การทอผ้าไหม

ข้อมูลผลงาน

  1,749      3,613
 
Creative Commons License
การทอผ้าไหม is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  การทอผ้าไหม
คำอธิบาย :  ภูมิปัญญาท้องถิ่น : ทอผ้าไหม\\nหมู่บ้านหนองแวงยาว ตำบลดอนดู่ อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น\\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \\nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางแก้ว มาลา \\nที่อยู่ 27 หมู่ 1 บ้านหนองแวงยาว ตำบลดอนดู่ อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น \\nอาชีพ ทำนา และ ทอผ้าไหม อายุการศึกษาภูมิปัญญา 24 ปี \\n\\nชื่อภูมิปัญญา ทอผ้าไหม\\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \\n นางแก้ว มาลา อยู่บ้านเลขที่ 27 หมู่ 1 บ้านหนองแวงยาว ตำบลดอนดู่ อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่า หมู่บ้านหนองแวงยาวนั้นมีอายุประมาณ 110 ปีมาแล้ว โดยในอดีต ผู้ตั้งรกรากนั้นย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดมหาสารคาม และได้เลือกทำเลที่ติดหนองน้ำในตำบลดอนดู่ อำเภอหนองสองห้อง ซึ่งในสมัยก่อนนั้นมีต้นกก หรือชาวอีสานเรียกว่า “ต้นแวง” ซึ่งมีจำนวนมาก และลำต้นนั้นมีขนาดสูงชะลูด จึงเป็นสาเหตุที่หมู่บ้านนี้ชื่อว่า “หนองแวงยาว”\\n ในส่วนของภูมิปัญญานั้น นางแก้วได้เล่าว่า การทอผ้านั้นมีมาตั้งแต่จำความได้ โดยตกทอดผ่านปู่ย่า ตายาย มาถึงบิดามารดาของตน และตนก็ได้รับสืบทอดภูมิปัญญาทอผ้าไหมมาจากบิดาและมารดานั่นเอง \\n โดยปกติแล้ว การทอผ้าไหมนั้นจะทำเป็นช่วงๆ โดยส่วนมากแล้วจะทอในขณะที่ว่างจากการทำนา เช่น ช่วงที่รอข้าวออกรวง นางแก้วและกลุ่มทอผ้าของตน ก็จะรวมตัวกันเลี้ยงหม่อนไหมเพื่อจะได้นำใยธรรมชาติมาทอผ้าไหม นอกจากนั้น ทางกลุ่มก็ได้รับไหมบางส่วนมาจากโครงการหลวงจิตรลดา ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องของพระบาทสมเด็จพระบรมราชินีนาถที่สนับสนุนให้กลุ่มทอผ้า ได้ผลิตทอผ้าไหม เพื่อส่งเข้าโครงการหลวง และทำการจำหน่ายส่งออก หรือจำหน่ายภายในประเทศ\\n ในส่วนของระยะเวลาในการทอผ้าไหมนั้นไม่แน่นอน แต่นางแก้วเล่าว่า ไหมน้ำหนัก 1 กิโลกรัมนั้น จะสามารถนำมาทอผ้าได้เป็นขนาดประมาณ 12 เมตร โดยจะใช้เวลาในการทอประมาณ 1-2 เดือน ซึ่งในส่วนของการจำหน่าย จะจำหน่ายเป็นเมตร เมตรละ 500-600 บาท\\n นางแก้วได้เสริมอีกว่า หากจะทอผ้าไหมเพื่อนำไปขายแก่โครงการหลวงนั้น ทางกลุ่มจำเป็นต้องย้อมสีผ้าด้วยวิธีธรรมชาติ เช่น การใช้สีจากใบมะม่วง หรือ เปลือกไม้ต่างๆ หากย้อมด้วยสีเคมี ทางโครงการหลวงจะไม่รับพิจารณาซื้อขาย ดังนั้น นางแก้วจึงต้องแยกชนิดผ้า หากต้องการส่งขายที่โครงการหลวง กับทอส่งขายร้านค้าปลีกทั่วไป\\n\\n\\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\\n การทอผ้าไหมในหมู่บ้านหนองแวงยาวนั้นมีมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย ซึ่งไม่สามารถหาหลักฐานได้ว่าใครเป็นผู้เริ่มต้นการทอผ้าดังกล่าว หากมีก็แต่เพียงความภูมิใจที่เจ้าของภูมิปัญญาได้ทำการอนุรักษ์การทอผ้ามาจากบรรพบุรุษ รวมถึงการผลิตชิ้นผ้าที่สวยงามให้ผู้คนได้สวมใส่ นับเป็นความภาคภูมิใจของผู้ผลิตชิ้นงานเป็นอย่างมาก\\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\\nอุปกรณ์ในการทอผ้า\\n – หูก\\n – ฟืม ( เครื่องมือใช้ในการทอ )\\n – กง ( ใช้ในการกวักด้าย )\\n – หลักตีนกง ( ไม้ที่ใช้ยึดทั้งสองข้างในการกวักด้าย )\\n – หลา\\n – กระสวย\\n – กี\\n – เขายาว ( ไม้เก็บลายขิด\\n – หลอดใส่ด้าย\\n \\n\\n\\n\\n1. นางแก้วและกลุ่มได้ทำการเลี้ยงหม่อนไหม เพื่อนำใยไหมมารวมกันเป็นเส้นด้าย โดยจะต้องนำเส้นมาคัดเส้นไหมที่มีขนาดเส้นสม่ำเสมอ\\n2. นำเส้นด้ายมาย้อมเย็นในน้ำที่ผสมวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบมะม่วง ครั่ง หรือ โคลน เพื่อที่จะได้สีธรรมชาติและติดทนนาน\\n \\n3. นำเส้นด้ายที่ย้อมเสร็จแล้วมาวัดความยาว โดยผู้ทอจะกำหนดความความยาวจากอุปกรณ์ในภาพ\\n4. คัดเลือกเส้นได้แล้วมาร้อยเข้ากับฟืม\\n5. การกรอเส้นพุ่งเข้าหลอด นำเส้นไหมที่ย้อมสีต่างๆแล้วมาเข้ากง แล้วทำการกรอเส้นไหมเข้าหลอด เพื่อเตรียมเป็นเส้นพุ่งเพื่อใช้ในการเกาะลาย และใส่กระสวยในการทอขัด\\n6. เลือกลาย และคัดเลือกสีด้ายมาเข้ากระสวย เพื่อจะได้ทอลายตามที่กำหนด \\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\\n ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทอผ้าไหมนี้ได้รับการถ่ายทอดจากบิดา และมารดาของนางแก้ว ซึ่งได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับลูกหลาน รวมถึงลายประยุกต์สมัยใหม่นั้น ได้รับการปรับปรุงและช่วยเหลือมาจากโครงการหลวงสวนจิตรลดาขององค์ราชินี\\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\\n การถ่ายทอดการทอผ้าไหม เป็นการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้างตามภูมิภาค และวัสดุอุปกรณ์ในการย้อมผ้า โดยในปัจจุบัน ผู้ซื้อมักต้องการผ้าไหมที่ผลิตมาจากวิธีการธรรมชาติ รวมถึงสีย้อม ต้องเป็นสีที่มาจากธรรมชาติ จึงจะนับว่าควรค่าแก่การเป็นเจ้าของ โดยการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อลูกหลานของเราในอนาคต\\n\\nพิกัด (สถานที่) บ้านหนองแวงยาว ตำบลดอนดู่ อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น\\n\\n \\n\\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\\nชื่อผู้ศึกษา นายอัครินทร์ คำงาม \\nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 \\nรายวิชา ความเป็นครู (800 5201) \\nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \\nคณะ ศึกษาศาสตร์ \\nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\\nสถานที่ทำงาน โรงเรียนเปือยน้อยศึกษา\\nอาจารย์ผู้สอน\\n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\\n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\\n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\\n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย\\n\\nhttps://youtu.be/i6NIRjnwLYw
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ครู / อาจารย์, นักเรียน / นักศึกษา, ทั่วไป, ผู้ปกครอง
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  แก้ว มาลา
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   อัครินทร์ คำงาม, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ผ้าไหม, การทอผ้า, การทอผ้าไหม, เส้นไหม, กี่, หูก, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
URL  :   https://youtu.be/i6NIRjnwLYw
จำแนกตามระดับชั้น :   ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน