วานิช หมื่นไธสง

ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  359       1,466

-  File 1
-  File 2
-  File 3
-  File 4
-  File 5
-  File 6
-  File 7
-  File 8
-  File 9
-  File 10
-  File 11
-  File 12
-  File 13
-  File 14
หัวเรื่อง :  การทำปลาส้ม
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ครู / อาจารย์, นักเรียน / นักศึกษา, ทั่วไป, ผู้ปกครอง
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  หมวย ระพรหมมา
เจ้าของผลงานร่วม :   วานิช หมื่นไธสง, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   การทำปลาส้ม, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, การถนอมอาหาร, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คำอธิบาย :  ชื่อหัวข้อภูมิปัญญา : การทำส้มปลา
154 หมู่ 1 ตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา
ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางหมวย ระพรหมมา
ที่อยู่ 154 หมู่ 1 ตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
อาชีพ การทำส้มปลา อายุการศึกษาภูมิปัญญา 55 ปี

ชื่อภูมิปัญญา การทำส้มปลา
ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา
การทำส้มปลา สืบทอดมาถึงบรรพบุรุษ จนจึงปัจจุบันนี้ เพราะในบ้านหนองกุงเซิน หมูที่ 1
ตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ติดเขื่อนอุบลรัตน์ คนในพื้นที่มีอาชีพเกี่ยวกับการประมง เช่น การเลี้ยงปลาในกระชัง การออกหาปลาตามธรรมชาติ และปลาที่หาได้นอกจากจะนำมาทำเป็นอาหาร และได้มีการทำส้มปลา เพื่อทำเป็นอาหาร และมีการทำจำหน่าย จนเป็นอาชีพ และส่งออกไปยังกลุ่มเพื่อนบ้านต่างๆ ถือว่าเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว ถือว่าเป็นการสร้างอาชีพเสริมที่ดีและเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเราต่อไป (หมวย ระพรหมมา, พฤศจิกายน 2560 : สัมภาษณ์)


กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)
การทำส้มปลาเป็นการถนอมอาหาร และเป็นอาชีพของคนในหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น หลายครอบครัว จึงทำให้มีการสืบทอดการทำส้มปลามาตั้งแต่ในอดีต และได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน


การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)

ขั้นตอนที่ 1 นำปลาที่ได้มาเอาเกล็ดออก และเอาก้างของปลาออกให้หมด

ขั้นตอนที่ 2 นำปลาที่เอาก้างออกแล้วมาสับให้ละเอียด





ขั้นตอนที่ 3 นำปลาที่สับให้ละเอียดแล้ว มาปรุงรส โดยมีเครื่องปรุงดังนี้ น้ำปลา เกลือ น้ำตาล กระเทียม และข้าวเหนียว


ขั้นตอนที่ 4 คลุกเคล้าเครื่องปรุงต่างๆให้เข้ากับเนื้อปลาให้ทั่ว แล้วนำมาปันเป็นก้อนกลมๆ




ขั้นตอนที่ 5 ห่มเนื้อปลาที่ปรุงรสเสร็จแล้วมาห่อ การห่อจะใช้ใบตองกล้วยในการห่อ

ขั้นตอนที่ 6 ส้มปลาที่ห่อเสร็จแล้ว

การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)

ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำส้มปลา นี้ได้รับการถ่ายทอดจากแต่อดีตของคนในชุมชน ซึ่งได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับลูกหลาน จึงทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริมและการดำรงชีวิตที่พอเพียง ที่สำคัญได้ส่งเสริมภูมิปัญญาของหมู่บ้านตนเองไว้สืบทอดให้ลูกหลานของเราต่อไป



การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)

การถ่ายทอดการทำส้มปลาเป็นการถ่ายทอดให้กับประชาชนในหมู่บ้านหรือเพื่อนบ้านต่างๆที่สนใจในการทำส้มปลาถือว่าเป็นการให้ความรู้กับผู้ที่สนใจ จะอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ลูกหลานของเราดูหรือสืบทอดต่อไป



พิกัด (สถานที่) บ้านหนองกุงเซิน หมู่ที่ 1 ตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น




ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560
ชื่อผู้ศึกษา นายวานิช หมื่นไธสง
หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4
รายวิชา ความเป็นครู (800 5201)
เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
คณะ ศึกษาศาสตร์
สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สถานที่ทำงาน โรงเรียนหนองกุงเซินหนองโนพัฒนา
อาจารย์ผู้สอน
1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)
2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ
3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา
4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์
5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว
6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
https://youtu.be/KHN_0pqcksM
จำแนกตามระดับชั้น :   มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
จำนวนไฟล์จำแนกตามประเภท
จำนวนข้อมูลจำแนกตามระดับชั้น
จำนวนข้อมูลจำแนกตามประเภทบุคคล