ดอกไม้จันทน์ (ดอกอีแปะ)

ข้อมูลผลงาน

  443      1,124
 
Creative Commons License
ดอกไม้จันทน์ (ดอกอีแปะ) is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  ดอกไม้จันทน์ (ดอกอีแปะ)
คำอธิบาย :  ดอกไม้จันทน์ (ดอกอีแปะ)\nตำบลธาตุ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \n\nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา 1.นางนัด วงษ์ลาอายุ 84 ปี\nที่อยู่ 63 ม.2 ต.ธาตุ อ.เชียงคาน จ.เลย\n2.นางชุย แดงทองอายุ 76 ปี\nที่อยู่ 75/2 ม.2 ต.ธาตุ อ.เชียงคาน จ.เลย\n3.นางบัวลาน วงศ์ลา อายุ 95 ปี\nที่อยู่ 77/1 ม.2 ต.ธาตุ อ.เชียงคาน จ.เลย \nอาชีพ ผู้สูงอายุ (เกษตรกร) อายุการศึกษาภูมิปัญญาประมาณ 15 ปี \n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\nชื่อภูมิปัญญา ดอกไม้จันทน์ (ดอกอีแปะ)\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา\nเมื่อประมาณ พ.ศ. 2545 มีคุณครูท่านหนึ่ง (เจ้าของภูมิปัญญาจำไม่ได้) ซึ่งเป็นบุคคลในหมู่บ้านเดียวกัน นำอุปกรณ์และวิธีการทำดอกไม้จันทร์(ดอกอีแปะ) นี้มาเผยแผ่ให้คนในหมู่บ้าน เพื่อที่จะสร้างรายได้ให้แก่คนในหมู่บ้านที่มีเวลาว่าง ให้มีรายได้เพิ่มจากการทำไร่ ทำนา ทำเกษตรต่างๆ โดยบอกคนในหมู่บ้านว่าจะมีพ่อค้ามารับซื้อ(พ่อค้าคนกลาง) นำไปขายต่อ เมื่อชาวบ้านเห็นว่าเวลาว่างจากฤดูที่ไม่ได้ทำไร่ ทำนา ก็น่าจะทำดอกไม้จันทร์เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว ดีกว่าอยู่เฉยๆ บางท่านก็อายุมากแล้วไปทำนาไม่ไหวก็อาศัยทำเป็นอาชีพสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวได้ เพราะการทำดอกไม้จันทน์ไม่ได้ออกแรงมาก เหมาะกับผู้สูงอายุ เลยเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการทำดอกไม้จันทน์นี้ขึ้น\n\nเพิ่มเติม : รายได้จากการทำดอกไม้จันทน์ อยู่ที่ประมาณ 1,600-1,800บาท/เดือน\nใช้เวลาทำประมาณ 6-8 ชม./วัน มีพ่อค้ามารับซื้อ 2 ครั้ง/เดือน รับซื้อในราคาประมาณ 80-90 บาท\n\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\nกลุ่มผู้ทำดอกไม้จันทน์ได้รับความรู้จากวิทยากร(ครู) ซึ่งเป็นบุคคลภายในหมู่บ้านเดียวกันและคนในหมู่บ้านได้ทำการถ่ายทอดความรู้พร้อมทั้งสาธิตวิธีการทำดอกไม้จันทน์ จนคนในหมู่บ้านสามารถทำดอกไม้จันทน์สืบต่อกันไปเรื่อยๆเนื่องจากมีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยากและไม่ต้องการความละเอียดมาก\n\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\nขั้นตอนและวิธีสร้างภูมิปัญญา\n1.เตรียมอุปกรณ์ ดังนี้\n 1.1 กาบไม้มูกสำหรับติดดอก : นำมาตัด ขนาดประมาณ กว้าง 1 ซม. ยาว 2 ซม.\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n \n\n\n\n\n\n1.2 หนวดไม้มูก : สำหรับติดก้าน\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n 1.3 กระดาษสีขาว (สามารถนำกระดาษที่ใช้แล้ว 1 ด้านมาใช้ได้)แบ่งเป็น 2 แบบ\n 1.ตัดเป็นเส้นยาว ขนาดประมาณ กว้าง 3 ซม. ยาว 12 ซม. ใช้สำหรับพันก้าน\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n 2.แบบ 8 เหลี่ยม (สำหรับติดดอก)\n\n\n \n \n\n\n\n\n\n\n \n\n 1.4 ไม้สำหรับทำก้าน ใช้ไม้ไผ่ ขนาดประมาณ ยาว 10 ซม กว้าง 0.5 ซม.หนา 1 มิลลิเมตร\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n 1.5 กาว (ทำจากแป้งมัน)\n \n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n 1.6 ธูป (ตัดเป็นท่อนเล็กๆ) ขนาดประมาณ 0.5 ซม.\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n 1.7 การะดาษสีดำชนิดอ่อน ตัดเป็นเส้นยาว ความกว้างประมาณ 0.3 ซม.\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n2. ติดดอกไม้ : นำกาบไม้มูกที่ตัดแล้ว มาติดบนกระดาษ 8 เหลี่ยม ที่เตรียมไว้ ติดกาบไม้มูก 5 ชิ้น\nต่อกระดาษ 1 แผ่นดังภาพ\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n3.พันก้าน : นำหนวดไม้มูกและกระดาษสีขาวที่ตัดเป็นเส้นยาวมาพันให้รอบไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ ดังภาพ\n\n\n\n \n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n4.เมื่อพันก้านเรียบร้อยแล้ว นำมาติดธูป โดยใช้กระดาษสีดำตัดเป็นเส้นที่เตรียมไว้ใช้สำหรับพันธูป\nให้ติดกับก้าน ดังภาพ \n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n5.ติดดอกใส่ก้าน ก็จะได้ดอกไม้จันทน์ (ดอกอีแปะ) 1 ดอก\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n6.นำดอกไม้จันทร์ที่ได้นำมาผึ่งลมหรือตากให้แห้งก่อนนำไปบรรจุถุง\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n7.นำมาบรรจุถุง : 1 บรรจุใส่ 50 ดอก\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n8.นำมามัดรวมกัน : 1 มัดมี 10 ถุง = 500 ดอก พ่อค้าคนกลางรับซื้อในราคา 80-90 บาท\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\nการจัดเก็บภูมิปัญญาการประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์นั้น เจ้าของภูมิปัญญากล่าวว่ามีการจดจำไว้เพียงอย่างเดียวคือ วิธีการจดจำ หากจะเรียนรู้หรือถ่ายทอดความรู้ จะอาศัยการสาธิตวิธีการทำให้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง\n\n\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\nการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาการประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์นั้น จะใช้วิธีการถ่ายทอดให้คนในหมู่บ้านเดียวกัน เรียนรู้ต่อกันเรื่อยๆเนื่องจากผู้รับซื้อดอกไม้จันทน์ต้องการปริมาณมาก จึงไม่เป็นที่กังวลว่าจะแย่งอาชีพหรือเป็นคู่แข่งในการผลิต และจำหน่ายต่อกัน \n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\nพิกัด (สถานที่)\n อยู่ที่ ต.ธาตุ อ.เชียงคาน จ.เลย 42110\n \n\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\n\nชื่อผู้ศึกษา นางสาวอาภัสนันท์ แสนใจวุฒิ รหัส 6080110129 SEC.5 \nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 \nรายวิชา ความเป็นครู (800 5201) \nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \nคณะ ศึกษาศาสตร์ \nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\nสถานที่ทำงาน โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 96 (ชุมชนบ้านธาตุ) \nต.ธาตุ อ.เชียงคาน จ.เลย \nอาจารย์ผู้สอน\n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง(ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  นัด วงษ์ลา
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   ชุย แดงทอง, บัวลาน วงศ์ลา, อาภัสนันท์ แสนใจวุฒิ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   ดอกไม้จันทน์ (ดอกอีแปะ), ดอกไม้จันทน์, ดอกอีแปะ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
URL  :   -
จำแนกตามระดับชั้น :   ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
 

  ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง