การทำปลาส้ม

ข้อมูลผลงาน

  383      1,530
 
Creative Commons License
การทำปลาส้ม is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  การทำปลาส้ม
คำอธิบาย :  ชื่อหัวข้อภูมิปัญญา : การทำส้มปลา\n154 หมู่ 1 ตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางหมวย ระพรหมมา \nที่อยู่ 154 หมู่ 1 ตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น \nอาชีพ การทำส้มปลา อายุการศึกษาภูมิปัญญา 55 ปี \n\nชื่อภูมิปัญญา การทำส้มปลา\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \nการทำส้มปลา สืบทอดมาถึงบรรพบุรุษ จนจึงปัจจุบันนี้ เพราะในบ้านหนองกุงเซิน หมูที่ 1 \nตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ติดเขื่อนอุบลรัตน์ คนในพื้นที่มีอาชีพเกี่ยวกับการประมง เช่น การเลี้ยงปลาในกระชัง การออกหาปลาตามธรรมชาติ และปลาที่หาได้นอกจากจะนำมาทำเป็นอาหาร และได้มีการทำส้มปลา เพื่อทำเป็นอาหาร และมีการทำจำหน่าย จนเป็นอาชีพ และส่งออกไปยังกลุ่มเพื่อนบ้านต่างๆ ถือว่าเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว ถือว่าเป็นการสร้างอาชีพเสริมที่ดีและเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเราต่อไป (หมวย ระพรหมมา, พฤศจิกายน 2560 : สัมภาษณ์)\n\n\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\nการทำส้มปลาเป็นการถนอมอาหาร และเป็นอาชีพของคนในหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น หลายครอบครัว จึงทำให้มีการสืบทอดการทำส้มปลามาตั้งแต่ในอดีต และได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน\n\n\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\n \nขั้นตอนที่ 1 นำปลาที่ได้มาเอาเกล็ดออก และเอาก้างของปลาออกให้หมด\n \nขั้นตอนที่ 2 นำปลาที่เอาก้างออกแล้วมาสับให้ละเอียด\n\n \n \n\n\nขั้นตอนที่ 3 นำปลาที่สับให้ละเอียดแล้ว มาปรุงรส โดยมีเครื่องปรุงดังนี้ น้ำปลา เกลือ น้ำตาล กระเทียม และข้าวเหนียว \n \n\nขั้นตอนที่ 4 คลุกเคล้าเครื่องปรุงต่างๆให้เข้ากับเนื้อปลาให้ทั่ว แล้วนำมาปันเป็นก้อนกลมๆ\n\n\n\n \nขั้นตอนที่ 5 ห่มเนื้อปลาที่ปรุงรสเสร็จแล้วมาห่อ การห่อจะใช้ใบตองกล้วยในการห่อ\n \nขั้นตอนที่ 6 ส้มปลาที่ห่อเสร็จแล้ว\n\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\n\nภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำส้มปลา นี้ได้รับการถ่ายทอดจากแต่อดีตของคนในชุมชน ซึ่งได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับลูกหลาน จึงทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริมและการดำรงชีวิตที่พอเพียง ที่สำคัญได้ส่งเสริมภูมิปัญญาของหมู่บ้านตนเองไว้สืบทอดให้ลูกหลานของเราต่อไป\n\n\n\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\n\nการถ่ายทอดการทำส้มปลาเป็นการถ่ายทอดให้กับประชาชนในหมู่บ้านหรือเพื่อนบ้านต่างๆที่สนใจในการทำส้มปลาถือว่าเป็นการให้ความรู้กับผู้ที่สนใจ จะอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ลูกหลานของเราดูหรือสืบทอดต่อไป\n\n\n\nพิกัด (สถานที่) บ้านหนองกุงเซิน หมู่ที่ 1 ตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น\n\n \n\n\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\nชื่อผู้ศึกษา นายวานิช หมื่นไธสง \nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 \nรายวิชา ความเป็นครู (800 5201) \nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \nคณะ ศึกษาศาสตร์ \nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\nสถานที่ทำงาน โรงเรียนหนองกุงเซินหนองโนพัฒนา\nอาจารย์ผู้สอน\n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย\nhttps://youtu.be/KHN_0pqcksM
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ครู / อาจารย์, นักเรียน / นักศึกษา, ทั่วไป, ผู้ปกครอง
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  หมวย ระพรหมมา
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   วานิช หมื่นไธสง, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   การทำปลาส้ม, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, การถนอมอาหาร, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
URL  :   https://youtu.be/KHN_0pqcksM
จำแนกตามระดับชั้น :   มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
 

  ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง