อาภัสนันท์ แสนใจวุฒิ

ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  950       981

-  File 1
-  File 2
-  File 3
-  File 4
-  File 5
-  File 6
หัวเรื่อง :  ดอกไม้จันทน์ (ดอกอีแปะ)
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  นัด วงษ์ลา
เจ้าของผลงานร่วม :   ชุย แดงทอง, บัวลาน วงศ์ลา, อาภัสนันท์ แสนใจวุฒิ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   ดอกไม้จันทน์ (ดอกอีแปะ), ดอกไม้จันทน์, ดอกอีแปะ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำอธิบาย :  ดอกไม้จันทน์ (ดอกอีแปะ)
ตำบลธาตุ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา

ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา 1.นางนัด วงษ์ลาอายุ 84 ปี
ที่อยู่ 63 ม.2 ต.ธาตุ อ.เชียงคาน จ.เลย
2.นางชุย แดงทองอายุ 76 ปี
ที่อยู่ 75/2 ม.2 ต.ธาตุ อ.เชียงคาน จ.เลย
3.นางบัวลาน วงศ์ลา อายุ 95 ปี
ที่อยู่ 77/1 ม.2 ต.ธาตุ อ.เชียงคาน จ.เลย
อาชีพ ผู้สูงอายุ (เกษตรกร) อายุการศึกษาภูมิปัญญาประมาณ 15 ปี













ชื่อภูมิปัญญา ดอกไม้จันทน์ (ดอกอีแปะ)
ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา
เมื่อประมาณ พ.ศ. 2545 มีคุณครูท่านหนึ่ง (เจ้าของภูมิปัญญาจำไม่ได้) ซึ่งเป็นบุคคลในหมู่บ้านเดียวกัน นำอุปกรณ์และวิธีการทำดอกไม้จันทร์(ดอกอีแปะ) นี้มาเผยแผ่ให้คนในหมู่บ้าน เพื่อที่จะสร้างรายได้ให้แก่คนในหมู่บ้านที่มีเวลาว่าง ให้มีรายได้เพิ่มจากการทำไร่ ทำนา ทำเกษตรต่างๆ โดยบอกคนในหมู่บ้านว่าจะมีพ่อค้ามารับซื้อ(พ่อค้าคนกลาง) นำไปขายต่อ เมื่อชาวบ้านเห็นว่าเวลาว่างจากฤดูที่ไม่ได้ทำไร่ ทำนา ก็น่าจะทำดอกไม้จันทร์เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว ดีกว่าอยู่เฉยๆ บางท่านก็อายุมากแล้วไปทำนาไม่ไหวก็อาศัยทำเป็นอาชีพสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวได้ เพราะการทำดอกไม้จันทน์ไม่ได้ออกแรงมาก เหมาะกับผู้สูงอายุ เลยเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการทำดอกไม้จันทน์นี้ขึ้น

เพิ่มเติม : รายได้จากการทำดอกไม้จันทน์ อยู่ที่ประมาณ 1,600-1,800บาท/เดือน
ใช้เวลาทำประมาณ 6-8 ชม./วัน มีพ่อค้ามารับซื้อ 2 ครั้ง/เดือน รับซื้อในราคาประมาณ 80-90 บาท

กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)
กลุ่มผู้ทำดอกไม้จันทน์ได้รับความรู้จากวิทยากร(ครู) ซึ่งเป็นบุคคลภายในหมู่บ้านเดียวกันและคนในหมู่บ้านได้ทำการถ่ายทอดความรู้พร้อมทั้งสาธิตวิธีการทำดอกไม้จันทน์ จนคนในหมู่บ้านสามารถทำดอกไม้จันทน์สืบต่อกันไปเรื่อยๆเนื่องจากมีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยากและไม่ต้องการความละเอียดมาก

การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)
ขั้นตอนและวิธีสร้างภูมิปัญญา
1.เตรียมอุปกรณ์ ดังนี้
1.1 กาบไม้มูกสำหรับติดดอก : นำมาตัด ขนาดประมาณ กว้าง 1 ซม. ยาว 2 ซม.




























1.2 หนวดไม้มูก : สำหรับติดก้าน












1.3 กระดาษสีขาว (สามารถนำกระดาษที่ใช้แล้ว 1 ด้านมาใช้ได้)แบ่งเป็น 2 แบบ
1.ตัดเป็นเส้นยาว ขนาดประมาณ กว้าง 3 ซม. ยาว 12 ซม. ใช้สำหรับพันก้าน























2.แบบ 8 เหลี่ยม (สำหรับติดดอก)












1.4 ไม้สำหรับทำก้าน ใช้ไม้ไผ่ ขนาดประมาณ ยาว 10 ซม กว้าง 0.5 ซม.หนา 1 มิลลิเมตร



































1.5 กาว (ทำจากแป้งมัน)












1.6 ธูป (ตัดเป็นท่อนเล็กๆ) ขนาดประมาณ 0.5 ซม.












1.7 การะดาษสีดำชนิดอ่อน ตัดเป็นเส้นยาว ความกว้างประมาณ 0.3 ซม.












2. ติดดอกไม้ : นำกาบไม้มูกที่ตัดแล้ว มาติดบนกระดาษ 8 เหลี่ยม ที่เตรียมไว้ ติดกาบไม้มูก 5 ชิ้น
ต่อกระดาษ 1 แผ่นดังภาพ























3.พันก้าน : นำหนวดไม้มูกและกระดาษสีขาวที่ตัดเป็นเส้นยาวมาพันให้รอบไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ ดังภาพ




































4.เมื่อพันก้านเรียบร้อยแล้ว นำมาติดธูป โดยใช้กระดาษสีดำตัดเป็นเส้นที่เตรียมไว้ใช้สำหรับพันธูป
ให้ติดกับก้าน ดังภาพ













5.ติดดอกใส่ก้าน ก็จะได้ดอกไม้จันทน์ (ดอกอีแปะ) 1 ดอก





















6.นำดอกไม้จันทร์ที่ได้นำมาผึ่งลมหรือตากให้แห้งก่อนนำไปบรรจุถุง













7.นำมาบรรจุถุง : 1 บรรจุใส่ 50 ดอก






















8.นำมามัดรวมกัน : 1 มัดมี 10 ถุง = 500 ดอก พ่อค้าคนกลางรับซื้อในราคา 80-90 บาท














การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)
การจัดเก็บภูมิปัญญาการประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์นั้น เจ้าของภูมิปัญญากล่าวว่ามีการจดจำไว้เพียงอย่างเดียวคือ วิธีการจดจำ หากจะเรียนรู้หรือถ่ายทอดความรู้ จะอาศัยการสาธิตวิธีการทำให้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง


การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)
การถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาการประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์นั้น จะใช้วิธีการถ่ายทอดให้คนในหมู่บ้านเดียวกัน เรียนรู้ต่อกันเรื่อยๆเนื่องจากผู้รับซื้อดอกไม้จันทน์ต้องการปริมาณมาก จึงไม่เป็นที่กังวลว่าจะแย่งอาชีพหรือเป็นคู่แข่งในการผลิต และจำหน่ายต่อกัน










พิกัด (สถานที่)
อยู่ที่ ต.ธาตุ อ.เชียงคาน จ.เลย 42110


ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560

ชื่อผู้ศึกษา นางสาวอาภัสนันท์ แสนใจวุฒิ รหัส 6080110129 SEC.5
หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4
รายวิชา ความเป็นครู (800 5201)
เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
คณะ ศึกษาศาสตร์
สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สถานที่ทำงาน โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 96 (ชุมชนบ้านธาตุ)
ต.ธาตุ อ.เชียงคาน จ.เลย
อาจารย์ผู้สอน
1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง(ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)
2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ
3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา
4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์
5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว
6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
จำแนกตามระดับชั้น :   มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
ดอกไม้จันทน์ (ดอกอีแปะ) 950
ดอกไม้จันทน์ (ดอกอีแปะ) 369
ดอกไม้จันทน์ (ดอกอีแปะ) 444

ผลงาน 5 อันดับล่าสุด
ดอกไม้จันทน์ (ดอกอีแปะ) 26 กุมภาพันธ์ 2561
ดอกไม้จันทน์ (ดอกอีแปะ) 26 กุมภาพันธ์ 2561
ดอกไม้จันทน์ (ดอกอีแปะ) 26 กุมภาพันธ์ 2561
จำนวนไฟล์จำแนกตามประเภท
จำนวนข้อมูลจำแนกตามระดับชั้น
จำนวนข้อมูลจำแนกตามประเภทบุคคล