การทำพานบายศรีสู่ขวัญ

ข้อมูลผลงาน

  10,059      27,635
 
Creative Commons License
การทำพานบายศรีสู่ขวัญ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  การทำพานบายศรีสู่ขวัญ
คำอธิบาย :  ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำพานบายศรีสู่ขวัญ\\\\n๑๙๓ หมู่ ๑ บ้านหัวนาคำ ตำบลหัวนาคำ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์\\\\n\\\\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \\\\nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางตุ่น ภูกองชนะ อายุ ๖๔ ปี \\\\nที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๙๓ ม.๑ บ.หัวนาคำ ต.หัวนาคำ \\\\nอ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ \\\\nอาชีพ ทำนา อายุการศึกษาภูมิปัญญา ๓๕ ปี \\\\n\\\\nชื่อภูมิปัญญา การทำพานบายศรีสู่ขวัญ\\\\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \\\\nประวัติบ้านหัวนาคำ (บริบทพื้นที่ของหมู่บ้าน)\\\\nบ้านหัวนาคำ เดิมทีมีชื่อว่า “หมู่บ้านป่าผาก” มีที่ตั้งเดิมอยู่ที่วัดป่าอัมพวัน (ในปัจจุบัน) ซึ่งมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ (หนองโพธิ์) ที่เหมาะกับการตั้งหมู่บ้านเป็นอย่างดี แต่ด้วยในตอนนั้นได้เกิดอหิวาตกโรค (โรคห่า) จนเป็นเหตุให้มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงได้ย้ายถิ่นฐานออกแสวงหาสถานที่เพื่อสร้างหมู่บ้านแห่งใหม่ จนได้มาพบหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่งซึ่งเป็นน้ำคำ ปรากฏมีน้ำอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี (หนองบ้านในปัจจุบัน) จึงตกลงกันสร้างหมู่บ้านโดยใช้ชื่อว่า “ บ้านหัวนาคำ” และเป็นที่ตั้งมาจนถึงปัจจุบัน (พระครูศรีปริยัติโชติธรรม, ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๐: สัมภาษณ์) \\\\n\\\\nประวัติการกำเนิดพานบายศรี\\\\nบายศรีนั้นมีข้อสันนิษฐานว่าได้ประดิษฐ์ขึ้นมาจากคติความเชื่อของพราหมณ์พิจารณาจากการนำใบตองมาประดิษฐ์บายศรี เนื่องด้วยใบตองนั้นเป็นของสะอาดบริสุทธิ์ไม่มีมลทินของอาหารเก่าให้แปดเปื้อน และอีกประการหนึ่งก็คือ รูปร่างลักษณะของบายศรีที่ได้จำลองเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่สถิตของพระอิศวร ตลอดจนเครื่องสังเวยก็มีความเชื่อมาจากคติพราหมณ์เช่น ไข่ แตงกวา มะพร้าว รวมถึงพิธีการ เช่น การเวียนเทียน การเจิม และพิธีการต่าง ๆ เหล่านี้พราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีทั้งสิ้น\\\\nประเภทของบายศรี\\\\nในภาคเหนือจะเรียกบายศรีว่า \\\\\\\"ใบสี\\\\\\\", \\\\\\\"ใบสรี\\\\\\\" หรือ \\\\\\\"ใบสีนมแมว\\\\\\\" และจะเรียกพานบายศรีว่า ขันใบสี เพราะชาวล้านนาจะเรียกพานว่า ขัน แล้วเรียกขันว่า สลุง บายศรีแยกเป็น ๔ ประเภท คือ\\\\n๑. บายศรีหลวง\\\\n๒. บายศรีนมแมว\\\\n๓. บายศรีปากชาม\\\\n๔. บายศรีกล้วย\\\\nส่วนในภาคอีสานจะเรียกบายศรีว่า \\\\\\\"พาบายศรี\\\\\\\", \\\\\\\"พาขวัญ\\\\\\\" หรือบางท้องถิ่นเรียกว่า \\\\\\\"ขันบายศรี\\\\\\\" ในภาคอีสานจะแยกบายศรีออกเป็น ๓ ประเภท คือ\\\\n๑. พาขวัญ\\\\n๒. พาบายศรี\\\\n๓. หมากเบ็ง (https://th.wikipedia.org/wiki/บายศรีสู่ขวัญ, ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ : ออนไลน์)\\\\n\\\\nการต่อยอดภูมิปัญญาของการทำบายศรีสู่ขวัญ\\\\nคุณแม่ตุ่น ภูกองชนะ อายุ ๖๘ ปี มีอาชีพทำนา บ้านเลขที่ ๑๙๓ ม.๑ บ.หัวนาคำ ต.หัวนาคำ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ ได้เริ่มฝึกหัดทำพานบายศรีกับคนในชุมชนตั้งแต่อายุประมาณ ๒๙ ปี โดยมีแรงบันดาลใจในการทำพานบายศรีคือ เวลาคุณยายมาร่วมงานบุญ งานประเพณีต่างๆ ที่วัดจัดขึ้นนั้น จะมีการทำพานบายศรีเพื่อใช้ในพิธีต่างๆ เช่น บายศรีสู่ขวัญ พานดอกไม้ถวายพระ พานขันหมากเบ็ง ฯลฯ ซึ่งเมื่อคุณยายตุ่นเห็นการทำพานบายศรีจึงอยากจะลองทำ จึงได้ทดลองทำและฝึกฝนจนชื่นชอบและได้สืบทอดการทำพานบายศรีมาจากบรรพบุรุษในชุมนมาจนถึงปัจจุบัน\\\\nความภาคภูมิใจของคุณยายตุ่น ภูกองชนะ ในการทำพานบายศรี คือ การได้ช่วยเหลือกิจการงานวัด งานบุญ งานประเพณีต่างๆ โดยคุณยายตุ่นให้เหตุผลว่า การได้ทำพานบายศรีนี้คือการได้ร่วมทำบุญกับวัดแม้จะไม่ได้ทำบุญเป็นปัจจัยแต่ก็ได้ใช้แรงกาย แรงใจ ได้ลงมือทำก็เหมือนว่าได้ทำบุญร่วมกับคนในชุมชน เพราะเป็นภูมิปัญญาของคนในชุมชนทำให้กับวัดของชุมชนตนเอง เพื่อประหยัดงบประมาณในการไปว่าจ้างคนอื่นในการทำพานบายศรี ซึ่งในปัจจุบันมีราคาค่อนข้างสูงถึงหลักหมื่น\\\\n \\\\nนอกจากนี้คุณยายตุ่นยังเล่าต่อไปว่า ตั้งแต่ทำพานบายศรีมาเกือบ ๓๕ ปีนั้น เวลาที่คนในชุมชนจัดงานบุญ เช่น บุญบวช งานแต่งงานและงานบายศรีสู่ขวัญอื่นๆ คนในชุมชนจะมาบอกกล่าวให้คุณยายตุ่นช่วยทำพานบายศรีให้ ซึ่งคุณยายและทีมงานไม่เคยเรียกร้องเงินค่าจ้างเลยสักครั้ง โดยการทำพานบายศรีในงานบุญแต่ละครั้งคุณยายบอกว่า เพื่อเป็นร่วมแสดงความยินดีและทำบุญร่วมกับเจ้าภาพ ซึ่งคุณยายก็มักจะได้ของขวัญเล็กๆ น้อยๆ เป็นสินน้ำใจตอบแทนจากเจ้าภาพเสมอ ซึ่งเป็นเรื่องที่คุณยายประทับและดีใจตลอดเวลาที่ได้คิดถึงเรื่องแบบนี้ (ตุ่น ภูกองชนะ, ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๐: สัมภาษณ์)\\\\n\\\\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\\\\nการแสวงหาความรู้ของภูมิปัญญานี้ คุณยายตุ่น ภูกองชนะ ได้สืบทอดการทำพานบายศรีมาจากบรรพบุรุษในชุมชน โดยได้ฝึกฝน ลองผิด ลองถูก และเรียนรู้เพิ่มเติมการทำพานบายศรีสมัยใหม่จากหนังสือในยุคปัจจุบัน จนเกิดความชำนาญและเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน โดยคุณยายตุ่นจะได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการทำพานบายศรีเวลาที่วัดมีงานบุญ หรือ งานประเพณีต่างๆ พร้อมกับคุณยายท่านอื่นๆ (ตุ่น ภูกองชนะ, ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๐: สัมภาษณ์)\\\\n\\\\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\\\\nขั้นตอนการทำพานบายศรีอย่างง่าย\\\\nอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำบายศรี\\\\n๑. ใบตอง (ควรใช้ใบตองกล้วยตานี) ๒. พานขนาดเล็ก กลาง ใหญ่หรือพานแว่นฟ้า\\\\n ๓. ภาชนะปากกว้างสำหรับใส่น้ำแช่ใบตอง ๔. น้ำมันมะกอก ชนิดสีเหลือง หรือขาว\\\\n ๕. ไม้ปลายแหลม ไม้เสียบลูกชิ้น ๖. เข็ม,ด้ายเย็บผ้า\\\\n ๗. ดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบ ดอกพุทธรักษา ๘. ฝ้ายผูกแขน\\\\n ๙. กรรไกร สำหรับตัดใบตอง และลวดเย็บกระดาษ\\\\n \\\\n\\\\nวิธีทำบายศรี\\\\n๑. ม้วนตัวยอดให้เห็นริมใบตองเป็นลายเกลียว\\\\n๒. พับผ้านุ่งชายธง\\\\n๓. นุ่งผ้าเข้าสะโพกตัวยอด ต่ำจากยอดประมาณ ๕ นิ้ว\\\\n๔. ม้วนตัวรอง\\\\n๕. วางตัวรองลงด้านหน้าตัวยอดต่ำจากยอดประมาณ ๒ นิ้ว แล้วนุ่งผ้าเข้าสะโพกให้เรียงลำดับ \\\\n๖. ม้วนตัวหางแมงดาทำเช่นเดียวกับตัวรองแล้วพับกลีบแหลมกลางลำตัวด้านหลัง \\\\n๗. พับกลีบแหลม ครีบแมงดาพับเช่นเดียวกับผ้านุ่งชายธงนุ่งเข้าสะโพก ซ้ายขวา ซ้ายขวา จนได้ขนาดพอเหมาะแล้วใส่กลีบกลางลำตัวที่ใหญ่ขึ้นนุ่งผ้าต่าง ๆ ทิ้งช่วงลำตัวตรึงด้ายสีเขียวเจียนชายใบตองส่วนหัวแมงดาให้เรียบร้อย\\\\n๘. เสร็จแล้วตกแต่งด้วยดอกไม้ทำเป็นตาแมงดาและแต่งตามครีบอีกก็ได้\\\\n \\\\n\\\\nวิธีจัดบายศรีใส่ขัน (แต่งตัวบายศรี)\\\\n๑. ใช้ไม้กลัดแทงที่ฐานตัวบายศรี ทบให้นั่งได้แล้วปักดอกไม้ตามตัวยอดและตัวรองแล้วใส่ลงไปในขันจัดระยะให้ดี\\\\n๒. ใส่แมงดาสับหว่างตัวบายศรีหันด้านหลังแมงดาออกข้างนอก ใส่ใบตองปิดความไม่เรียบร้อย\\\\n๔. กระติบบรรจุข้าวเหนียวนึ่งสุกปากหวดวางกลางขัน\\\\n๕. ใส่กล้วยและข้าวต้มผัดจัดเรียงให้สวยงาม\\\\n \\\\n\\\\n \\\\n๖. ใส่หมากพลู ยาเส้นตามซอก\\\\n๗. เหน็บใบเงิน ใบทอง ใบนาค ใบแก้ว ใบมะยม ตามซอกระหว่างตัวบายศรี\\\\n๘. ตั้งกระทงใส่ไข่ขวัญบนหลังกระติบข้าว (ใส่ถ้วยมีฝาปิดก็ได้)\\\\n๙. แบ่งด้ายเป็นไจ ใจละ ๙ เส้น ยาว ๙ นิ้วหลาย ๆ ใจ ให้พอกับจำนวนผู้ที่จะผูกข้อมือแขวนไว้ที่ตัวรองตัวสุดท้ายถ้าขันใหญ่ นิยมทำตัวบายศรีมากขึ้น อาจจะเป็น ๔ ตัว หรือ ๕ ตัว และตัวแมงดาก็เพิ่มขึ้นเท่ากับตัวบายศรี\\\\n\\\\n\\\\n\\\\n \\\\n\\\\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\\\\nคุณยายตุ่น ภูกองชนะ ได้จัดเก็บภูมิปัญญานี้ไว้กับตัวเองด้วยการจดจำและฝึกฝนจนเกิดเป็นความรู้ ความชำนาญซึ่งในการทำพานบายศรีแต่ละครั้งจะมีชาวบ้านคนอื่นๆ มาช่วยกันทำ โดยเป็นกลุ่มชาวบ้านที่ไปทำบุญที่วัดเป็นประจำ ทุกคนก็ล้วนแต่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษในชุมชน แต่ภูมิปัญญานี้ไม่ได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร (ตุ่น ภูกองชนะ, ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๐: สัมภาษณ์)\\\\n\\\\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\\\\n ในการถ่ายทอดความรู้นั้น คุณยายตุ่น ภูกองชนะ เล่าว่า ในการทำพานบายศรีแต่ละครั้ง จะมีรูปแบบที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ถ้าเป็นพานบายศรีสมัยก่อน คนในชุมชนจะทำเป็นด้วยการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นพานบายศรีสมัยใหม่ คุณยายตุ่นจะเป็นคนสอนชาวบ้านในการทำ นอกจากนี้คุณยายตุ่นยังเล่าต่อไปว่า ถ้าในอนาคตมีโอกาสได้ไปบรรยายหรือเป็นวิทยากรในการฝึกสอนการทำพานบายศรีให้กับคนในชุมชน เยาวชน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจ คุณยายตุ่นเต็มใจที่จะไปถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญานี้อย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้อนุรักษ์การทำพานบายศรีไว้ให้คงอยู่กับงานบุญหรืองานประเพณีต่างๆ ของชาวอีสานสืบไป (ตุ่น ภูกองชนะ, ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๐: สัมภาษณ์)\\\\n\\\\nพิกัด (สถานที่)\\\\n\\\\n \\\\n\\\\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\\\\nชื่อผู้ศึกษา นายศักรินทร์ ภูพันนา \\\\nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 \\\\nรายวิชา ความเป็นครู (8005201) \\\\nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \\\\nคณะ ศึกษาศาสตร์ \\\\nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\\\\nสถานที่ทำงาน วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น\\\\nอาจารย์ผู้สอน\\\\n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\\\\n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\\\\n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\\\\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\\\\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\\\\n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย\\\\n\\\\nhttps://youtu.be/GFlCDkeDzyQ
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ครู / อาจารย์, นักเรียน / นักศึกษา, ทั่วไป, ผู้ปกครอง
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  ตุ่น ภูกองชนะ
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   ศักรินทร์ ภูพันนา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   การทำพานบายศรีสู่ขวัญ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การทำพาน, พานบายศรี, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
URL  :   https://youtu.be/GFlCDkeDzyQ
จำแนกตามระดับชั้น :   ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, กิจกรรม และ Labs, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
 

  ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง