จักสานไทเลย บ้านกลาง

ข้อมูลผลงาน

  2,016      5,236
 
Creative Commons License
จักสานไทเลย บ้านกลาง is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  จักสานไทเลย บ้านกลาง
คำอธิบาย :  ภูมิปัญญาท้องถิ่น\n\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา\n\nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นายแปลง วงษาเสนา \nที่อยู่ บ้านเลขที่ ๒๗๑ หมู่ที่ ๑ บ้านกลาง ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ๔๒๑๓๐ \nอาชีพ หัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ อายุการศึกษาภูมิปัญญา ๑๘ ปี \n\nชื่อภูมิปัญญา จักสานไทเลย บ้านกลาง\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \n กลุ่มหัตถกรรมจักสานไทเลย หมู่ที่ ๑ บ้านกลาง ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง \nจังหวัดเลย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๒ โดย นายแปลง วงษาเสนา ประธานกลุ่มฯ ซึ่งเป็นราษฎรที่มีความสนใจด้านการจักสานมาตั้งแต่เด็ก และได้ฝึกฝนจนชำนาญ ต่อมาผลิตภัณฑ์ที่จัดทำขึ้นเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป มีผู้นำสินค้าตัวอย่างมาให้ทำ และก็สามารถทำได้ เป็นที่พอใจของลูกค้าจนทำให้เป็นที่สนใจทั้งภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีสมาชิกเริ่มแรก ๓๐ คน และได้พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ขึ้นเรื่อยๆตามที่ลูกค้าต้องการจนได้รับการคัดสรรเป็นหัตถกรรมจักสานดีเด่นของจังหวัดเลย ปัจจุบันมีสมาชิก ๖๓ คน เงินทุนของกลุ่มได้รับการสนับสนุนจากสงเคราะห์จังหวัดเลย เป็นเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท จากการร่วมหุ้นของสมาชิกเป็นเงิน ๓๖,๓๐๐ บาท องค์กรบริหารส่วนตำบลหนองหญ้าปล้อง สนับสนุนอุปกรณ์/เครื่อง มือ คิดเป็นเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ได้มีการพัฒนารูปทรง และมีผลิตภัณฑ์หลากหลายได้แก่ กล่องอเนกประสงค์,กระเป๋าสตางค์ ,กล่องกระดาษทิชชู ,กระติบข้าว,โคมไฟฯลฯ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีฝีมือประณีต สวยงามเป็นที่ต้องการของลูกค้าเป็นของฝาก ของที่ระลึกซึ่งมีคุณค่า โดดเด่น สะดุดตา (ฟ้าอรุณ วังคีรี, ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ : สัมภาษณ์)\n\n\n\n\n\n\n\n\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\n “ไผ่สานร่วมสมัย” เป็นการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แห่งยุคสมัย ผสานภูมิปัญญางานจักสานไม้ไผ่ พัฒนารูปแบบสู่การใช้งานแบบใหม่ที่นำเรื่องราวของผีตาโขนเป็นแรงบันดาลใจ\n กระติ๊บ หวดนึ่งข้าว ภาชนะจักสานไม้ไผ่พื้นบ้านที่คนเอเชียรู้จักดี โดยเฉพาะประเทศไทย ลาว กัมพูชา ที่นิยมนำมาใส่ข้าวเหนียวไว้รับประทานด้วยคุณสมบัติพิเศษที่ช่วยเก็บความร้อนไว้ได้นาน \n คุณตาแปลง พ่อเฒ่าแห่งดินแดนที่ราบสูงเสียดฟ้า จังหวัดเลย ผู้รอบรู้ เชี่ยวชาญงานจักสานไม้ไผ่พื้นบ้านเป็นปราชญ์พื้นถิ่น นำเอาสิ่งที่ธรรมดามาสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น เริ่มจากการเหลาเส้นตอกไผ่ให้เนียนละเอียด นำมามัดย้อม รมควัน ด้วยการเผาซังและเปลือกข้าวโพดนานหลายชั่วโมงจนได้ลวดลายมัดหมี่และกันมอดแมลงไม่ให้มากัดกินไม้ไผ่ แล้วนำมาขึ้นทรงด้วยเทคนิคงานสานลายขัด สานสลับกันจนเกิดลวดลายที่สวยงาม \n การพัฒนารูปทรง เทคนิคงานสาน ผ่านเรื่องราวหน้ากากผีตาโขน ในรูปแบบการใช้งานใหม่ ขอยกตัวอย่าง 1 ผลิตภัณฑ์ คือ “กล่องอเนกประสงค์ผีตาโขน” สะท้อนอัตลักษณ์เมืองเลยถ่ายทอดผ่านชิ้นงานจักสานจากฝีมือชั้นครู สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้งานร่วมสมัย เป็นของใช้ ของที่ระลึกประจำเมืองที่มีแบบฉบับเฉพาะ(ฟ้าอรุณ วังคีรี, ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ : สัมภาษณ์)\n\n\n\n\n\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\nวัสดุอุปกรณ์ในการทำกล่องอเนกประสงค์ผีตาโขน\n\n\n1. ไม้ตอก \n\n\n\n2. กาวร้อน \n\n\n \n3. คีม-ตาไก่ \n\n\n\n4. กระดาษแข็ง\n\n \n\n5. ฐาน-ฝา\n\n\n\n\n6. ผ้ากุ้น\n\n \n\n7. หูผีตาโขน\n\n\n\n \n8. หวดขนาดเล็ก \n \n\n\n9. จมูกหน้าผีตาโขน\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\nผลงานและเกียรติคุณที่ได้รับ\n ๑. ผลิตภัณฑ์ OTOP คัดสรร ปี พ.ศ.๒๕๕๕ ระดับ ๔ ดาว\n ๒.พ.ศ.๒๕๕๙ ชนะเลิศอับดับที่ ๑ สุดยอดผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึก (กล่องกระดาษทิชชูผีตาโขน)\n ๓.พ.ศ.๒๕๕๖ รองชนะเลิศอันดับที่ ๑ สานหวด งานเกษตรอีสานขอนแก่น\n ๔.พ.ศ. ๒๕๕๐ ชนะเลิศอับดับที่ ๑ จักสานประยุกต์ไม้ไผ่ งานดอกฝ้าย\n ๕.พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รับคัดเลือกศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น\n ๖.พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รับเกียรติบัตรเป็นวิทยากรของวิทยาลัยเทคนิคเลย\n ๗. พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รับเกียรติบัตรจากสมาคมการประดิษฐ์ไทย\n ฯลฯ\n\n\n\n\n\n\n \n\n \n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\n คุณตาแปลง วงษาเสนา ปัจจุบันท่านได้เป็นวิทยากรท้องถิ่น ได้มีการถ่ายทอดความรู้ให้กับทางชุมชน องค์กร และโรงเรียนต่างๆที่ให้ความสนใจทางด้านการจักสานไม้ไผ่ การประยุกต์จักสานให้มีรูปแบบต่างๆ เช่น กล่องอเนกประสงค์ผีตาโขน กล่องกระดาษทิชชูผีตาโขน กระเป๋า เป็นต้น และคุณตาแปลงได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการจักสานไทเลยให้กับบุตรสาวและหลานชายได้สืบสานภูมิปัญญานี้ต่อไป (ฟ้าอรุณ วังคีรี, ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ : สัมภาษณ์)\n\n\n \n\n\n\n\n\n \n\n\nพิกัด (สถานที่)\nบ้านเลขที่ ๒๗๑ หมู่ที่ ๑ บ้านกลาง ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ๔๒๑๓๐\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n ภาพ แผนที่ กลุ่มจักสานไทเลย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา ๒๕๖๐\nชื่อผู้ศึกษา นางสาวฟ้าอรุณ วังคีรี \nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 \nรายวิชา ความเป็นครู (800 5201) \nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \nคณะ ศึกษาศาสตร์ \nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ \nสถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านโคกงาม\nอาจารย์ผู้สอน\n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย\n\nhttps://youtu.be/dfwUCo7CfyA
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  แปลง วงษาเสนา
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   ฟ้าอรุณ วังคีรี, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, จักสานไทเลย บ้านกลาง, จักสานไทเลย, บ้านกลาง, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, จักสาน, จักสานทั่วไป, การสานไม้ไผ่
URL  :   https://youtu.be/dfwUCo7CfyA
จำแนกตามระดับชั้น :   ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน