ศึกษา MR. BI GUOXIAN\
ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ( ป.บัณฑิต)รุ่นที่ 4\
รายวิชา ความเป็นครู (800 5201)\
คณะ ศึกษาศาสตร์\
สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\
สถานที่ทำงาน โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน\
อาจารย์ผู้สอน\
1. รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย,ศิลปินมรดกอีสาน)\
2. อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\
3. อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\
4. อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\
5. อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\
6. อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
จำแนกตามระดับชั้น :   ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
การทำรากบัวเชื่อม 1,368
การทำรากบัวเชื่อม 1,144

ผลงาน 5 อันดับล่าสุด
การทำรากบัวเชื่อม 16 มีนาคม 2561
การทำรากบัวเชื่อม 16 มีนาคม 2561
จำนวนไฟล์จำแนกตามประเภท
จำนวนข้อมูลจำแนกตามระดับชั้น
จำนวนข้อมูลจำแนกตามประเภทบุคคล
ผลงานทั้งหมด
# ชื่อเรื่อง ผู้เข้าชม #
1 การทำรากบัวเชื่อม 1,144
2 การทำรากบัวเชื่อม 1,368