การทำเหรียญโปรยทาน
ข้อมูลผลงาน
1,425 3,140
การทำเหรียญโปรยทาน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง : การทำเหรียญโปรยทาน |
คำอธิบาย : ภูมิปัญญาท้องถิ่น เหรียญโปรยทาน \n\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา นางสาวปวีณา ทะสังขา\nที่อยู่ บ้านเลขที่ 96 ซอย 5 ถนน พฤศจิกา ต.ในเมือง \nอ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000\nอาชีพ นักศึกษา อายุการศึกษาภูมิปัญญา 5 ปี\nชื่อภูมิปัญญา เหรียญโปรยทาน \nข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น\nประวัติเหรียญโปรยทาน\n มาทำความรู้จักคำว่า “การโปรยทาน” กันก่อน ในอดีตเชื่อกันว่าพระพุทธเจ้าทรงสละราชย์สมบัติแล้วออกผนวช โดยไม่ปรารถนาที่จะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงสละเงินทองทรัพย์สมบัติมากมายให้แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ดังนั้น การโปรยทาน หมายถึง การสละเงินทองทรัพย์สมบัติเป็นทานแก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน โดยถือคติตามที่พระพุทธเจ้าทรงสละราชย์สมบัติออกผนวช การโปรยทานก่อนเข้าโบสถ์เป็นการแสดงว่าต่อจากนี้ไปนาคได้สละสมบัติทุกอย่างแล้ว เพื่อดำเนินชีวิตตามแบบอย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจากนั้น การโปรยทานยังเป็นการสอนคนให้รู้จักเสียสละโดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น การโปรยทานนั้นจะมีก็ได้ไม่มีก็ได้ ไม่ใช่ข้อกำหนดตายตัว เนื่องจากไม่ใช่พิธีที่เกี่ยวเนื่องกับการบวช ถึงไม่มีการโปรยทานก็บวชสำเร็จเป็นพระได้เช่นกัน\n(http://xn--e3cugbgp3acfd7f6cwa9a4mnb.blogspot.com/2015/06/blog-post.html)\nประวัติการทำเหรียญโปรยทาน\n การทำเหรียญโปรยทานนั้น เป็นการทำมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็ยังมีการนำเหรียญโปรยทานมาใช้ในพิธีการต่างๆ หรือเป็นของที่ระลึกสำหรับแจกคนในงาน เช่น งานบวช งานแต่ง และงานศพ เป็นต้น ซึ่งพิธีบวชนาคแต่ก่อนนาคก่อนจะบวชเป็นพระต้องมีการโปรยทานก่อนเข้าโบสถ์ ดังฉะนี้เองจึงมีเหรียญโปรยทานขึ้นมาในรูปแบบการห่อเหรียญด้วยกระดาษสีต่างๆ เพื่อให้เห็นชัดเจน วัสดุที่ใช้ เช่น กระดาษแก้ว ริบบิ้น เป็นต้น ซึ่งแต่ก่อนจะโปรยด้วยเหรียญธรรมดาไม่มีการห่อ เวลาโปรยแล้วผู้รอเก็บจะหาไม่เจอ และเก็บเข้ากระเป๋าสตางค์ทำให้รวมไปกับเหรียญอื่นๆ ได้ จึงต้องมีการห่อเหรียญขึ้นมาครับ\nผู้ต่อยอดภูมิปัญญาการทำเหรียญโปรยทาน \n คุณอิ๋ว (นางสาวปวีณา ทะสังขา) นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น คณะคุรุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ชั้นปีที่ 5 เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้การทำเหรียญโปรยทานมาจาก คุณยาย ( บุตรษฎี แหล้ป้อง ) มา 5 ปีแล้ว ซึ่งน้องอิ๋วกล่าวว่า คุณยายได้ทำเหรียญโปรยทานมาตั้งแต่รุ่นคุณทวด ซึ่งเมื่อก่อน สมัยหลายสิบปีมาแล้ว อุปกรณ์มีแค่กระดาษสีและเหรียญเท่านั้นไม่ได้มีความสวยงามและประณีตเหมือนกับเหรียญโปรยทานปัจจุบัน เนื่องด้วยเพราะอุปกรณ์ในยุคนั้นไม่ทันสมัยและไม่หลากหลาย จึงมีแค่เหรียญโปรยทานแค่แบบเดียวเท่านั้น แต่สมัยนี้มีอุปกรณ์หลากหลายให้เลือกมากมาย จึงทำให้เหรียญโปรยทานมีหลายรูปแบบและหลากสีสันเข้ากับยุคสมัย ซึ่งคุณยายก็เป็นบุคคลหนึ่งซึ่งมีฝีมือในการทำเหรียญโปรยทาน \n(ปวีณา ทะสังขา, ๒๒ กันยายน ๒๕๖๐ : สัมภาษณ์)\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\nภาพ แผนที่ บ้านคุณปวีณา ทะสังขา ผู้สืบทอดการทำเหรียญโปรยทาน\n สิ่งที่คุณอิ๋ว (นางสาวปวีณา ทะสังขา) มีความภาคภูมิใจที่สุดคือ ได้สืบสานการทำเหรียญโปรยทาน ที่ถือว่าเป็นของบรรพบุรุษตกทอด และเป็นงานฝีมือที่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถทำได้ ซึ่งปัจจุบันการทำเหรียญโปรยทานก็ทำกันมาก แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้ยึดเป็นอาชีพ เพียงแค่ทำเพราะอยากทำหรือเพื่อฝึกหัดเป็นงานฝีมือเท่านั้น แต่คุณอิ๋วสามารถนำเหรียญโปรยทานมาทำเป็นอาชีพ ได้เงินส่งเสียตัวเองเรียนจนใกล้จบมหาวิทยาลัยแล้ว \n(ปวีณา ทะสังขา, ๒๒ กันยายน ๒๕๖๐ : สัมภาษณ์)\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\nวัสดุอุปกรณ์ในการทำเหรียญโปรยทาน\n๑.เหรียญ มูลค่าต่างๆ\n๒.กรรไกร\n๓.คัตเตอร์\n๔.ยางรัดของ\n๕.ริบบิ้นเนื้อมัน เนื้อทราย สีต่างๆ\n๖.กระดาษสารูปแบบสำเร็จ\n\nขั้นตอนการทำเหรียญโปรยทาน แบบดอกกุหลาบ 4 ชั้น\n๑.ตัดริบบิ้นมาละ ๔ เส้นแล้วมาพับกลางทั้ง ๔ เส้น ขึ้นฐานแบบพับทั่วไปจะออกมาตามรูปที่ ๑\n๒.ใส่เหรียญแล้วพับริบบิ้นกลับมาทับเหรียญ ๒ เส้นคู่ ตามรูปที่ ๒-๓\n๓.ขึ้นกลีบชั้นแรกโดยการพับริบบิ้นไปด้านหลังตามรูปที่ ๔ แล้วบิดริบบิ้นนกลับมาสอดตรงกลาง ๑ ครั้ง ตามรูปที่ ๕\n๔.ทำจนครบ ๔ ด้านแล้วจะได้ตามรูปที่ ๖\n๕.ทำกลีบชั้นล่างสุดโดยพับริบบิ้นไปด้านหลังตามรูปที่ ๗ แล้วบิดกลีบกลับไปด้านหลังแล้วสอดซ้อนไปใต้กลีบชั้นที่ ๑ ตามรูปที่ ๘ และ ๙\n๖.ทำให้ครบทั้ง ๔ ด้านจะได้ตามรูปที่ ๑๐\n๗.จับริบบิ้นรวบทั้ง ๘ เส้นแล้วบิดม้วนตามเข็มนาฬิกา ตามรูปที่ ๑๑-๑๒\n๘.บิดเส้นล่างสุดไปด้านหลังแล้วสอดตามรูปที่ ๑๓ ไป ๒ เส้นทำเหมือนกันทั้ง ๔ ด้าน\n๙.เสร็จแล้วจะออกมาด้านหน้าตามรูป ๑๔ และด้านหลังตามรูปที่ ๑๕\n๑๐.ตัดชายริบบิ้นที่เกินออกตามรูปที่ ๑๖ จะได้รูปสำเร็จตามรูปที่ ๑๗-๑๘\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\nสรุป\n จริง ๆ แล้วยังมีการพับเหรียญโปรยทานรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมาย เพราะคุณอิ๋ว ไม่อยากทำให้เหรียญโปรยทานเป็นแค่เหรียญโปรยทานธรรมดา แถมการพับเหรียญโปรยทานยังสามารถทำไปประยุกต์ใช้ได้หลายงานอีกด้วย ทั้งจัดช่อดอกไม้ จัดแจกัน ของชำร่วย ของที่ระลึกงานแต่งงาน\n\n\n\n\n\n\n\n\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา ๒๕๖๐\nชื่อผู้ศึกษา นางสาวกรรณิการ์ รัตนพลแสน\nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น ๔\nรายวิชา ความเป็นครู\nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น\nคณะ ศึกษาศาสตร์\nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น\nสถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์นาอุดม อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู ๓๙๑๘๐ |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : ทั่วไป |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : ปวีณา ทะสังขา |
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม : กรรณิการ์ รัตนพลแสน |
คำสำคัญ : การทำเหรียญโปรยทาน, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
URL : - |
จำแนกตามระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) |
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ : การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ |
จำแนกตามลักษณะของสื่อ : ข้อมูลปฐมภูมิ , คลิปการเรียนรู้, รูปภาพ, ใบงาน |
ไฟล์ดิจิทัล
- ดาวน์โหลด 1 | (135.95 KB) | |
- ดาวน์โหลด 2 | (173.51 KB) | |
- ดาวน์โหลด 3 | (168.83 KB) | |
- ดาวน์โหลด 4 | (208.30 KB) | |
- ดาวน์โหลด 5 | (144.79 KB) | |
- ดาวน์โหลด 6 | (120.36 KB) | |
- ดาวน์โหลด 7 | (119.61 KB) | |
- ดาวน์โหลด 8 | (188.31 KB) | |
- ดาวน์โหลด 9 | (1.12 MB) |
ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง
-
กลอนลำทำนองขอนแก่นจำนวนผู้เข้าชม (14,987)
-
การทำพานบายศรีสู่ขวัญจำนวนผู้เข้าชม (10,177)
-
การสานตะกร้าไม้ไผ่จำนวนผู้เข้าชม (9,426)