การทำพิณ

ข้อมูลผลงาน

  6,653      9,953
 
Creative Commons License
การทำพิณ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  การทำพิณ
คำอธิบาย :  ภูมิปัญญาท้องถิ่น : การทำพิณ\nบ้านท่าเรือ หมู่ที่ 2 ต.ท่าเรือ อ.นาหว้า จ.นครพนม 48180\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \n\nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นายทนุศักดิ์ บินศรี (1 ในสมาชิกภูมิปัญญา) \nที่อยู่ บ้านท่าเรือ หมู่ที่ 2 ต.ท่าเรือ อ.นาหว้า จ.นครพนม 48180 \nอาชีพ นักศึกษา อายุการศึกษาภูมิปัญญา 5 ปี \n\nชื่อภูมิปัญญา การทำพิณ\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \n พิณ มาจากคำว่า วีณา ในภาษาอินเดีย เป็นเครื่องดนตรีประเภทสายดีดที่มีมานาน นานจนไม่อาจทราบได้ว่า ใครเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นเป็นคนแรก เครื่องดนตรีที่มีหลักการเช่นเดียวกันนี้ พบในหลายๆ ประเทศ แต่ชื่อเรียก ย่อมแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติภาษา และรูปร่างปลีกย่อยอาจแตกต่างกันไปเช่นกัน\n พิณ ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ เฉพาะพิณของชาวอีสาน ซึ่งแม้แต่ชาวอีสานเอง ก็เรียกชื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้แตกต่างกันออกไป เช่น แถบอุบล เรียกว่า \"ซุง\" ชัยภูมิเรียกว่า \"เต่ง\" หรือ \"อีเต่ง\" หนองคาย เรียกว่า \"ขจับปี่\" เป็นต้น แต่ชื่อสามัญที่คนทั่วไปใช้เรียก คือ \"พิณ\" นั่นเอง\n พิณสมัยก่อน มีเฉพาะพิณโปร่ง นิยมทำจากไม้ขนุนหรือไม้มะม่วง เนื่องจาก ให้เสียงกังวานใสดี เกิดกำทอนดี ไม้ขนุน เนื้อไม่แข็งมาก ใช้มีด ใช้สิ่วเจาะทำพิณได้ไม่ยาก จริงๆ แล้ว ไม้ชนิดอื่นๆ เช่น ไม้มะหาด ไม้ยูง ก็ให้เสียงกังวานใสดีเช่นกัน แต่เนื้อไม้ค่อนข้างแข็งมาก และค่อนข้างหายาก จึงไม่นิยมนำมาทำพิณ ไม้ชนิดอื่นๆ เช่น ไม้มะเหลื่อม ไม้ฉำฉา เป็นต้น ก็ทำพิณได้เช่นกัน แต่เสียงอาจจะไม่แน่นดี ซึ่งหากจะเอาแค่ดีดแล้วมีเสียงดัง จะใช้ไม้อะไรก็ได้ที่ขึงสายแล้วตัวพิณไม่หัก นอกจากนั้น ช่างทำพิณบางคน อาจทำเต้าพิณจากกะลา น้ำเต้า บั้งไม้ไผ่ กระดองเต่า ใช้หนังสัตว์ เช่นหนังงู เป็นต้น ทำเป็นแผ่นประกบปิดเต้าพิณ\n พิณสมัยปัจจุบัน มีทั้งพิณโปร่ง พิณไฟฟ้า และพิณโปร่งไฟฟ้า\nสายพิณ เมื่อก่อนนิยมใช้หางม้าหรือไหมทำสาย ปัจจุบันใช้ลวดเหล็กเส้นเล็กๆ หรือลวดสายเบรกจักรยานแทน เพราะหาง่ายและเหนียว พิณ มีเสียงกังวานสดใส สามารถบรรเลงเพลงได้ทั้งจังหวะอ่อนหวาน เศร้ารันทด และสนุกสนานครื้นเครง เข้าถึงอารมณ์แบบพื้นบ้าน พิณจึงเป็นเครื่องดนตรีชิ้นเอกอีกชิ้นหนึ่งของคนอีสาน\n\nอ้างอิง : เจริญชัย ชนไพโรจน์. (2528). \"เอกสารประกอบการสอนสิชาดุริยะ 362 ดนตรีพื้นบ้านอิสาน\".มศว มหาสารคาม.\nอัษฎาวุธ สาคริก. (2550). ครื่องดนตรีไทย. กรุงเทพฯ : สำนักอุทยานการเรียนรู้.\n\n\n\n\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\nดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน\n ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์มาตั้งแต่เกิด และยังดำเนินความสัมพันธ์กับชีวิตมาตลอด ดนตรีจึงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจนยากจะแยกออกจากกันได้ เพราะอาจจะถือได้ว่าศิลปะดนตรีนั้นเป็นปัจจัยที่ห้าของมนุษย์ ที่สร้างดนตรีขึ้นเพื่อที่จะระบายความคิด ความรู้สึก หรือสร้างมโนภาพและประสบการณ์จริง ซึ่งอาจเป็นความสุขหรือความทุกข์ด้วยเหตุนี้จึงสร้างศิลปะขึ้นมาเพื่อชีวิต ดนตรีจึงเป็นศิลปะที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ดนตรีนั้นยังเกี่ยวข้องกับสังคมในแต่ละท้องถิ่นที่เรียกว่า ดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งเป็นการถ่ายทอดสืบเนื่องกันมาของชาวบ้านที่ประกอบพิธีต่าง ๆ ดนตรีพื้นบ้านจึงมีความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตของชาวบ้าน ทั้งในด้านบันเทิงใจของคนในสังคม ให้ผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน และในด้านการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ช่วงชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งจะสะท้อนความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลหรือกลุ่มชนในระยะเวลาต่าง ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มชนยังคงรักษาไว้และนิยมเล่นกันในปัจจุบันอย่างเช่น ดนตรีพื้นบ้านอีสาน\nความเป็นมาของดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน \n ดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน เป็นดนตรีประจำภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีประวัติความเป็นมานับพันปี และสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยยังดำรงเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมพื้นบ้านไว้อย่างมั่นคง ในการศึกษาอาจสืบค้นจากการใช้คำว่า “ดนตรี” ในวรรณกรรมพื้นบ้านได้บันทึกไว้เป็นหลักฐาน\n1. ประวัติการปรากฏคำว่า “ดนตรี” ศัพท์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทยกลางและไทยอีสานในปัจจุบันนี้ เดิมเป็นคำภาษาสันสกฤต “ตันตริ” หรือจากภาษาบาลีว่า “ตุริยะ” หรือ “มโหรี” คำว่า “ตันตริ” ที่ปรากฏในวรรณกรรมพื้นบ้านอีสานเขียนว่า “นนตรี” ซึ่งก็คือ “ดนตรี” นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันดังนี้\n1.1 คำว่า “นนตรี” พบในวรรณกรรมพื้นบ้านอีส่านหลายเรื่อง ได้แก่ สินไช แตงอ่อน การะเกด ดังตัวอย่างดังนี้\n - บัดนี้จักกล่าวเถิงภูชัยท้าว เสวยราชเบ็งจาล ก่อนแหล้ว ฟังยินนนตรีประดับ กล่อมซอซุง\n1.2 คำว่า “ตุริยะ” อาจเขียนในรูป “ตุริยะ” “ตุริยา” “ตุริเยศ” หรือ “ตุริยางค์” เช่น\n - เมื่อนั้นภูบาลฮู้ มุนตรีขานชอบ ฟังยินตุริเยศย้าย กลองฆ้องเสพเสียง\n1.3 คำว่า “มโหรี” อาจมาจาก “มโหรี” ที่เป็นชื่อปี่ หรือมาจากคำว่า “โหรี” ซึ่งหมายถึงเพลงพื้น\nเมืองชนิดหนึ่งของอินเดีย คำว่า “มโหรี” พบในวรรณคดีของอีสานดังนี้\n - มีทั้งมโหรีเหล้น ทังละเม็งฟ้อนม่ายสิงแกว่งเหลื้อม โขนเต้นใส่สาว (สิง = นางฟ้อน นางร้ำ)\nจะเห็นได้ว่า คำว่า “นนตรี” “ตุริยะ” และ “มโหรี” เป็นคำที่นิยมใช้ในวรรณคดีและหมายถึง ดนตรี ประเภทบรรเลงโดยทั่วไป แต่ในปัจจุบันคำว่า ดนตรี หมายถึง ดนตรีของราชสำนักภาคกลางหรือดนครีไทยสากล ส่วนดนตรีพื้นบ้านของชาวอีสานจะมีชื่อเรียกเป็นคำศัพท์เฉพาะเป็นอย่าง ๆ ไป เช่น ลำ (ขับร้อง) กล่อม สวดมนต์ สู่ขวัญ เซิ้ง เว้าผญา หรือจ่ายผญา สวดสรภัญญะและอ่านหนังสือผูก เป็นต้น\n การที่จะสืบค้นประวัติความเป็นมาของดนตรีอีสานให้ได้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงนั้นทำ ได้ยาก เพราะไม่มีเอกสารใดที่บันทึกเรื่องราวทางดนตรีโดยเฉพาะ จะมีกล่าวถึงในวรรณคดีก็เป็นส่วนประกอบของท้องเรื่องเท่านั้นเอง และที่กล่าวถึงส่วนมากก็เป็นดนตรีในราชสำนัก โดยกล่าวถึงชื่อดนตรีต่าง ๆ เช่น แคน พิณ ซอ ไค้ (แคนของชาวเขา) ขลุ่ย กลอง ตะโพน พาทย์ (กลอง ระนาด ฆ้อง สไนง์ (ปี่เขาควาย) สวนไล (ชะไล-ปี่ใน) ปี่อ้อหรือปี่ห้อ เป็นต้น ส่วนการประสมวงนั้นที่เอยก็มีวงมโหรี ส่วนการประสมอย่างอื่นไม่กำหนดตายตัวแน่นอน เข้าใจว่าจะประสมตามใจชอบ แม้ในปัจจุบันการประสมวงของดนตรีอีสานก็ยังไม่มีมาตรฐานที่แน่ยอนแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามดนตรีอีสานในปัจจุบันที่ยังคงปฏิบัติอยู่มีทั่งดนตรีประเภทบรรเลงและดนตรีประเภทขับร้อง\n\nดนตรีพื้นเมืองอีสาน\n ลักษณะดนตรีอีสาน\n ดนตรีที่นำมาใช้เป็นไปในรูปแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้\n 1. บรรเลงประกอบหมอลำ คำว่า “ลำ” หมายถึง ขับลำนำ หรือขับเป็นลีลาการร้องหรือการเล่าเรื่องที่ร้องกรองเป็นกาพย์หรือกลอนพื้นเมืองบรรเลงล้วน บางโอกาสดนตรีบรรเลงทำนองเพลงล้วน ๆ เพื่อเป็นนันทนาการแก่ผู้ฟัง เพลงที่ใช้บรรเลงก็เป็นทางประกอบหมอลำหรือทางอื่น ๆ ที่ใช้เป็นเพลงบรรเลงโดยเฉพาะ\n 2. บรรเลงประกอบการฟ้อนรำ นาฏศิลป์พื้นเมืองอีสานที่เน้นการเคลื่อนไหวเท้าตามจังหวะ ส่วนอื่นๆ ของร่างกายก็เคลื่อนไหวแต่ไม่ค่อยพิถีพิถัน\n ดนตรีพื้นเมืองอีสานมีลักษณะเฉพาะตัวเอง มีความแตกต่างไปจากดนตรีพื้นเมืองอื่นๆ องค์ประกอบที่สำคัญของอีสานมี 3 ประการ คือ\n 1. จังหวะ จังหวะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก มีตั้งแต่ประเภทช้า ปานกลางและเร็ว จังหวะช้าใช้ในเพลงประเภทชวนฝัน เศร้า หรือตอนอารัมภบทของเพลงแทบทุกเพลง\n 2. ทำนอง ซึ่งชาวบ้านเรียกทำนองว่า “ลาย” และบ่อยครั้งใช้ลายแทนคำว่าเพลงทำนองเพลงพื้นเมืองของอีสานเหนือมีวิวัฒนาการมาจากสำเนียงพูดของชาวอีสานเหนือโดยทั่วไป ทำนองของเพลงแต่ละเพลงแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังต่อไปนี้ \n 2.1 ทำนองเกริ่น เป็นทำนองที่บรรเลงขึ้นต้นเหมือนกับอารัมภบทในการพูดหรือเขียน\n 2.2 ทำนองหลัก คือทำนองที่เป็นหัวใจของเพลง ผู้ฟังที่คุ้นเคยกับเพลงพื้นเมืองสามารถบอกชื่อเพลง หรือทาง หรือลายได้จากทำนองหลักนี้เอง\n 2.3 ทำนองย่อย คือทำนองที่ใช้สอดแทรกสลับกันกับทำนองหลัก เนื่องจากทำนองหลักสั้น การบรรเลงซ้ำกลับไปกลับมาติดต่อกันนาน ๆ ทำให้เพลงหมดความไพเราะ การสอดแทรกทำนองย่อยให้กลมกลืนกับทำนองหลักจึงมีความสำคัญมาก\n 3. การประสานเสียง การประสานเสียงในวงดนตรีเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลัง ก่อนนั้นเป็นบรรเลงหรือร้องเป็นไปลักษณะทำนองเดี่ยว\n\nเครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสาน\n หืน เป็นเครื่องดนตรีกึ่งดีดกึ่งเป่าอย่างหนึ่งมี ทั้งที่ทำด้วยไม้ไผ่และโลหะเซาะร่องตรง กลางเป็นลิ้นในตัว เวลาเล่นประกบหืนเข้ากับ ปาก ดีดที่ปลายข้างหนึ่งด้วยนิ้วหัวแม่มือ หรือนิ้วชี้ อาศัยกระพุ้งปากเป็นกล่องเสียง ทำให้ เกิดเสียงสูงต่ำตามขนาดของกระพุ้งปากที่ทำ สามารถดีดเป็นเสียงแท้คล้ายเสียงคนออกเสียงสระ เครื่องดนตรีนี้มีเล่นกันในพวกชนเผ่ามูเซอ เรียกชื่อว่า เปี๊ยะเครื่องดนตรีชนิดนี้มิ ได้มีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่มีใน ทุกส่วนของโลก เช่น แถบมองโกเลีย ปาปัว นิวกินี อัฟริกา และยุโรป นับเป็น เครื่องดนตรีโบราณชิ้นหนึ่งที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง\n โหวด เป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่งที่ไม่มีลิ้น เกิดจากกระแสลมที่เป่าผ่านไม้รวกหรือไม้ เฮี้ย (ไม้กู่แคน) หรือไม้ไผ่ ด้านรู เปิดของตัวโหวดทำด้วยไม้รวกขนาดเล็ก สั้น ยาว (เรียงลำดับตามความสูงต่ำของเสียง) ติด อยู่รอบกระบอกไม้ไผ่ที่ใช้เป็นแกนกลาง ติดไว้ด้วยขี้สูด มีจำนวน 6-9 เลา ความ ยาวประมาณ 25 เซนติเมตร เวลาเป่าจะหมุนไปรอบๆ ตามเสียงที่ต้องการ\n โปงลาง เป็นเครื่องดนตรีประเภทที่บรรเลง ทำนองด้วยการตีเพียงชนิดเดียวของภาคอีสาน โดย บรรเลงร่วมกันกับแคน พิณและเครื่องประกอบจังหวะ หรือ บรรเลงเดี่ยว ตังโปงลางทำด้วยท่อนไม้แข็งขนาดต่างๆ กันเรียงตามลำดับเสียงร้อยด้วยเชือกเป็นลูกระนาด ปลายข้างเสียงสูงผูกแขวนไว้กับกิ่งไม้ และ ข้างเสียงต่ำปล่อยทอดเยื้องลงมาคล้องไว้กับ หัวแม่เท้าของผู้บรรเลง หรือคล้องกับวัสดุ ปกติ ผู้เล่นโปงลางรางหนึ่งมี 2 คน คือ คนบรรเลง ทำนองเพลงกับคนบรรเลงเสียงกระทบแบบคู่ประสาน ไม้ ที่ตีโปงลางทำด้วยไม้เนื้อแข็งเป็นรูปคล้าย ค้อนตีด้วยมือสองข้าง ข้างละอัน ขนาดของโปงลางไม่มีมาตรฐานแน่นอน\n กระจับปี่ เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด โดยใช้กระที่ทำจากเขาสัตว์ กล่องเสียงทำ ด้วยไม้ขนุนหรือไม้สัก ส่วนปลายสุดมีรู 2 รู ใช้ใส่ลูกบิดและร้อยสาย เมื่อบรรเลง จะตั้งขนานกับลำตัว มือขวาจับกระสำหรับดีด มือซ้ายกดที่สายเพื่อเปลี่ยนระดับเสียง\n กลองกันตรึมเป็นเครื่องหนังชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ขุดกลวง ขึงหน้าด้านหนึ่งด้วยหนังดึงให้ตึงด้วยเชือก ใช้ดีประกอบจังหวะในวงกันตรึม\n กรับคู่ เป็นกรับทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเหมือนกับกรับเสภาของภาคกลาง แต่ขนาดเล็กกว่าใช้ ประกอบจังหวะดนตรีใน วงกันตรึม กรับคู่ชุดหนึ่งมี 2 คู่ ใช้ขยับ 2 มือ\n แคน เป็น เครื่องดนตรีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของ ชาวภาคอีสานเหนือ และอีสานภาคกลางไม่รวมอีสาน ใต้ที่มีอิทธิพลเขมร ได้แก่ “แคน” แคนเป็นเครื่องดนตรีสมบูรณ์แบบที่สุด ที่มีประวัติ ความเป็นมาย้อนหลังไปหลายพันปี แคนทำ ด้วยไม้ซาง มีลิ้นโลหะ เช่นดีบุก เงิน หรือทองแดง บางๆ ประกอบไว้ในส่วนที่ประกอบอยู่ในเต้าแคน แคนมีหลายขนาด เช่น แคน 7 แคน 9 ข้าง ๆ เต้าแคน ด้านบนมีรูปิดเปิดบังคับเสียง เวลา เป่า เป่า ที่เต้าแคนด้านหน้า ใช้มือทั้งสอง ประกอบจับเต้าแคนในลักษณะเฉียงเล็กน้อย แคนเป็น เครื่องดนตรีที่บรรเลงได้ทั้งทำนองเพลงประสานเสียง และให้จังหวะในตัวเอง จึงมีลีลาการบรรเลง ที่วิจิตรพิสดารมาก ระบบเสียงของแคน เป็นทั้งระบบ ไดอะโทนิค และเพนตะโทนิค มีขั้น คู่เสียงที่เล่นได้ทั้งแบบตะวันตกและแบบ ไทยรวมทั้งคู่เสียงระดับเดียวกันอีกด้วย\n จะเข้กระบือ เป็นเครื่องดนตรีสำคัญชิ้นหนึ่งในวงมโหรีเขมร เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดในแนวนอน มี 3 สาย สมัยก่อนสายทำจากเส้นไหมฟั่น ปัจจุบันทำจาก สายเบรกจักรยาน การบรรเลงจะใช้มือซ้ายกด สายบนเสียงที่ต้องการ ส่วนมือขวาใช้สำหรับดีด \n ครูผู้สอนได้ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษสู่ นายทนุศักดิ์ บินศรี ซึ่งเป็นบุคคลที่อาศัยอยู่ในบ้านท่าเรือ หมู่ที่ 2 ต.ท่าเรือ อ.นาหว้า จ.นครพนม 48180 เพื่อฝึกพัฒนาการทำพิณตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเยาว์ซึ่งได้รับการฝึกฝนและถ่ายทอดความรู้ให้จนได้นำมาพัฒนาต่อยอดและประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน และสามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและตัวเอง\n\n\n\n\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\n \n ขั้นตอนที่ 1 คัดเลือกไม้คุณภาพดี ขั้นตอนที่ 2 การขึ้นรูปพิณ\n\n ขั้นตอนที่ 3 การตกแต่งทรง ขั้นตอนที่ 4 การทำหัวพิณ\n \n ขั้นตอนที่ 5 การทำไม้ฟิงเกอร์บอร์ด ขั้นตอนที่ 6 การต่อหัว\n\n \n\n ขั้นตอนที่ 7 การขัดพิณ ขั้นตอนที่ 8 การเคลือบเงา \n \n\n\n\n\n\n\n \n\n \n ขั้นตอนที่ 9 การประกอบพิณ ขั้นตอนที่ 10 การตรวจสอบคุณภาพ\n\n ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำพิณนี้ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษอย่างช้านานมาก และยังทำให้หมู่บ้านเกิดความนิยม ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับลูกหลานรุ่นต่อรุ่น ซึ่งทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริมและมีรายได้เพิ่มขึ้น และที่สำคัญได้ส่งเสริมและอนุลักษณ์ภูมิปัญญาของชุมชนต่อไป\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\n การถ่ายทอดการทำพิณ เป็นการถ่ายทอดให้กับชาวบ้านบ้านท่าเรือและหมู่บ้านใกล้เคียงที่ให้ความสนใจ เพื่อเป็นการอนุลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้สูญหายและให้ลูกหลานสืบทอดต่อไป แล้วยังช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วยเช่นกัน\n พิณ สมัยก่อนมีเฉพาะพิณโปร่ง นิยมทำจากไม้ขนุน เนื่องจากให้เสียงกังวานใสดี ไม้ขนุนเนื้อไม่แข็งมาก ใช้มีดใช้สิ่วเจาะทำพิณได้ไม่ยาก จริง ๆแล้วใช้ไม้ชนิดอื่น ๆ เช่น ไม้มะหาด ไม้ยูง ก็ได้ ให้เสียงกังวานใสดีเช่นกัน แต่เนื้อไม้ค่อนข้างแข็งมากและหายาก จึงไม่นิยมนำมาทำพิณ ไม้ชนิดอื่น ๆ เช่นไม้มะเหลื่อม ไม้ฉำฉา ก็ทำพิณได้เช่นกัน แต่เสียงอาจจะไม่แน่นดี ซึ่งหากจะเอาแต่ดีดแล้วมีเสียงดัง จะใช้ไม้อะไรก็ได้ที่ขึงสายพิณแล้ว ตัวพิณไม่หัก นอกจากนั้นช่างทำพิณบางคนอาจทำเต้าพิณจากกะลา น้ำเต้า บั้งไม้ไผ่ กระดองเต่า แล้วใช้หนังสัตว์ เช่น หนังงู เป็นต้น ทำเป็นแผ่นประกบปิดเต้าพิณ \n พิณ มีเสียงกังวานสดใส สามารถบรรเลงเพลงได้ทั้งจังหวะอ่อนหวาน เศร้ารันทด และสนุกสนานครื้นเครง เข้าถึงอารมณ์แบบพื้นบ้าน พิณ จึงเป็นเครื่องดนตรีชิ้นเอกอีกชิ้นหนึ่งของคนอีสาน\n\nขั้นตอนการทำพิณมีดังนี้\n1. คัดเลือกไม้คุณภาพดี ซึ่งขั้นตอนนี้ก็ถือว่าสำคัญมากในการทำพิณ เพราะไม้ที่นำมาทำพิณจะต้องเป็นไม้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะ สามารถนำมาทำพิณได้ และต้องเป็นไม้ที่แห้งสนิทแล้ว\n2. การขึ้นรูปพิณ เป็นการนำไม้ที่คัดเลือกมาไสให้เรียบ แล้วนำมาวาดตามแบบพิณที่ต้องการ แล้วเลื่อยด้วยเครื่องเลื่อยให้เป็นรูปทรงตามที่วาดไว้\n3. การตกแต่งทรง ขั้นตอนนี้ถือว่ายาก และต้องใช้ความชำนาญมาก ในการเปลี่ยนจากท่อนไม้ที่เป็นรูปพิณ ให้เป็นพิณที่สวยงาม ซึ่งจะใช้เครื่องมือหลายชิ้นเพื่อ ตัดแต่ทรง เหลาคอ และใส่ลวดลาย\n4. การทำหัวพิณ ขั้นตอนนี้คืองานแกะสลัก เพื่อนำมาต่อเป็นส่วนหัวของพิณ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำเป็นลายพญานาค ลายพญาหงษ์ และลายกนก ที่มีความสวยงาม และเป็นเอกลักษณ์ของช่างแต่ละคน\n5.การทำไม้ฟิงเกอร์บอร์ด ฟิงเกอร์บอร์ดจะเป็นไม้ติดที่คอ เพื่อใส่เฟรต หรือขั้นพิณ\n\n6. การต่อหัว\nเป็นการนำหัวที่แกะสลักอย่างสวยงาม มาต่อเข้ากับตัวพิณ ซึ่งจะเป็นเป็นแบบถอดเก็บได้\n7. การขัดพิณ\nขัดด้วยกระดาษทายหยาบ แล้วตามด้วยขัดด้วยกระดาษทรายละเอียด ซึ่งมีทั้งขัดด้วยมือ และขัดด้วยเครื่อง\n8. การเคลือบเงา\nเพื่อทำให้พิณสวยงาม เงาสวย และไม้พิณจะได้ทนนาน ไม่เป็นรา ก็จำเป็นต้องเครื่อบเงา ซึ่งจะมีการรองพื้นด้วยสีรองพื้น แล้วเคลือบเงาอีก3รอบ หรือมากกว่า3รอบตามความหนาของการเคลือบที่ต้องการ\n9 การประกอบพิณ หลังจากที่เคลือบเงาแห้งแล้ว ก็เป็นการนำอะไหล่พิณมาประกอบ คือ การใส่เฟรต การใส่ลูกบิด หย่อง สาย หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ\n10. การตรวจสอบคุณภาพ\nถือว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่สำคัญซึ่งเป็นการตรวจสอบความถูกต้อง ความสวยงาม เสียง และอื่นๆ เพื่อจะได้พิณที่ดี และมีคุณภาพ\n\n\n\n\n\nพิกัด (สถานที่) บ้านท่าเรือ หมู่ที่ 2 ต.ท่าเรือ อ.นาหว้า จ.นครพนม 48180\n\n\n\n \n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\nชื่อผู้ศึกษา นายสุพรรณ พรมศิริ \n\nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 \nรายวิชา ความเป็นครู (800 5201) \nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \nคณะ ศึกษาศาสตร์ \nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\nสถานที่ทำงาน โรงเรียนอนุบาลคริสเตียนมารีย์พร\nอาจารย์ผู้สอน\n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  ทนุศักดิ์ บินศรี
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   สุพรรณ พรมศิริ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   การทำพิณ, พิณ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ภูมิปัญญาไทย, ภูมิปัญญาอีสาน, เครื่องดนตรีอีสาน, เครื่องสาย, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
URL  :   -
จำแนกตามระดับชั้น :   ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, ศิลปะ, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน