จักรสาน (ตะกร้า)

ข้อมูลผลงาน

  160      482
 
Creative Commons License
จักรสาน (ตะกร้า) is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  จักรสาน (ตะกร้า)
คำอธิบาย :  ภูมิปัญญาท้องถิ่น จักรสาน (ตะกร้า)\\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \\nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา คุณตาโอ ชัยภา \\nที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๓ หมู่ ๒ ตำบลแคนเหนือ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น\\n \\nอาชีพ ทำนา ทำสวน อายุการศึกษาภูมิปัญญา ๒๘ ปี \\nวัตถุดิบ : ไม้ไผ่บ้าน \\nระยะเวลาที่สร้างสรรค์ : จำนวน ๑ ใบ ต่อ ๑ วัน\\nกลุ่มผู้บริโภค : คนทั่วไป และแม่ค้าตลาดสด\\nราคาใบละ : ๑๕๐-๒๐๐ บาท ตามขนาดของตะกร้า\\nชื่อภูมิปัญญา จักรสาน (ตะกร้า)\\nประวัติความเป็นมา การกำเนิดจักรสาน (ตะกร้า)\\n คุณตาโอ ชัยภา ได้เล่าว่าได้เรียนรู้วิชาจักรสานตั้งแต่วัยเด็ก และได้เริ่มจักรสานในปี พ.ศ.2532 ซึ่งคุณตาโอได้สืบทอดการจักรสานมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษและคุณตาโอก็ได้เป็นผู้สืบทอดงานจักรสานนี้มาจนถึงปัจจุบัน จนทำให้คุณตาโอมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของชาวบ้าน หมู่บ้านใกล้เคียง และแพร่หลายไปสู่หลายพื้นที่\\nวัสดุอุปกรณ์ในการจักรสาน (ตะกร้า)\\n๑. ไม้ไผ่บ้าน\\n๒. มีด\\n\\n\\n ขั้นตอนการจักรสาน(ตะกร้า)\\n ขั้นตอนที่ ๑. นำไม้ไผ่ที่ได้ขนาดมาตัดเป็นท่อนขนาดยาวประมาณ 1 เมตร (ขนาดแล้วแต่ขนาดของตะกร้า) โดยการใช้เลื่อยตัดเป็นท่อน แล้วเอกมีดโต้เหลาตาข้อไม้ไผ่ออก จากนั้นทำการขูดผิวเปลือกนอกของไม้ไผ่ออก ชาวบ้านเรียกว่า “การทำหลาบ” เมื่อหลาบเสร็จแล้วใช้มีดโต้ผ่าเป็นซีก (อีสานเรียก“งีม”) \\nขั้นตอนที่ ๒. นำไม้ไผ่ที่ผ่าซีก (งีม) มาจักเป็นเส้นตอก แล้วใช้มีดตอกแต่งเส้นตอกให้เรียบซึ่งเรียกว่า “เหลาตอก” หรือ “ขูดตอก”\\n ขั้นตอนที่ ๓. นำเส้นตอกที่เหลาเรียบร้อยแล้ว มาสานก่อขึ้นรูปตะกร้า โดยเริ่มสานจากฐานก้นตะกร้าก่อนเป็นลำดับแรก ทำไม้ไผ่เหลาเป็นฐานตะกร้า ๒ ชิ้น มัดผูกไขว้กันเพื่อเป็นฐานก้นตะกร้า ซึ่งนิยมสานด้วยลายสองและใช้เส้นตอกตามขนาดของตะกร้า\\n ขั้นตอนที่ ๔. ใช้ตอกเส้นเล็กกลมเพื่อสานขัดกับตอกเส้นยืน สานเป็นลายสับหว่างกัน โดยสานตอกเส้นยืนยก ๑ ข่ม ๑ สานไปเรื่อย ๆ จนได้ตามขนาดที่ต้องการจนเสร็จ เมื่อได้ขนาดตะกร้าตามต้องการแล้ว ทำขอบปากตะกร้าโดยการสานไขว้กันไปเรื่อย ๆ จนเสร็จ แล้วใส่ห่วงตะกร้า (ฮวงตะกร้า) ซึ่งทำด้วยไม้ไผ่เหลาปลายให้แหลม โดยการเสียบเข้าไปในลายตะกร้า แล้วใช้หวายถักให้ห่วงยึดแน่นกับตะกร้า \\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ \\n ได้จัดเก็บความรู้ไว้กับตัวเอง ลูก หลานและเผยแพร่ให้แก่ นักเรียนนักศึกษาที่ได้เข้าไปเรียนรู้และศึกษาข้อมูล รวมทั้งผู้คนที่สนใจในการจักรสาน\\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ \\n การจักรสานตะกร้าของคุณตาโอนั้นเกิดจากภูมิปัญญาที่ได้รับจากการสืบทอดจากบรรพบุรุษจากหมู่บ้านดอนหมากพริก ซึ่งมีต้นไม้ ต้นไผ่ นั้นเป็นวัสดุที่ใช้ในการจักรสานได้เป็นอย่างดี \\n ในปัจจุบันเป้าหมายการจักรสานเพื่อสืบทอดจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลานและสำหรับนักเรียนนักศึกษาที่สนใจเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งก็มีนักเรียน นักศึกษาได้ไปศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญานี้ด้วย ทั้งนี้ก็ยังเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว\\nพิกัด (สถานที่)\\n\\n \\n\\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\\nชื่อผู้ศึกษา นางสาวชุติมากร จันทจิต \\nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู(ป.บัณฑิต) รุ่น 4 \\nรายวิชา ความเป็นครู (800 5201) \\nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \\nคณะ ศึกษาศาสตร์ \\nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\\nสถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านไผ่\\nอาจารย์ผู้สอน\\n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\\n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\\n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\\n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ครู / อาจารย์, นักเรียน / นักศึกษา, ทั่วไป, ผู้ปกครอง
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  โอ ชัยภา
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   -
คำสำคัญ :   ภูมิปัญญา, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, จักรสาน, ตะกร้า, จักรสาน (ตะกร้า)
URL  :   https://youtu.be/yaq3teZ4RuE
จำแนกตามระดับชั้น :   ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
 

  ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง