หัวเรื่อง : การทำปลาส้ม |
คำอธิบาย : ภูมิปัญญาการทำส้มปลา\n บ.หนองกรุงเซิน ต.หนองกรุงเซิน อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา\n\nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา คุณแม่นี หาบุญมา อายุ ๔๕ ปี \nที่อยู่ ๒ ม.๑๐ บ.หนองกรุงเซิน ต.หนองกรุงเซิน อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น \nอาชีพ เกษตรกร อายุการศึกษาภูมิปัญญา ๑๐ ปี \n\nชื่อภูมิปัญญา การทำปลาส้ม\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \nในสังคมไทยปัจจุบัน มีกระแสของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมหลั่งไหลเข้ามาคุกคามจนยากที่จะหลีกพ้น ชาวบ้านต้องอาศัยเวลาว่างหลังจากการทำไร่ ทำนา ซึ่งเป็นอาชีพหลัก หันมาประกอบอาชีพเสริมรายได้เล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในสังคมที่กระแสเศรษฐกิจที่บีบรัด อาชีพเสริมรายได้ของชาวบ้านมีหลากหลาย อาทิ จักสาน ถักทอ เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ บางครั้งก็รับจ้างนายทุนประดิษฐ์ดอกไม้แห้งบ้าง ทอผ้าส่งนายทุนได้เงินเป็นค่าแรงมาใช้จ่ายในครอบครัว นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านบางท้องที่ของจังหวัดต่างๆ ที่รวมกลุ่มขึ้นประกอบ อาชีพเสริม บางกลุ่มสามารถดำเนินการได้ผลดีจนกลายเป็นกลุ่มเศรษฐกิจขึ้นมา อาทิ กลุ่มชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนติดแถบเขื่อน ซึ่งมีปลาชุกชุมมาก ชาวบ้านได้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการถนอมอาหารประเภทปลาขึ้นมาหลายอย่างด้วย กัน อาทิ ปลาร้า ปลาส้ม ปลาจ่อม ปลาย่าง ปลาเค็ม ฯลฯ ซึ่งกระบวนการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อดำเนินธุรกิจดังกล่าว ก็เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจในครัวเรือนให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ มิได้มุ่งหวังทำเป็นระบบธุรกิจขนาดใหญ่แต่อย่างใด\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\n \n ปลาส้มจัดเป็นผลิตภัณฑ์ปลาหมักชนิดหนึ่ง ที่ผลิตมากในภาคอีสาน คนทั่วไปอาจจะรวมเรียกผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการบดเนื้อปลากับ ส่วนผสมอื่นๆแล้วทำการห่อด้วยใบตองหรือบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิทจนเกิดรสชาติ เปรี้ยว คนอีสานเรียกว่า \" สัมฟัก \" หรือ \" ส้มปลา \" ว่า ปลาส้ม จะได้จากการหมักปลาสดที่ตัดแต่งแล้วกับส่วนผสมต่างๆ เช่น ข้าวเหนียว กระเทียม และเกลือ เป็นหลัก จนเกิดรสเปรี้ยวและที่สำคัญคือเนื้อปลาสดที่ใช้ในการผลิตจะไม่มีการถูกบดให้ ละเอียด ในบางท้องถิ่นอาจเรียกปลาส้มอีกชื่อหนึ่งว่า \" ปลาข้าวสุก \"\n\n\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\nวัตถุดิบ\n1. เนื้อปลาหรือตัวปลา 10-20 กิโลกรัม\n2. กระเทียมสับ 1 กิโลกรัม\n3. ข้าวเหนียวนึ่ง 1 กิโลกรัม\n4. น้ำซาวข้าว 0.5 ลิตร (อาจไม่ใช้ก็ได้)\n5. เกลือ 300 กรัม (ประมาณ 1 กำมือ)\n6. น้ำตาล 5-10 ช้อน\n7. ผงชูรส 2-3 ช้อน\nขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ\n1. ขอดเกล็ด และควักไส้ ก่อนล้างทำความสะอาด 1-2 น้ำ\n– ปลาส้มตัว หลังจากขอดเกล็ด ควักไส้ และล้างทำความสะอาด อาจตัดหัวออกหรือไม่ต้องตัดหัวก็ได้\n– ปลาส้มแผ่น ให้แล่เอาเนื้อปลาออกจากกระดูกเป็นแผ่นๆ จากนั้นเลาะเอาก้างขนาดใหญ่ออก หรือไม่ต้องเลาะเอาก้างขนาดใหญ่ออกก็ได้\n– ปลาส้มชิ้น/ปลาส้มสับ ให้นำแผ่นปลาที่เลาะออกจากก้างมาสับเป็นชิ้นๆขนาดใหญ่ แต่ขนาดเล็กกว่าปลาส้มแผ่น ซึ่งอาจเลาะเอาก้างขนาดใหญ่ออกหรือไม่เอาออกก็ได้\n– ปลาส้มฟัก/ปลาส้มบด หมายถึง หลังแล่เนื้อปลา ให้เลาะเอาก้างขนาดใหญ่ออก ก่อนสับหรือบดเนื้อปลาให้ละเอียดหรือเป็นชิ้นเล็กๆ\n– ปลาส้มเส้น หมายถึง หลังแล่เนื้อปลาออกเป็นแผ่น ให้เลาะเอาก้างขนาดใหญ่ออก ก่อนสับเป็นชิ้นเรียวยาวหรือเฉือนเป็นเส้นๆ\n2. นำกระเทียมมาปอกเปลือก ตำโขลกหรือบดให้เป็นชิ้นเล็กๆ\n3. นำข้าวเหนียวมานึ่งให้สุก\n\n\n\n\n\n \n \n\n\n\n\nขั้นตอนการผสมวัตถุดิบ\n1. นำเนื้อปลาหรือตัวปลามาคลุกผสมกับวัตถุดิบที่เตรียมไว้ในชามขนาดใหญ่ ได้แก่ กระเทียม ข้าวเหนียวนึ่งหรือน้ำซาวข้าว เกลือ และน้ำตาล โดยการคลุกพร้อมกับขยำด้วยมือ นาน 10-20 นาที\n2. นำปลาที่คลุกกับส่วนผสมแล้วใส่กระปุก ก่อนปิดฝาให้สนิท หรือ บรรจุใส่ถุงพลาสติก\n3. สำหรับปลาส้มสับ นิยมปั้นเป็นก้อน ก่อนนำมาห่อด้วยใบตอง หรือ ใส่ถุงพลาสติก ก่อนใช้ท่อนไม้กลมรีดให้เป็นแผ่น แล้วรัดด้วยหนังยาง\n4. นำภาชนะหมักปลาส้มตั้งทิ้งไว้ในร่ม นาน 3-4 วัน ก็พร้อมรับประทาน ทั้งนี้ หากเป็นฤดูร้อนจะเป็นปลาส้มได้เร็ว ประมาณ 2-3 วัน แต่หากเป็นฤดูหนาวอาจนานถึง 5-7 วัน\n\n\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ \nใช้การจดจำและการเล่าสู่กันฟังเป็นการสืบทอดความรู้ไปสู่คนรุ่นหลัง\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์\nให้ประชาชน คนรุ่นหลัง หรือองค์กรเข้ามาศึกษาเรียนรู้ได้\nพิกัด (สถานที่)\n๒ ม.๑๐ บ.หนองกรุงเซิน ต.หนองกรุงเซิน อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น\n\n\n\n\n\n\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา ๒๕๖๐\nชื่อผู้ศึกษา นางสาวณิชานันท์ แสนตา \n\nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น ๔ \nรายวิชา ความเป็นครู (๘๐๐ ๕๒๐๑) \nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \nคณะ ศึกษาศาสตร์ \nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ \nสถานที่ทำงาน โรงเรียนคอนสารวิทยาคม\n\nอาจารย์ผู้สอน\n๑ รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\n๒ อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\n๓ อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\n๔ อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\n๕ อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\n๖ อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย\n\n\nhttps://youtu.be/pfnZeFzQt-k |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :
ทั่วไป |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : นี หาบุญมา
|
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :
ณิชานันท์ แสนตา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
คำสำคัญ :
มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, นี หาบุญมา, การทำปลาส้ม, การถนอมอาหาร, อาหารที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคพยาธิ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
URL
:
- |
จำแนกตามระดับชั้น :
มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย |
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :
การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, สุขศึกษาและพลศึกษา |
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :
VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน |