การทำเบ็ดตกปลา

ข้อมูลผลงาน

  2,034      2,862
 
Creative Commons License
การทำเบ็ดตกปลา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  การทำเบ็ดตกปลา
คำอธิบาย :  ชื่อหัวข้อภูมิปัญญา\nการทำเบ็ดตกปลา\nสถานที่ บ้านผักหวาน ตำบลบ้านลาน อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา คุณพ่อสวาท สุดสงคราม \nที่อยู่ บ้านเลขที่ 168 หมู่ที่ 2 บ้านผักหวาน ตำบลบ้านลาน อำเภอบ้านไผ่จังหวัดขอนแก่น \nอาชีพ ทำนา อายุการศึกษาภูมิปัญญา .....32..........ปี \n\nชื่อภูมิปัญญา การทำเบ็ดตกปลา\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \n ปลา เป็นอาหารของคนทุกหย่อมญาติ เป็นอาหารที่มีประโยชน์สำหรับร่างกายของมนุษย์ แต่เนื่องจากปลาอาศัยอยู่ในน้ำ ซึ่งไม่สามารถจับมาประกอบอาหารได้โดยง่าย จงเป็นที่มาของการค้นหาวิธีการหาปลาที่หลากหลายวิธีการ ซึ่งวิธีการหนึ่งคือ การทำเบ็ดตกปลา\n การทำเบ็ดตกปลา เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนอีสานที่สืบทอดกันมาตั้งแต่เนิ่นนาน จากรุ่นสู่รุ่นเพื่อหาปลามาประกอบอาหารและสำหรับคุณพ่อสวาท สุดสงคราม ก็เป็นหนึ่งในผู้สืบทอดภูมิปัญญานั้นจากคุณพ่อไห สุดสงคราม ซึ่งได้รักษาภูมิปัญญาไว้เพื่อเป็นการอนุรักษ์และการหาปลาเพื่อประกอบอาหาร ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้อีกทางหนึ่ง โดยในเวลาว่างหลังจากการทำไร่ ทำนา ก็จะทำเบ็ดเพื่อจะไปใส่ตามลำห้วยหรือท้องนา\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ ( ภายใน/ภายนอก)\n คุณพ่อสวาท สุดสงคราม เนื่องจากในสมัยก่อนที่ยังหนุ่มๆ เป็นบุคคลที่มีความอยากรู้ อยากเห็น ชอบสังเกต ภูมิปัญญาต่างๆที่ผู้เฒ่า ผู้แก่ทำเช่นการสานตะกร้า การสานแห การสานเปล เมื่อท่านสังเกตดูวิธีการทำแล้วท่านเล่าว่า ท่านจะนำวิธีการต่างๆเหล่านั้นมาฝึกทำก่อน เมื่อทำไม่ได้แล้วก็ไปดูและฝึกกับผู้เฒ่า ผู้แก่เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งวิธีการทำงานเหล่านั้น\n และการทำเบ็ดก็เช่นเดียวกัน ก่อนการทำเบ็ดของท่านเกิดจากการสังเกตผู้ที่เคยทำมาก่อนศึกษาวิธีการทำอย่างจริงจัง แล้วค่อยนำวิธีการทำเบ็ดมาฝึกปฏิบัติท่ามกลางความดูแลของคุณพ่อไห สุดสงคราม ผู้คอยฝึกและให้คำชี้แนะวิธีการทำเบ็ดที่ถูกวิธี และฝึกไปเรื่อยๆ จนเกิดความชำนาญและพัฒนาการทำคันเบ็ดมาเรื่อยๆ ซึ่งถ้าทำไม่ถูกวิธีการปลาก็จะไม่มากินเหยื่อที่เราใช้ล่อได้เช่นกัน\n\n\n\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\nวัสดุอุปกรณ์ในการทำเบ็ดตกปลา\n1. ด้ายในร่อนขาว รัง\n2. ไม้ไผ่\n3. ดวงเบ็ด\n4. มีด\n5. ไฟแช็ก\nภาพประกอบวัสดุอุปกรณ์การสานแห\n \n\nด้านในร่อน \n \n\nไม้ไผ่\n \n\nดวงเบ็ด\n \n\nมีด\n \n\nไฟแช็ก\n\nขั้นตอนการทำเบ็ดตกปลา\n\nขั้นตอนที่ 1 : การผ่าไม้ไผ่\n ผ่าไม้ไผ่ออกเป็นซีกๆ แต่ละซีกกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 70 เซนติเมตรหรือตามความเหมาะสม \n \nขั้นที่ 2. การเหลาไม้ไผ่\n เมื่อผ่าไม้ไผ่เป็นซีกๆแล้วก็นำไม้ไผ่ไปเหลา เพื่อทำคันเบ็ด สำหรับการเหลาจะเหลาเฉพาะทางฝั่งเนื้อไม้เท่านั้น จะไม่เหลาบริเวณผิวไม้เพื่อป้องกันการหักของคันเบ็ด จะเหลาให้ไม้ไผ่เรียบหรือจนกว่าจะได้คันเบ็ดที่ต้องการ \nขั้นที่ 3.การยักเคาเบ็ด (ภาษาอีสาน)\n หลังจากที่เหลาไม้ไผ่เสร็จแล้ว ใช้เชือกไนร่อนผูกติดกับคันเบ็ดบริเวณตรงกลางระหว่างปล้องไม้ไผ่ทั้งสองข้อ หรือตามความเหมาะสม ในกรณีของคุณพ่อสวาท จะใช้ผูกบริเวณข้อไม้ไผ่เพื่อป้องกันการรูดของด้ายไนร่อน \n\nขั้นที่ 4 การมัดดวงเบ็ด\n ใช้มือจับบริเวณตรงดวงเบ็ด แล้วใช้เชือกหมุนรอบเบ็ดประมาณ 3 – 5 ครั้ง แล้วก็ดึงรอดห่วงเบ็ดก็จะได้สายเบ็ด \nขั้นที่ 5 การมัดสายเบ็ด\n หลังจากมัดสายเบ็ดแล้วก็นำเบ็ดไปคล้องใส่เคาเบ็ดแล้วนำปลายเชือกไปผูกติดตรงปลายคันเบ็ดเพื่อยึดเบ็ดติดกับคันเบ็ด \n\n\n\n\nลักษณะเบ็ดที่สมบูรณ์พร้อมใช้งาน\n\n\n \n\n \n\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\n หลังจากที่คุณพ่อสวาท สุดสงคราม เก็บกู้เบ็ดที่ใส่ไว้ในลำห้วยหรือตามท้องไร่ปลายนาแล้วก็จะไปทำความสะอาดและเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีพร้อมทั้งตรวจสอบและซ่อมแซมเบ็ดที่ชำรุดอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งกระบวนการจดจำภูมิปัญญาเหล่านี้ได้ซึมซับผ่านประสบการณ์ที่ยาวนานทำให้จำวิธีการ ขั้นตอนต่างๆได้เป็นอย่างดี\n\n\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\n การถ่ายทอดภูมิปัญญาการทำคันเบ็ดตกปลา คุณพ่อจะถ่ายทอดภูมิปัญญาการทำคันคันเบ็ดตกปลาให้กับทุกคนโดยไม่หวงวิชา ใครอยากได้ก็สามารถมาเรียนรู้ได้เลย ซึ่งก็มีหลายคนที่มาร่ำเรียนการทำเบ็ดตกปลากับท่าน ทำให้ภูมิปัญญาเหล่านี้ยังคงอยู่สืบต่อไปได้อีกหลายช่วงอายุคนเลยทีเดียว และจะเป็นประโยชน์ในการจับปลาได้อีกวิธีการหนึ่ง \n\n\nพิกัด (สถานที่)\n\n \n \n บ้านคุณพ่อสวาท สุดสงคราม ทางเข้าบ้านคุณพ่อสวาท สุดสงคราม\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\nชื่อผู้ศึกษา นายวีระยุทธ สุดสงคราม \nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 \nรายวิชา ความเป็นครู (800 5201) \nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \nคณะ ศึกษาศาสตร์ \nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\nสถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านผักหวานโนนสวาง\nอาจารย์ผู้สอน\n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย\n\nhttps://youtu.be/z3r6cKC4KwM
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  สวาท สุดสงคราม
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   วีระยุทธ สุดสงคราม, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, สวาท สุดสงคราม, การทำเบ็ดตกปลา, การทำเบ็ด, ภูมิปัญญาชาวบ้าน, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
URL  :   -
จำแนกตามระดับชั้น :   มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
 

  ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง