การสานไม้ตีแมลงวัน

ข้อมูลผลงาน

  5,254      5,893
 
Creative Commons License
การสานไม้ตีแมลงวัน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  การสานไม้ตีแมลงวัน
คำอธิบาย :  การสานไม้ตีแมลงวัน\nบ.โนนชาติ ต.โนนหัน อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \n\n\n\n\nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นายเคน สงค์เวียง อายุ ๗๗ ปี \nที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๑๕ หมู่ ๔ บ้านโนนชาติ ตำบลโนนหัน อำเภอชุมแพ \nจังหวัดขอนแก่น \nอาชีพ เกษตรกรรม อายุการศึกษาภูมิปัญญา ๔๐ ปี \n\nชื่อภูมิปัญญา การสานไม้ตีแมลงวัน\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \nประวัติหมู่บ้านโนนชาติ (บริบทพื้นที่ของหมู่บ้าน)\n บ้านโนนชาติเป็น หมู่บ้านหนึ่งในตำบลโนนหัน ซึ่งมีทั้งหมด ๑๐ หมู่บ้าน บ้านโนนชาตินั้นอยู่หมู่ที่ ๔ เมื่อก่อนนั้นตำบลโนนหันนั้นเป็นตำบลขึ้นตรงต่ออำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๙ ตำบลชุมแพ ได้ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอชุมแพ ตำบลโนนหัน จึงเป็นตำบลหนึ่งของ อำเภอชุมแพ เป็นต้นมา \n บ้านโนนชาติตั้งอยู่ห่างจาก อำเภอชุมแพ ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ห่างจาก จังหวัดขอนแก่นประมาณ ๙๖ กิโลเมตร สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำนา ทำไร่ ทอผ้า และจักสาน\nประวัติการกำเนิดและผู้ต่อยอดภูมิปัญญาการสานไม้ตีแมลงวัน\n การสานไม้ตีแมลงวัน คุณตาเคน สงค์เวียงเล่าว่า ในช่วงเดือนที่มีแมลงวันออกมาเยอะ คนรุ่นก่อนก็จะสานไม้ตีแมลงวันไว้ใช้กันเอง จึงสังเกตดูการทำจากบรรพบุรุษและทดลองหัดทำด้วยตนเอง จากการหัดทำด้วยตนเองก็พบว่าวิธีการทำนั้นง่ายไม่ซับซ้อน จึงได้จักสานมาเรื่อยจนถึงปัจจุบัน\n(วิชญาพร กุลยสวัสดิ์, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐: สัมภาษณ์)\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ \n เรียนรู้การทำด้วยการสังเกตจากบรรพบุรุษ และนำมาดัดแปลง ทดลองหัดทำใช้วิธีการของตนเองจนได้วิธีการทำที่ง่ายและไม่ซับซ้อน\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\nวัสดุอุปกรณ์ในการสานไม้ตีแมลงวัน\n ๑.ไม้ไผ่บ้านเหลาเป็นชิ้นอ่อนๆ \n ๒. ด้ายสำหรับสาน\nแหล่งวัสดุที่ใช้ทำ\n ไม้ไผ่หาได้จากในหมู่บ้านโนนชาติ\n\n ขั้นตอนการสานไม้ตีแมลงวัน\n ๑. เหลาไม้ไผ่ที่เตรียมไว้เป็นชิ้นอ่อนๆสำหรับสาน และสำหรับเป็นด้ามไม้ตี ขนาดเหมาะสม\n ๒. นำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้สำหรับเป็นด้ามจับ ผ่าด้านบนออกเป็นสี่แฉก\n ๓. นำเชือกสำหรับสานมามัดส่วนต้นของบริเวณที่จะสานไม้ไผ่ที่ติดกับด้ามจับ\n ๔. นำไม้ไผ่ที่เหล่าเป็นชิ้นอ่อนๆมาสานขึ้นลงสลับไปมาระหว่างสี่แฉกที่ผ่าไว้จนสุด\n ๔. นำเชือกสำหรับสานมามัดส่วนปลายบริเวณที่สานไม้ไผ่สิ้นสุด\n เป็นอันเสร็จ\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ \n ใช้การสังเกตวิธีการทำจากบรรพบุรุษ และทดลองหัดทำด้วยตนเอง สืบทอดความรู้ ภูมิปัญญาสู่ คนรุ่นหลัง\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ \n การทำไม้ตีแมลงวัน ของตาเคน สงค์เวียงนั้น เป็นภูมิปัญญาที่ได้รับความรู้สืบทอดจากบรรพบุรุษของคุณตาในหมู่บ้าน ซึ่งในช่วงเดือนที่มีแมลงวันออกมาจำนวนมาก ไม้ตีแมลงวันจะมีประโยชน์อย่างมากในช่วงนั้น การทำไม้ตีแมลงวันนั้น หากใครสนใจในการทำคุณตาก็จะสอนให้โดยไม่ได้คิดค่าใช้จ่าย หรือใครต้องการนำไปใช้คุณตาก็จะสานให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเช่นกัน\nพิกัด (สถานที่)\n\n\n\n\n\n\n\n\nภาพ แผนที่หมู่บ้าน บ้านโนนชาติ\n\n\n\n\n\nภาพ ทางเข้าหมูบ้าน\n\n\n\nภาพ บ้านคุณตาเคน สงค์เวียง\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา ๒๕๖๐\nชื่อผู้ศึกษา นางวิชญาพร กุลยสวัสดิ์ รหัสนักศึกษา ๖๐๘๐๑๑๐๑๑๖ \n\nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น ๔ \nรายวิชา ความเป็นครู (๘๐๐๕๒๐๑) \nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \nคณะ ศึกษาศาสตร์ \nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\nสถานที่ทำงาน ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเลย\nอาจารย์ผู้สอน\n๑ รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\n๒ อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\n๓ อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\n๔ อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\n๕ อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\n๖ อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  เคน สงค์เวียง
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   วิชญาพร กุลยสวัสดิ์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   การสานไม้ตีแมลงวัน, ไม้ตีแมลงวัน, ภูมิปัญญาชาวบ้าน, ภูมิปัญญาไทย, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
URL  :   -
จำแนกตามระดับชั้น :   ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
 

  ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง