ชนัฐดา ศรีเชียงสา

ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  1,241       3,066

-  File 1
-  File 2
-  File 3
-  File 4
-  File 5
-  File 6
-  File 7
-  File 8
-  File 9
-  File 10
-  File 11
หัวเรื่อง :  การจักสานงานไม้ไผ่
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  เคน หาบุญมา
เจ้าของผลงานร่วม :   ชนัฐดา ศรีเชียงสา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   การจักสานงานไม้ไผ่, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คำอธิบาย :  ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา
ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา คุณตาเคน หาบุญมา อายุ ๘๐ ปี
ที่อยู่ ๒ ม.๑๐ บ.คอกคี ต.บัวใหญ่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น
อาชีพ เกษตรกร อายุการศึกษาภูมิปัญญา ๔๐ ปี

ชื่อภูมิปัญญา การจักสานงานไม้ไผ่
ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา
การจักสานจากไม้ไผ่มีทำกันมาตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย โดยอาศัยไม้ไผ่ที่ขึ้นอยู่ทั่วไปในป่าเมืองไทยซึ่งมีอยู่ประมาณ ๑๐๐ ชนิด แต่ที่นิยมนำมาจักสานกัน ได้แก่ ไม้ไผ่ใหญ่ ที่คนนิยมนำมาปลูกไว้รอบ ๆ หมู่บ้าน เพื่อใช้หน่อเป็นอาหารและใช้ลำต้นมาดัดแปลงทำเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็นภายในครอบครัวเช่น ตะกร้า ชะลอม กระด้ง ตะแกรง กระเชอ ลอบ ไซ กระติบข้าว หวด หรือมวยนึ่งข้าว เป็นต้น เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่กล่าวมา ข้างต้นในสมัยก่อนนิยมทำใช้กันเองภายในครอบครัว ตามความจำเป็นของแต่ละท้องถิ่นและ การจักสานแต่ละอย่างมีกรรมวิธีที่แตกต่างกัน ยากบ้างง่ายบ้าง ดังนั้นแต่ละคนจึงมีความถนัดใน การทำไม่เหมือนกัน จึงได้เกิดมีการผลิตเพื่อแลกเปลี่ยนกันขึ้น พอมาช่วงหลัง ๆ ไม้ไผ่หายากขึ้น และคนมีงานอื่นทำที่มีรายได้ดีกว่าก็หันไปทำงานอย่างอื่นแทนจึงยังคงเหลืออยู่เพียงบางคนหรือบางกลุ่มเท่านั้นที่มีความถนัดทางจักสานเป็นพิเศษหันมายึดอาชีพทางการจักสานเป็นอาชีพหลัก บางคนก็ยึดเป็นอาชีพพรองจากการทำไร่ ทำนา โดยอาศัยทำในเวลาว่าง ตอนเย็นหรือกลางคืนที่กลับ จากไร่นาแล้ว เพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัวอีกทางหนึ่ง การจักสานจากไม้ไผ่นั้นสามารถ นำมาดัดแปลงทำเครื่องใช้ได้หลายอย่าง ดังที่กล่าวมาแล้ว สาเหตุสำคัญที่นิยมนำเอาไม้ไผ่มา จักสานก็เพราะว่าไม้ไผ่หาง่าย ไม้แปรรูปได้ง่ายมีความเหนียวสามารถจักเหลา แต่ง ได้หลายขนาด ง่ายแก่การตัด แต่ง ง่ายต่อการนำมาประกอบกันเป็นรูปทรงตามที่ต้องการ (ชนัฐดา ศรีเชียงสา , ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐:สัมภาษณ์)



กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)

คุณตาเคน หาบุญมา อายุ ๘๐ ปี อาชีพ เกษตรกร บ้านเลขที่ ๒ ม.๑๐ บ.คอกคี ต.บัวใหญ่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ได้เริ่มเรียนรู้การจักสารจากไม้ไผ่จาก ในพื้นที่และครอบครัวที่มีภูมิการจักสานไม้ไผ่มาใช้ประโยชน์ในครอบครัว ซึ่งเมื่อประมาณ ๔๐ ปีก่อน คุณตาเคน ได้นำความรู้ที่มีอยู่มาพัฒนาต่อยอด โดยเริ่มหัดทำอุปกรณ์ที่ทำจากไม้ไผ่ ที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ จนทำให้ได้รับประสบการณ์จากการทำมาเป็นเวลานาน ต่อมาชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้เคียงได้สั่งซื้อ ตะกร้า กระด้ง ลอบ ไซ กระติบข้าว หวด หรือมวยนึ่งข้าว พัด จึงได้ยึดการจักสารมาเป็นอาชีพเสริม ในเวลาว่างหลังการทำไร่ ทำนา
การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)
อุปกรณ์ในการทำกระติบข้าว
ไม้ไผ่อายุประมาณ ๑-๓ ปี
ไม้หวาย
มีด
ด้ายไนล่อน
เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่
กรรไกร
ก้านตาล
ขั้นตอนวิธีการสานกระติบข้าว
๑. นำปล้องไม้ไผ่ที่เตรียมไว้มาตัดข้อหัวข้อท้าย ออก ผ่าให้เป็นซีกทำเส้นตอกกว้างประมาณ ๒-๓ มิลลิเมตร ขูดให้บางเรียบเท่าๆกัน








๒. จากนั้นนำเส้นตอกที่ได้มาสานเป็นรูปร่างกระติบข้าว หนึ่งลูกมีตัวกระติบข้าว และฝามาประกอบกัน

๓. นำฝากระติบข้าวที่ได้ มาพับครึ่งให้เท่า ๆ กันทั้งฝา และตัวของกระติบข้าว



๔. ในขั้นตอนการทำฝาปิดนั้น จะจักเส้นตอกให้มีความกว้าง ๑ นิ้ว สานเป็นลายขัด








๕. นำฝาปิด ตัวกระติบข้าวมาตัดเป็นวงกลม ใส่เข้ากับส่วนตัว และฝาของกระติบข้าว












๖. ใช้ด้ายไนล่อน และนำเข็มเย็บเข้าด้วยกัน รอบฝาปิด และส่วนของตัวกระติบข้าว


๗. นำก้านตาลที่ม้วนไว้มาเย็บติดกับส่วนที่เป็นตัวของกระติบข้าว

๘. จากนำกระติบข้าวที่ได้ไปรมควันจากฟางข้าว เพื่อกันมดแมลงเจาะ และ ทนทาน ทำให้ไม่เกิดราดำ



๙. เจาะรูที่ฐานของกระติบข้าว ๒ รู ให้ตรงข้ามกัน แล้วทำหูที่ฝาด้านบน ตรงกับรูที่เจาะไว้

๑๐.ใช้ด้ายไนล่อนสอดเข้าเป็นสายไว้สะพายไปมาได้สะดวก จะได้กระติบข้าวที่สำเร็จเรียบร้อย สามารถนำมาใช้และจำหน่ายได้




การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้
ใช้การจดจำและการเล่าสู่กันฟังเป็นการสืบทอดความรู้ไปสู่คนรุ่นหลัง
การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์
ให้ประชาชน คนรุ่นหลัง หรือองค์กรเข้ามาศึกษาเรียนรู้ได้
พิกัด (สถานที่)
บ้านเลขที่ ๒ ม.๑๐ บ.คอกคี ต.บัวใหญ่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น







ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา ๒๕๖๐

ชื่อผู้ศึกษา นางสาวชนัฐดา ศรีเชียงสา

หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น ๔
รายวิชา ความเป็นครู (๘๐๐ ๕๒๐๑)
เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
คณะ ศึกษาศาสตร์
สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สถานที่ทำงาน วิทยาลัยเคนโนโลยีพุทธเกษม
อาจารย์ผู้สอน
๑ รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)
๒ อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ
๓ อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา
๔ อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์
๕ อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว
๖ อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย

https://youtu.be/bDUpPCGA7JI
จำแนกตามระดับชั้น :   ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
การจักสานงานไม้ไผ่ 1,241

ผลงาน 5 อันดับล่าสุด
การจักสานงานไม้ไผ่ 19 มีนาคม 2561
จำนวนไฟล์จำแนกตามประเภท
จำนวนข้อมูลจำแนกตามระดับชั้น
จำนวนข้อมูลจำแนกตามประเภทบุคคล
ผลงานทั้งหมด
# ชื่อเรื่อง ผู้เข้าชม #
1 การจักสานงานไม้ไผ่ 1,241