แปลง วงษาเสนา

ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  2,018       5,244

-  File 1
-  File 2
-  File 3
-  File 4
-  File 5
-  File 6
-  File 7
-  File 8
-  File 9
-  File 10
-  File 11
-  File 12
-  File 13
-  File 14
-  File 15
-  File 16
-  File 17
-  File 18
หัวเรื่อง :  จักสานไทเลย บ้านกลาง
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  แปลง วงษาเสนา
เจ้าของผลงานร่วม :   ฟ้าอรุณ วังคีรี, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, จักสานไทเลย บ้านกลาง, จักสานไทเลย, บ้านกลาง, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, จักสาน, จักสานทั่วไป, การสานไม้ไผ่
คำอธิบาย :  ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา

ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นายแปลง วงษาเสนา
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๒๗๑ หมู่ที่ ๑ บ้านกลาง ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ๔๒๑๓๐
อาชีพ หัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ อายุการศึกษาภูมิปัญญา ๑๘ ปี

ชื่อภูมิปัญญา จักสานไทเลย บ้านกลาง
ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา
กลุ่มหัตถกรรมจักสานไทเลย หมู่ที่ ๑ บ้านกลาง ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง
จังหวัดเลย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๒ โดย นายแปลง วงษาเสนา ประธานกลุ่มฯ ซึ่งเป็นราษฎรที่มีความสนใจด้านการจักสานมาตั้งแต่เด็ก และได้ฝึกฝนจนชำนาญ ต่อมาผลิตภัณฑ์ที่จัดทำขึ้นเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป มีผู้นำสินค้าตัวอย่างมาให้ทำ และก็สามารถทำได้ เป็นที่พอใจของลูกค้าจนทำให้เป็นที่สนใจทั้งภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีสมาชิกเริ่มแรก ๓๐ คน และได้พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ขึ้นเรื่อยๆตามที่ลูกค้าต้องการจนได้รับการคัดสรรเป็นหัตถกรรมจักสานดีเด่นของจังหวัดเลย ปัจจุบันมีสมาชิก ๖๓ คน เงินทุนของกลุ่มได้รับการสนับสนุนจากสงเคราะห์จังหวัดเลย เป็นเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท จากการร่วมหุ้นของสมาชิกเป็นเงิน ๓๖,๓๐๐ บาท องค์กรบริหารส่วนตำบลหนองหญ้าปล้อง สนับสนุนอุปกรณ์/เครื่อง มือ คิดเป็นเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ได้มีการพัฒนารูปทรง และมีผลิตภัณฑ์หลากหลายได้แก่ กล่องอเนกประสงค์,กระเป๋าสตางค์ ,กล่องกระดาษทิชชู ,กระติบข้าว,โคมไฟฯลฯ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีฝีมือประณีต สวยงามเป็นที่ต้องการของลูกค้าเป็นของฝาก ของที่ระลึกซึ่งมีคุณค่า โดดเด่น สะดุดตา (ฟ้าอรุณ วังคีรี, ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ : สัมภาษณ์)








กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)
“ไผ่สานร่วมสมัย” เป็นการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แห่งยุคสมัย ผสานภูมิปัญญางานจักสานไม้ไผ่ พัฒนารูปแบบสู่การใช้งานแบบใหม่ที่นำเรื่องราวของผีตาโขนเป็นแรงบันดาลใจ
กระติ๊บ หวดนึ่งข้าว ภาชนะจักสานไม้ไผ่พื้นบ้านที่คนเอเชียรู้จักดี โดยเฉพาะประเทศไทย ลาว กัมพูชา ที่นิยมนำมาใส่ข้าวเหนียวไว้รับประทานด้วยคุณสมบัติพิเศษที่ช่วยเก็บความร้อนไว้ได้นาน
คุณตาแปลง พ่อเฒ่าแห่งดินแดนที่ราบสูงเสียดฟ้า จังหวัดเลย ผู้รอบรู้ เชี่ยวชาญงานจักสานไม้ไผ่พื้นบ้านเป็นปราชญ์พื้นถิ่น นำเอาสิ่งที่ธรรมดามาสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น เริ่มจากการเหลาเส้นตอกไผ่ให้เนียนละเอียด นำมามัดย้อม รมควัน ด้วยการเผาซังและเปลือกข้าวโพดนานหลายชั่วโมงจนได้ลวดลายมัดหมี่และกันมอดแมลงไม่ให้มากัดกินไม้ไผ่ แล้วนำมาขึ้นทรงด้วยเทคนิคงานสานลายขัด สานสลับกันจนเกิดลวดลายที่สวยงาม
การพัฒนารูปทรง เทคนิคงานสาน ผ่านเรื่องราวหน้ากากผีตาโขน ในรูปแบบการใช้งานใหม่ ขอยกตัวอย่าง 1 ผลิตภัณฑ์ คือ “กล่องอเนกประสงค์ผีตาโขน” สะท้อนอัตลักษณ์เมืองเลยถ่ายทอดผ่านชิ้นงานจักสานจากฝีมือชั้นครู สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้งานร่วมสมัย เป็นของใช้ ของที่ระลึกประจำเมืองที่มีแบบฉบับเฉพาะ(ฟ้าอรุณ วังคีรี, ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ : สัมภาษณ์)





การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)
วัสดุอุปกรณ์ในการทำกล่องอเนกประสงค์ผีตาโขน


1. ไม้ตอก



2. กาวร้อน



3. คีม-ตาไก่



4. กระดาษแข็ง



5. ฐาน-ฝา




6. ผ้ากุ้น



7. หูผีตาโขน




8. หวดขนาดเล็ก



9. จมูกหน้าผีตาโขน

























ผลงานและเกียรติคุณที่ได้รับ
๑. ผลิตภัณฑ์ OTOP คัดสรร ปี พ.ศ.๒๕๕๕ ระดับ ๔ ดาว
๒.พ.ศ.๒๕๕๙ ชนะเลิศอับดับที่ ๑ สุดยอดผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึก (กล่องกระดาษทิชชูผีตาโขน)
๓.พ.ศ.๒๕๕๖ รองชนะเลิศอันดับที่ ๑ สานหวด งานเกษตรอีสานขอนแก่น
๔.พ.ศ. ๒๕๕๐ ชนะเลิศอับดับที่ ๑ จักสานประยุกต์ไม้ไผ่ งานดอกฝ้าย
๕.พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รับคัดเลือกศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น
๖.พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รับเกียรติบัตรเป็นวิทยากรของวิทยาลัยเทคนิคเลย
๗. พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รับเกียรติบัตรจากสมาคมการประดิษฐ์ไทย
ฯลฯ























การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)
คุณตาแปลง วงษาเสนา ปัจจุบันท่านได้เป็นวิทยากรท้องถิ่น ได้มีการถ่ายทอดความรู้ให้กับทางชุมชน องค์กร และโรงเรียนต่างๆที่ให้ความสนใจทางด้านการจักสานไม้ไผ่ การประยุกต์จักสานให้มีรูปแบบต่างๆ เช่น กล่องอเนกประสงค์ผีตาโขน กล่องกระดาษทิชชูผีตาโขน กระเป๋า เป็นต้น และคุณตาแปลงได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการจักสานไทเลยให้กับบุตรสาวและหลานชายได้สืบสานภูมิปัญญานี้ต่อไป (ฟ้าอรุณ วังคีรี, ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ : สัมภาษณ์)











พิกัด (สถานที่)
บ้านเลขที่ ๒๗๑ หมู่ที่ ๑ บ้านกลาง ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ๔๒๑๓๐












ภาพ แผนที่ กลุ่มจักสานไทเลย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา ๒๕๖๐
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวฟ้าอรุณ วังคีรี
หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4
รายวิชา ความเป็นครู (800 5201)
เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
คณะ ศึกษาศาสตร์
สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านโคกงาม
อาจารย์ผู้สอน
1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)
2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ
3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา
4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์
5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว
6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย

https://youtu.be/dfwUCo7CfyA
จำแนกตามระดับชั้น :   ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
จักสานไทเลย บ้านกลาง 2,018

ผลงาน 5 อันดับล่าสุด
จักสานไทเลย บ้านกลาง 15 มีนาคม 2561
จำนวนไฟล์จำแนกตามประเภท
จำนวนข้อมูลจำแนกตามระดับชั้น
จำนวนข้อมูลจำแนกตามประเภทบุคคล
ผลงานทั้งหมด
# ชื่อเรื่อง ผู้เข้าชม #
1 จักสานไทเลย บ้านกลาง 2,018