มูลตรี วังสีดี

ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  13,436       4,000

-  File 1
-  File 2
-  File 3
-  File 4
-  File 5
-  File 6
-  File 7
หัวเรื่อง :  กลอนลำทำนองขอนแก่น
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ครู / อาจารย์, นักเรียน / นักศึกษา, ทั่วไป, ผู้ปกครอง
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  มูลตรี วังสีดี
เจ้าของผลงานร่วม :   พงษ์ศักดิ์ มากสูงเนิน, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, กลอนลำทำนองขอนแก่น, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, กลอนลำ, หมอลำขอนแก่น, หมอลำ
คำอธิบาย :  ลำกลอนทำนองขอนแก่น
สถานที่ : ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา
ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา : นายมูลตรี วังสีดี อายุ ๔๒ ปี
ที่อยู่ ๒๕๕ หมู่ ๑ ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
อาชีพ ศิลปินหมอลำ อายุการศึกษาภูมิปัญญา ๒๕ ปี

ชื่อภูมิปัญญา : ลำกลอนทำนองขอนแก่น
ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา
ลำกลอนมีอยู่ด้วยกันหลายทำนองตามแต่ท้องถิ่น ลำกลอนเป็นแม่แบบของการลำประเภทอื่นๆ จากนั้นก็จะเป็นลำเพลิน เมื่อนำลำเพลินและกลอนมาผนวกกัน ก็จะกลายเป็นลำซิ่ง ส่วนลำเรื่องนั้นเกิดขึ้นมาทีหลัง โดยแต่ละบทจะเรียกว่า “ยก” โดยเรียงลำดับดังนี้
ยกที่ ๑ ไหว้ครู
ยกที่ ๒ ประกาศศรัทธา (พูดกับเจ้าภาพ)
ยกที่ ๓ ถามข่าวบ้าน (ถามข่าวคราวโดยให้ผู้ชายถามข่าวผู้หญิง) โดยจะโต้ตอบกันตลอดคืน
ยกที่ ๔ บาปบุญคุณโทษ
ยกที่ ๕ นิทาน เช่น สีทนมโนราห์ (พระสุธนมโนราห์) การะเกด ขุนช้างขุนแผน
เมื่อก่อนจะลำกันจนสว่างอาจจะมีหลายๆยกเพิ่มขึ้นมากว่านี้ หากแต่เนื้อความก็จะอยู่ในเนื้อหาของ ๕ ยกนี้ ในบางครั้งอาจเรียกยกว่า “กลอน” (คำกลอน) หลังจากลำเสร็จแล้วก็จะลำล่องลา และเต้ยลา “สมควรแล้วนะท่านหนาหมอลำขอลาไปก่อนแล้ว” มักจะเป็นทำนองเต้ยพม่าไปพร้อมกับการเป่าแคน มักจะเป็นการร้องด้นไป แต่จะไม่ลำเร็วเหมือนในปัจจุบัน
การลำเมื่อก่อนหมอลำชาย ๑ คน หมอลำหญิง ๑ คน หมอแคน ๒ คน ส่วนเวทีสำหรับแสดงนั้นเจ้าภาพจะเป็นคนทำขึ้นมาให้ โดยใช้ต้นมะพร้าวเป็นเสาหลัก แล้วก็ปูแป้น (ไม้กระดาน) ในการทำเวที ยกธงทิวขึ้นเป็นสาย มีบักอันโหล(ไมค์) ไว้ ๒ ตัวสำหรับหมอลำฝ่ายชายและหญิง บางครั้งการสร้างเวทีก็ไม่แข็งแรงทำให้บางครั้งก็จะเหยียบเวทีทะลุลงไป หลังจากนั้นได้มีการนำเอากลองทอม (กลองคองก้า) เข้ามาตีผสม โดยมีที่มาที่ไปจากการที่ผู้มาชมแล้วปรบมือเคาะขวดเคาะหม้อไปด้วย จากก็เริ่มนำฉิ่งเข้ามาและพิณ โดยในช่วงนี้เริ่มมีการประยุกต์เป็นลำซิ่งแล้ว
การลำกลอนและลำเรื่องนั้นต่างก็เป็นพื้นฐานที่หมอลำจะต้องฝึกฝน หากแต่ลำกลอนสามารถนำลำเรื่องไปผสมได้ แต่ลำเรื่องไม่สามารถนำลำกลอนไปผสมได้ ฉะนั้นลำกลอนจึงเป็นการลำที่กว้างกว่าลำเรื่อง
(มูลตรี วังสีดี, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ : สัมภาษณ์)


กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)
เมื่อก่อน หมอลำเป็นอาชีพหลัก แต่ทุกวันนี้เป็นอาชีพเสริม เมื่อก่อนเป็นอาชีพที่มั่นคง ลำแล้วรวย แต่เดี๋ยวนี้มีหมอลำคนอื่นๆ เกิดขึ้นมามาก การแข่งขันในเชิงธุรกิจมีมาก ดังนั้นถ้ามีงานก็ไปแต่ถ้าไม่มีงานก็ไม่เป็นไร ก็ทำอาชีพอื่นๆไปด้วย เอาประสบการณ์เก็บไว้เพื่อเอาไว้สอนลูกหลาน ว่าเคยได้ลำอย่างไรบ้าง เพราะมันเป็นมูล(มรดก) ของพ่อของแม่ที่สืบทอดกันมา โดยได้รับการถ่ายมาจากคุณพ่อคำเบา เพชรเสียงทอง
(มูลตรี วังสีดี, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ : สัมภาษณ์)
การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)
การแต่งกลอนลำ
ก่อนที่จะแต่งกลอนลำนั้นจะต้องไปเห็นกิจกรรม สัมผัสกับเรื่องราวที่จะมาแต่งก่อน เพื่อให้บรรยากาศต่างๆได้ซึมซับเข้าไปในความทรงจำแล้วจึงค่อยถ่ายทอดออกมาเป็นคำกลอน แต่ละประโยคจะไม่เกิน ๘ คำ (แต่ทั้งนี้ไม่รวมคำที่เป็นคำทำนองเอื้อน เช่น เด้อ นะ นั่นเด้อ) คล้องกันไปเรื่อยๆ หากท้ายเป็นสระเสียงใดในวรรคถัดไปก็จะมีสระนั้นผสมอยู่ด้วย คล้ายกับภาคกลาง แต่ลำกลอนจะมีความโดดเด่นด้านสำนวน
ตัวอย่างการลำกลอนไหว้ครู
โอละน้อ...................(ต่ำ)
เอาละนี่ว่าพุทธรัตตะนัง ธัมรัตตะนัง
แล้วฮ๊านี่กุกูทสันโทโกนากัสโปโคตะโม
(จั้งว๊าศรีเอ๋ยศรี)ซ้ำ ศรีอาริยะเมตตัยโย
จั้งว๊าคุณเอ้ยคุณ คุณบิดรมารดา
จั้งว๊าคุณเอ้ยคุณ คุณครูบาอาจารย์
ทั้งคุณศิลคุณทานจงมาปกมาหวัง
จงมากั้งมาเลี๊ยมหมอลำไว้
โอละน้อ................นวลน้องเอ๋ย
เอาละนี่ ว๊าสาธุสาจั้งว๊าสาธุเด้อ
อภิวันนะน้อมจอมใจแจ้วแจ๊น(แก้วแก่น)
คุณพระยกใส๊เก้ากวมกุ้มใส๊เศียรละกะ(ทุกสิงก้มกราบวันทา)ซ้ำ
คุณครูบาหละพวกอาจารย์สอนละซ๊งพรซูค่ำ
ซูค่ำผู๊ข้าลำวันนี่เวทีสนามกวง
(ปวงนั่นเดอ)ซ้ำ ปวงประชาทางพื้นแผ๊นใต่
ยามนั้นเด้อ ยามผุข่านี่ได๊ นี่ได๊ออกค๊าวกลอนแถลง
สาธุเด้อขอให่แปงยอยก ให่แปงยอยกกะลำคำควมกุ้ม
ควมกุ้มกับคุมสถานที่เฮือนซานบ้านซ๊อง
บ้านซ๊องผุข่าลองกล๊าวเอาประนมไหว่ทั๊วแดน
ตลอดโขงแม๊นแล่นแผ๊นแดนด๊านเทวา......... (มูลตรี วังสีดี, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ : สัมภาษณ์)
การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)
การจดบันทึกกลอนลำเมื่อก่อนจดเพื่อให้จำได้ แต่ปัจจุบันนี้ไม่ต้องจดแล้วเพราะลำจนมีความชำนาญ สามารถนึกใช้ได้ตอนไหนก็ได้ ตัวคุณพ่อไม่ได้หวังเอาผลงาน ศิลปินแห่งชาติพ่อไม่ได้หวัง แต่ถ้าเป็นคนอื่นที่เขาจะเอาเป็นผลงานก็จะมีการบันทึกและพิมพ์ไว้ และคุณพ่อจะเป็น “ครูพักลักจำ”ถ่ายทอดด้วยสติปัญญา หากผู้ใดที่ต้องการจะได้จะต้องฟังแล้วจดบันทึกเอาเอง เอกสารเกี่ยวกับกลอนลำบางส่วนยังเหลืออยู่บ้างจากการได้มาจากครูบาอาจารย์ก็จดเก็บไว้ เมื่อย้ายบ้านเอกสารก็หายบ้าง หนูกัดบ้าง
(มูลตรี วังสีดี, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ : สัมภาษณ์)
การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)
ลำกลอนนั้นเป็นลักษณะของผู้เชี่ยวชาญ กล่าวคือ หมอลำจะต้องใช้ไหวพริบปฏิภาณกับความรู้ที่ได้ฝึกฝนมาผนวกกับเรื่องราวที่ได้พบเห็นมา ก็สามารถพูดขึ้นเป็นกลอนลำได้ เพราะส่วนมากกลอนลำจะเป็นคำที่ใช้ในชีวิตประวันพูดติดปากไปอยู่แล้วด้วย เช่น คำพูด คำอวยพร
หมอลำคือผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญเปรียบเหมือนแพทย์ที่เชี่ยวชาญ แต่เชี่ยวชาญกันคนละอย่าง อันเกิดจากการพูดบ่อย ไปลำบ่อยเพราะคำพวกนั้นมันติดปากพูดอะไรก็จะเป็นคำกลอนไปหมด
ส่วนการสืบทอดนั้น สืบทอดให้กับลูกหลาน และลูกศิษย์
(มูลตรี วังสีดี, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ : สัมภาษณ์)
พิกัด (สถานที่)






ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา ๒๕๖๐
ชื่อผู้ศึกษา นายพงษ์ศักดิ์ มากสูงเนิน
หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น ๔
รายวิชา ความเป็นครู (๘๐๐๕๒๐๑)
เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
คณะ ศึกษาศาสตร์
สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สถานที่ทำงาน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง)
อาจารย์ผู้สอน
๑ รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)
๒ อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ
๓ อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา
๔ อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์
๕ อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว
๖ อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย

https://youtu.be/kNDSZ3GdRm8
จำแนกตามระดับชั้น :   ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
กลอนลำทำนองขอนแก่น 13,436

ผลงาน 5 อันดับล่าสุด
กลอนลำทำนองขอนแก่น 14 พฤษภาคม 2561
จำนวนไฟล์จำแนกตามประเภท
จำนวนข้อมูลจำแนกตามระดับชั้น
จำนวนข้อมูลจำแนกตามประเภทบุคคล
ผลงานทั้งหมด
# ชื่อเรื่อง ผู้เข้าชม #
1 กลอนลำทำนองขอนแก่น 13,436