แก้ว มาลา

ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  1,752       3,644

-  File 1
-  File 2
-  File 3
-  File 4
-  File 5
-  File 6
-  File 7
-  File 8
-  File 9
-  File 10
-  File 11
-  File 12
-  File 13
-  File 14
-  File 15
-  File 16
-  File 17
-  File 18
-  File 19
-  File 20
หัวเรื่อง :  การทอผ้าไหม
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ครู / อาจารย์, นักเรียน / นักศึกษา, ทั่วไป, ผู้ปกครอง
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  แก้ว มาลา
เจ้าของผลงานร่วม :   อัครินทร์ คำงาม, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ผ้าไหม, การทอผ้า, การทอผ้าไหม, เส้นไหม, กี่, หูก, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คำอธิบาย :  ภูมิปัญญาท้องถิ่น : ทอผ้าไหม\
หมู่บ้านหนองแวงยาว ตำบลดอนดู่ อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น\
ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \
ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางแก้ว มาลา \
ที่อยู่ 27 หมู่ 1 บ้านหนองแวงยาว ตำบลดอนดู่ อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น \
อาชีพ ทำนา และ ทอผ้าไหม อายุการศึกษาภูมิปัญญา 24 ปี \
\
ชื่อภูมิปัญญา ทอผ้าไหม\
ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \
นางแก้ว มาลา อยู่บ้านเลขที่ 27 หมู่ 1 บ้านหนองแวงยาว ตำบลดอนดู่ อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่า หมู่บ้านหนองแวงยาวนั้นมีอายุประมาณ 110 ปีมาแล้ว โดยในอดีต ผู้ตั้งรกรากนั้นย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดมหาสารคาม และได้เลือกทำเลที่ติดหนองน้ำในตำบลดอนดู่ อำเภอหนองสองห้อง ซึ่งในสมัยก่อนนั้นมีต้นกก หรือชาวอีสานเรียกว่า “ต้นแวง” ซึ่งมีจำนวนมาก และลำต้นนั้นมีขนาดสูงชะลูด จึงเป็นสาเหตุที่หมู่บ้านนี้ชื่อว่า “หนองแวงยาว”\
ในส่วนของภูมิปัญญานั้น นางแก้วได้เล่าว่า การทอผ้านั้นมีมาตั้งแต่จำความได้ โดยตกทอดผ่านปู่ย่า ตายาย มาถึงบิดามารดาของตน และตนก็ได้รับสืบทอดภูมิปัญญาทอผ้าไหมมาจากบิดาและมารดานั่นเอง \
โดยปกติแล้ว การทอผ้าไหมนั้นจะทำเป็นช่วงๆ โดยส่วนมากแล้วจะทอในขณะที่ว่างจากการทำนา เช่น ช่วงที่รอข้าวออกรวง นางแก้วและกลุ่มทอผ้าของตน ก็จะรวมตัวกันเลี้ยงหม่อนไหมเพื่อจะได้นำใยธรรมชาติมาทอผ้าไหม นอกจากนั้น ทางกลุ่มก็ได้รับไหมบางส่วนมาจากโครงการหลวงจิตรลดา ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องของพระบาทสมเด็จพระบรมราชินีนาถที่สนับสนุนให้กลุ่มทอผ้า ได้ผลิตทอผ้าไหม เพื่อส่งเข้าโครงการหลวง และทำการจำหน่ายส่งออก หรือจำหน่ายภายในประเทศ\
ในส่วนของระยะเวลาในการทอผ้าไหมนั้นไม่แน่นอน แต่นางแก้วเล่าว่า ไหมน้ำหนัก 1 กิโลกรัมนั้น จะสามารถนำมาทอผ้าได้เป็นขนาดประมาณ 12 เมตร โดยจะใช้เวลาในการทอประมาณ 1-2 เดือน ซึ่งในส่วนของการจำหน่าย จะจำหน่ายเป็นเมตร เมตรละ 500-600 บาท\
นางแก้วได้เสริมอีกว่า หากจะทอผ้าไหมเพื่อนำไปขายแก่โครงการหลวงนั้น ทางกลุ่มจำเป็นต้องย้อมสีผ้าด้วยวิธีธรรมชาติ เช่น การใช้สีจากใบมะม่วง หรือ เปลือกไม้ต่างๆ หากย้อมด้วยสีเคมี ทางโครงการหลวงจะไม่รับพิจารณาซื้อขาย ดังนั้น นางแก้วจึงต้องแยกชนิดผ้า หากต้องการส่งขายที่โครงการหลวง กับทอส่งขายร้านค้าปลีกทั่วไป\
\
\
กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\
การทอผ้าไหมในหมู่บ้านหนองแวงยาวนั้นมีมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย ซึ่งไม่สามารถหาหลักฐานได้ว่าใครเป็นผู้เริ่มต้นการทอผ้าดังกล่าว หากมีก็แต่เพียงความภูมิใจที่เจ้าของภูมิปัญญาได้ทำการอนุรักษ์การทอผ้ามาจากบรรพบุรุษ รวมถึงการผลิตชิ้นผ้าที่สวยงามให้ผู้คนได้สวมใส่ นับเป็นความภาคภูมิใจของผู้ผลิตชิ้นงานเป็นอย่างมาก\
การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\
อุปกรณ์ในการทอผ้า\
– หูก\
– ฟืม ( เครื่องมือใช้ในการทอ )\
– กง ( ใช้ในการกวักด้าย )\
– หลักตีนกง ( ไม้ที่ใช้ยึดทั้งสองข้างในการกวักด้าย )\
– หลา\
– กระสวย\
– กี\
– เขายาว ( ไม้เก็บลายขิด\
– หลอดใส่ด้าย\
\
\
\
\
1. นางแก้วและกลุ่มได้ทำการเลี้ยงหม่อนไหม เพื่อนำใยไหมมารวมกันเป็นเส้นด้าย โดยจะต้องนำเส้นมาคัดเส้นไหมที่มีขนาดเส้นสม่ำเสมอ\
2. นำเส้นด้ายมาย้อมเย็นในน้ำที่ผสมวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบมะม่วง ครั่ง หรือ โคลน เพื่อที่จะได้สีธรรมชาติและติดทนนาน\
\
3. นำเส้นด้ายที่ย้อมเสร็จแล้วมาวัดความยาว โดยผู้ทอจะกำหนดความความยาวจากอุปกรณ์ในภาพ\
4. คัดเลือกเส้นได้แล้วมาร้อยเข้ากับฟืม\
5. การกรอเส้นพุ่งเข้าหลอด นำเส้นไหมที่ย้อมสีต่างๆแล้วมาเข้ากง แล้วทำการกรอเส้นไหมเข้าหลอด เพื่อเตรียมเป็นเส้นพุ่งเพื่อใช้ในการเกาะลาย และใส่กระสวยในการทอขัด\
6. เลือกลาย และคัดเลือกสีด้ายมาเข้ากระสวย เพื่อจะได้ทอลายตามที่กำหนด \
การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\
ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทอผ้าไหมนี้ได้รับการถ่ายทอดจากบิดา และมารดาของนางแก้ว ซึ่งได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับลูกหลาน รวมถึงลายประยุกต์สมัยใหม่นั้น ได้รับการปรับปรุงและช่วยเหลือมาจากโครงการหลวงสวนจิตรลดาขององค์ราชินี\
การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\
การถ่ายทอดการทอผ้าไหม เป็นการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้างตามภูมิภาค และวัสดุอุปกรณ์ในการย้อมผ้า โดยในปัจจุบัน ผู้ซื้อมักต้องการผ้าไหมที่ผลิตมาจากวิธีการธรรมชาติ รวมถึงสีย้อม ต้องเป็นสีที่มาจากธรรมชาติ จึงจะนับว่าควรค่าแก่การเป็นเจ้าของ โดยการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อลูกหลานของเราในอนาคต\
\
พิกัด (สถานที่) บ้านหนองแวงยาว ตำบลดอนดู่ อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น\
\
\
\
ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\
ชื่อผู้ศึกษา นายอัครินทร์ คำงาม \
หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 \
รายวิชา ความเป็นครู (800 5201) \
เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \
คณะ ศึกษาศาสตร์ \
สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\
สถานที่ทำงาน โรงเรียนเปือยน้อยศึกษา\
อาจารย์ผู้สอน\
1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\
2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\
3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\
4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\
5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\
6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย\
\
https://youtu.be/i6NIRjnwLYw
จำแนกตามระดับชั้น :   ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
การทอผ้าไหม 1,752
การทอผ้าไหม 364

ผลงาน 5 อันดับล่าสุด
การทอผ้าไหม 13 พฤษภาคม 2561
การทอผ้าไหม 13 พฤษภาคม 2561
จำนวนไฟล์จำแนกตามประเภท
จำนวนข้อมูลจำแนกตามระดับชั้น
จำนวนข้อมูลจำแนกตามประเภทบุคคล
ผลงานทั้งหมด
# ชื่อเรื่อง ผู้เข้าชม #
1 การทอผ้าไหม 364
2 การทอผ้าไหม 1,752