การทำกระเป๋าหนังด้วยหนังวัว

ข้อมูลผลงาน

  753      132
 
Creative Commons License
การทำกระเป๋าหนังด้วยหนังวัว is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  การทำกระเป๋าหนังด้วยหนังวัว
คำอธิบาย :  การทำกระเป๋าหนังด้วยหนังวัว\nจังหวัดขอนแก่น\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \n\n\nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางปรียา ฤทธิ์สอน ( พี่ยา ) \nที่อยู่ 250 ม.4 บ้านบะขาม ถ.ศรีจันทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น \n\nอาชีพ \nค้าขาย อายุการศึกษาภูมิปัญญา \n.............. 7............. ปี \n\nชื่อภูมิปัญญา การทำกระเป๋าหนังด้วยหนังวัว\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \nผู้คนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้างทั่วไป โดยอาชีพค้าขายก็ขายแตกต่างกันไป เช่น อาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยว ส้มตำ เป็นต้น ซึ่งพี่แกเองก็ได้ทำอาชีพค้าขายเช่นเดียวกัน แต่ยังทำไปในทางการประดิษฐ์มากกว่า เนื่องจากตัวท่านเองชอบงานประดิษฐ์มากกว่าการประกอบอาหาร เพราะคิดว่าเมื่อทำจนชำนาญสามารถนำสิ่งที่ฝึกฝนมาต่อยอดไปได้มากกว่าเดิม ระยะเวลาในการทำกระเป๋าหนัง ทำมานานตั้งแต่เริ่มมีถนนคนเดินในจังหวัดขอนแก่น ถ้านับระยะเวลาประมาณ 7-8 ปี จนทุกวันนี้เป็นอาชีพของพี่แกไปแล้ว\n\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\nผู้ที่ทำเครื่องหนัง ได้รับความรู้หรือหาความรู้จากบุคคลต่างถิ่นหรือต่างจังหวัด เพื่อนบ้าน เพราะแต่ก่อนการทำกระเป๋าหนังไม่เป็นที่นิยมจึงไม่ค่อยมีคนอยากเรียนรู้มากแต่ปัจจุบันนี้คนรับรู้มาก โดยเล่าว่า การทำกระเป๋าหนังฝึกประสบการณ์ด้วยตัวเองบุคคลที่มาสอนให้สอนให้เฉพาะการตัดเท่านั้น ส่วนการเย็บเรียนรู้เอง หัดทำ หัดลองด้วยตนเอง พอทำไปทำมาเกิดความเคยชิน ซึ่งมีวิธีการทำที่ค่อนข้างยุ่งยากพอสมควร และต้องการความละเอียดในการทำเป็นอย่างมากเพราะเป็นงานฝีมืออย่างหนึ่งและสามารถประกอบอาชีพได้\n\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\nขั้นตอนและวิธีการ\n๑.เตรียมอุปกรณ์ ดังนี้\n- เข็มเย็บมือ\n- หนังสัตว์ คือ หนังวัว\n- เชือกสำหรับเย็บหนังวัวหนังสัตว์โดยตรง\n๒.ขั้นตอนการทำ\n- เตรียมอุปกรณ์ให้ครบ\n- นำหนังสัตว์ที่เตรียมไว้มาฟอกมาล้างให้สะอาด\n- ทำการย้อมสีตามที่ต้องการ\n- เริ่มเย็บเริ่มประกอบรูปร่างให้เป็นกระเป๋ารูปทรงต่างๆที่ต้องการ\n- เมื่อเป็นรูปร่างแล้ว ประดับตกแต่งตามต้องการ \n- เก็บรายละเอียดของงาน\n \n\nกระเป๋าที่เสร็จเรียบร้อย\n\n \n\nสีสันตามความต้องการของลูกค้า\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\nการจัดเก็บภูมิปัญญาการประดิษฐ์เครื่องหนังกระเป๋าหนัง เจ้าของภูมิปัญญากล่าวว่า มีการจดจำไว้เพียงอย่างเดียวเนื่องจากเป็นงานฝีมือ ( Hand Made ) ถ้าเมื่อต้องการปรับปรุงแบบใหม่หรือแก้ไขก็เกิดจากการสาธิตวิธีการทำให้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง\n\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\nการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาการประดิษฐ์เครื่องหนัง ส่วนมากซึมซับไว้กับตนเองหรือเผยแพร่ให้กับบุคคลที่ต้องการรู้ จะให้ไปบอกกล่าวหรือสืบทอดโดยตรงเลยคงไม่น่าจะเกิดขึ้น เนื่องจากการผลิตเครื่องหนังสามารถทำเป็นธุรกิจส่วนตัวภายในครอบครัวได้\n\n\nพิกัด (สถานที่)\n\n\n \n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\nชื่อผู้ศึกษา นางสาวน้ำทิพย์ กมลหัต \n \nรูปผู้ศึกษา\nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 \nรายวิชา ความเป็นครู (800 5201) \nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \nคณะ ศึกษาศาสตร์ \nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\nสถานที่ทำงาน โรงเรียนวรรณรัตน์ศึกษา\nอาจารย์ผู้สอน\n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  ปรียา ฤทธิ์สอน
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   น้ำทิพย์ กมลหัต, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   การทำกระเป๋าหนังด้วยหนังวัว, ผลิตภัณฑ์จากสัตว์, กระเป๋าหนังสัตว์, ผลิตภัณฑ์จากหนังวัว, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
URL  :   -
จำแนกตามระดับชั้น :   มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, ศิลปะ, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , ใบงาน

 ไฟล์ดิจิทัล

- ดาวน์โหลด 1 (488.08 KB)
 

  ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง