หวดนึ่งข้าวเหนียว

ข้อมูลผลงาน

  3,101      12,978
 
Creative Commons License
หวดนึ่งข้าวเหนียว is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  หวดนึ่งข้าวเหนียว
คำอธิบาย :  ชื่อหัวข้อภูมิปัญญา\nสถานที่\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา นาย กิตติพันธุ์ มีไกรราช \n\nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นาย สุภาพ ตินานพ \nที่อยู่ บ้านเลขที่ 140 หมู่ 3 บ้านบุอันโนง ตำบลปราสาททะนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 32140 \nอาชีพ เกษตรกร อายุการศึกษาภูมิปัญญา 61 ปี \n\nชื่อภูมิปัญญา หวดนึ่งข้าวเหนียว \nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \nเจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น หวดนึ่งข้าวเหนียวคุณตา สุภาพ ตินานพ มีอาชีพทำนา ทำสวน ซึ่งคุณตาได้เรียนรู้การทำหวดนึ่งข้าวเหนียวนี้มาจากปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง ซึ่งคุณตาจะจำทำตอนที่ว่างจากการทำนาและทำสวน เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และทำเพื่อไว้ใช้ในครัวเรือน และนำไปจำหน่ายเพื่อหารายได้เสริมคและที่สำคัญคุณตาบอกว่า จะทำต่อไปเพราะเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อกันมาเป็นรุ่นๆ\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\nการทำ หวดนึ่งข้าวเหนียว คุณตามีการเรียนรู้การทำมาจาก จากปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง สืบทอดกันเป็นรุ่นสู่รุ่น เป็นความรู้ที่สอนกันในครอบครัว ผ่านการปฏิบัติและการลงมือทำ ไม่มีการจดบันทึก แต่เป็นการทำให้ดูและทำตามกันมาเรื่อยๆกลายมาเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ทุกคนต้องช่วยกันรักษาและอนุรักษ์ไว้ต่อไป\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\n\nขั้นตอนการทำหวดนึ่งข้าวเหนียว\n\n\n1.นำไม้ไผ่มาเลื่อยตัดปล้องออกให้ได้ขนาดยาวตามต้องการ ยาว 35 ซม.เป็นหวดขนาดใหญ่ ยาว 30ซมเป็นหวดขนาดเล็ก \n\n\n\n\n\n2.จากนั้นผ่าไม้ไผ่ออกเป็นซีก ๆ ขนาดประมาณ 2- 3 ซม. แล้วเหลาซีกไม้ไผ่เพื่อลบคมของซีกไม้ตรงกลางออก แล้วเหลาหัวท้ายของซีกไม้ให้เรียวลง นำซีกไม้ที่ได้มาจักตอกเป็นเส้นๆ \n\n\n\n\n\n\n\n3.แล้วนำเส้นตอกไปเข้าเครื่องรีดตอกเพื่อให้ตอกเรียบ เสร็จแล้ว นำตอกที่รีดเรียบแล้วมาสานให้ได้ความยาวประมาณ 50 ซม.(3 คืบ) \n\n\n\n\n4.นำมาสานเพื่อขึ้นรูปที่เรียกว่า การไป่ จนได้รูปร่างตามต้องการ \n\n\n\n\n5.จากนั้นนำหวดที่สานแล้ว จำนวน 2ชิ้น มาสวมประกบเป็นชิ้นเดียวกัน ใช้เชือกรัด (ทก) ให้แน่นเป็นเนื้อเดียวกัน นำไปเข้าขอบปาก และขอบก้น โดยใช้ไม้ไผ่ติดเปลือกมาเหลาให้อ่อนจนดัดโค้งได้มาทำขอบ ทั้งขอบใน และขอบนอก \n \n \n 6.จากนั้น ตัดแต่งหวดโดยใช้กรรไกรตัดให้เรียบเสมอกันใส่ไม้ไผ่สาน มารองก้นหวดก่อนใส่ขอบก้นด้านนอก เย็บปากและก้นหวดด้วยด้ายให้แน่นหนา \n\n\n\n7. เสร็จเรียบร้อยพร้อมนำไปใช้งาน\n\n\n\n\n\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\nการจัดเก็บความรู้ได้มาจากการจำและการลงมือทำเป็นการปฏิบัติจริงและสอนกันต่อกันมาเป็นรุ่นต่อรุ่น\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\nการนำความรู้และภูมิปัญญา การทำหวดนึ่งข้าวเหนียวนี้ คุณตาสุภาพ ยินดีมากที่คนรุ่นใหม่ปัจจุบันมีความสนใจและได้ไปศึกษาค้นคว้าภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ คุณตาอยากให้ลูกหลานรุ่นใหม่ได้รู้ที่มาและขั้นตอนการทำหวดนึ่งข้าวเหนียว วัสดุอุปกรณ์ และสามารถนำผลิตภัณฑ์มาประกอบอาหารได้จริง เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และยังเป็นการฝึกงานฝีมือ นอกจากเป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตประจำวันของชาวบ้านแล้วยังสามารถทำให้มีรายได้เพิ่มภายในครอบครัวอีกด้วย คุณตาอยากให้ลูกหลานช่วยเผ่ยแพร่และอนุรักษ์ภูมิปัญญานี้ต่อไปเพื่อให้ลูกให้หลานได้เห็นได้รู้จักและรู้ที่มาความเป็นมาของภูมิปัญญาไทย\nประโยชน์ที่ได้รับจากการสาน หวดนึ่งข้าวเหนียว\n ช่วยกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น\n ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์\n สามารถสร้างรายได้\nพิกัด (สถานที่)\nบ้านเลขที่ 140 หมู่ 3 บ้านบุอันโนง ตำบลปราสาททะนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 32140\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\nชื่อผู้ศึกษา นายกิตติพันธุ์ มีไกรราช \n\nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 \nรายวิชา ความเป็นครู (800 5201) \nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \nคณะ ศึกษาศาสตร์ \nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\nสถานที่ทำงาน โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย\nอาจารย์ผู้สอน\n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  สุภาพ ตินานพ
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   กิตติพันธุ์ มีไกรราช, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   ภูมิปัญญาท้องถิ่น, หวดนึ่งข้าว, หวดข้าว, หนวดนึ่งข้าวเหนียว, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, งานสานไม้ไผ่, จักสาน, จักสานทั่วไป
URL  :   -
จำแนกตามระดับชั้น :   ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, ศิลปะ, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
 

  ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง