การจักสานงานไม้ไผ่

ข้อมูลผลงาน

  1,241      3,066
 
Creative Commons License
การจักสานงานไม้ไผ่ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  การจักสานงานไม้ไผ่
คำอธิบาย :  ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา คุณตาเคน หาบุญมา อายุ ๘๐ ปี \nที่อยู่ ๒ ม.๑๐ บ.คอกคี ต.บัวใหญ่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น \nอาชีพ เกษตรกร อายุการศึกษาภูมิปัญญา ๔๐ ปี \n\nชื่อภูมิปัญญา การจักสานงานไม้ไผ่\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \nการจักสานจากไม้ไผ่มีทำกันมาตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย โดยอาศัยไม้ไผ่ที่ขึ้นอยู่ทั่วไปในป่าเมืองไทยซึ่งมีอยู่ประมาณ ๑๐๐ ชนิด แต่ที่นิยมนำมาจักสานกัน ได้แก่ ไม้ไผ่ใหญ่ ที่คนนิยมนำมาปลูกไว้รอบ ๆ หมู่บ้าน เพื่อใช้หน่อเป็นอาหารและใช้ลำต้นมาดัดแปลงทำเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็นภายในครอบครัวเช่น ตะกร้า ชะลอม กระด้ง ตะแกรง กระเชอ ลอบ ไซ กระติบข้าว หวด หรือมวยนึ่งข้าว เป็นต้น เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่กล่าวมา ข้างต้นในสมัยก่อนนิยมทำใช้กันเองภายในครอบครัว ตามความจำเป็นของแต่ละท้องถิ่นและ การจักสานแต่ละอย่างมีกรรมวิธีที่แตกต่างกัน ยากบ้างง่ายบ้าง ดังนั้นแต่ละคนจึงมีความถนัดใน การทำไม่เหมือนกัน จึงได้เกิดมีการผลิตเพื่อแลกเปลี่ยนกันขึ้น พอมาช่วงหลัง ๆ ไม้ไผ่หายากขึ้น และคนมีงานอื่นทำที่มีรายได้ดีกว่าก็หันไปทำงานอย่างอื่นแทนจึงยังคงเหลืออยู่เพียงบางคนหรือบางกลุ่มเท่านั้นที่มีความถนัดทางจักสานเป็นพิเศษหันมายึดอาชีพทางการจักสานเป็นอาชีพหลัก บางคนก็ยึดเป็นอาชีพพรองจากการทำไร่ ทำนา โดยอาศัยทำในเวลาว่าง ตอนเย็นหรือกลางคืนที่กลับ จากไร่นาแล้ว เพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัวอีกทางหนึ่ง การจักสานจากไม้ไผ่นั้นสามารถ นำมาดัดแปลงทำเครื่องใช้ได้หลายอย่าง ดังที่กล่าวมาแล้ว สาเหตุสำคัญที่นิยมนำเอาไม้ไผ่มา จักสานก็เพราะว่าไม้ไผ่หาง่าย ไม้แปรรูปได้ง่ายมีความเหนียวสามารถจักเหลา แต่ง ได้หลายขนาด ง่ายแก่การตัด แต่ง ง่ายต่อการนำมาประกอบกันเป็นรูปทรงตามที่ต้องการ (ชนัฐดา ศรีเชียงสา , ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐:สัมภาษณ์)\n\n\n\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\n \n คุณตาเคน หาบุญมา อายุ ๘๐ ปี อาชีพ เกษตรกร บ้านเลขที่ ๒ ม.๑๐ บ.คอกคี ต.บัวใหญ่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ได้เริ่มเรียนรู้การจักสารจากไม้ไผ่จาก ในพื้นที่และครอบครัวที่มีภูมิการจักสานไม้ไผ่มาใช้ประโยชน์ในครอบครัว ซึ่งเมื่อประมาณ ๔๐ ปีก่อน คุณตาเคน ได้นำความรู้ที่มีอยู่มาพัฒนาต่อยอด โดยเริ่มหัดทำอุปกรณ์ที่ทำจากไม้ไผ่ ที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ จนทำให้ได้รับประสบการณ์จากการทำมาเป็นเวลานาน ต่อมาชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้เคียงได้สั่งซื้อ ตะกร้า กระด้ง ลอบ ไซ กระติบข้าว หวด หรือมวยนึ่งข้าว พัด จึงได้ยึดการจักสารมาเป็นอาชีพเสริม ในเวลาว่างหลังการทำไร่ ทำนา \nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\nอุปกรณ์ในการทำกระติบข้าว\n ไม้ไผ่อายุประมาณ ๑-๓ ปี\n ไม้หวาย \n มีด\n ด้ายไนล่อน\n เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่ \n กรรไกร\n ก้านตาล\nขั้นตอนวิธีการสานกระติบข้าว\n๑. นำปล้องไม้ไผ่ที่เตรียมไว้มาตัดข้อหัวข้อท้าย ออก ผ่าให้เป็นซีกทำเส้นตอกกว้างประมาณ ๒-๓ มิลลิเมตร ขูดให้บางเรียบเท่าๆกัน\n\n\n \n \n\n\n\n\n๒. จากนั้นนำเส้นตอกที่ได้มาสานเป็นรูปร่างกระติบข้าว หนึ่งลูกมีตัวกระติบข้าว และฝามาประกอบกัน\n \n ๓. นำฝากระติบข้าวที่ได้ มาพับครึ่งให้เท่า ๆ กันทั้งฝา และตัวของกระติบข้าว\n \n \n\n๔. ในขั้นตอนการทำฝาปิดนั้น จะจักเส้นตอกให้มีความกว้าง ๑ นิ้ว สานเป็นลายขัด\n\n\n\n\n\n\n\n\n ๕. นำฝาปิด ตัวกระติบข้าวมาตัดเป็นวงกลม ใส่เข้ากับส่วนตัว และฝาของกระติบข้าว\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n ๖. ใช้ด้ายไนล่อน และนำเข็มเย็บเข้าด้วยกัน รอบฝาปิด และส่วนของตัวกระติบข้าว\n\n\n ๗. นำก้านตาลที่ม้วนไว้มาเย็บติดกับส่วนที่เป็นตัวของกระติบข้าว\n \n ๘. จากนำกระติบข้าวที่ได้ไปรมควันจากฟางข้าว เพื่อกันมดแมลงเจาะ และ ทนทาน ทำให้ไม่เกิดราดำ\n\n \n\n ๙. เจาะรูที่ฐานของกระติบข้าว ๒ รู ให้ตรงข้ามกัน แล้วทำหูที่ฝาด้านบน ตรงกับรูที่เจาะไว้\n\n ๑๐.ใช้ด้ายไนล่อนสอดเข้าเป็นสายไว้สะพายไปมาได้สะดวก จะได้กระติบข้าวที่สำเร็จเรียบร้อย สามารถนำมาใช้และจำหน่ายได้\n\n \n\n\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ \nใช้การจดจำและการเล่าสู่กันฟังเป็นการสืบทอดความรู้ไปสู่คนรุ่นหลัง\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์\nให้ประชาชน คนรุ่นหลัง หรือองค์กรเข้ามาศึกษาเรียนรู้ได้\nพิกัด (สถานที่)\nบ้านเลขที่ ๒ ม.๑๐ บ.คอกคี ต.บัวใหญ่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น \n\n\n\n\n\n\n\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา ๒๕๖๐\n\nชื่อผู้ศึกษา นางสาวชนัฐดา ศรีเชียงสา \n\nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น ๔ \nรายวิชา ความเป็นครู (๘๐๐ ๕๒๐๑) \nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \nคณะ ศึกษาศาสตร์ \nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ \nสถานที่ทำงาน วิทยาลัยเคนโนโลยีพุทธเกษม\nอาจารย์ผู้สอน\n๑ รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\n๒ อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\n๓ อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\n๔ อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\n๕ อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\n๖ อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย\n\nhttps://youtu.be/bDUpPCGA7JI
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  เคน หาบุญมา
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   ชนัฐดา ศรีเชียงสา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   การจักสานงานไม้ไผ่, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
URL  :   https://youtu.be/bDUpPCGA7JI
จำแนกตามระดับชั้น :   ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
 

  ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง