ลอบดักปลา

ข้อมูลผลงาน

  3,599      5,700
 
Creative Commons License
ลอบดักปลา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  ลอบดักปลา
คำอธิบาย :  ภมิปัญญาท้องถิ่น ลอบดักปลา บ้านคุ้มสังข์\n ต. หังขวาง อ. โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา\n \nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นายสถิตย์ ศรีคุณโน อายุ ๖๕ ปี\n \nที่อยู่ ๒๕๑ ม. ๑๒ ต. หัวขวาง อ. โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม\n \nอาชีพ ทำนา อายุการศึกษาภูมิปัญญา ๕๒ ปี\n \n\nชื่อภูมิปัญญา ลอบดักปลา\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญาท้อง\n ลอบเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ สมัยรุ่นคุณปู่เมื่อเกือบ 100 ปีมาแล้ว ซึ่งผู้สืบทอดลอบชื่อว่าคุณปู่ นวล ได้สอนให้ลูกได้ทำอุปกรณ์การจับปลาที่ชื่อว่าลอบ เมื่อนำไปใช้ในการหาปลา ซึ่งในอดีตจะนำไม้ไผ่มาเป็นส่วนประกอบหลักและใช้เชือกจากปอกล้วยในการมัด หรือผูกไม้และทำกง ด้วยไม้เช่นกัน คือการนำวัสดุจากธรรมชาติมาประยุกต์ใช้เพื่อการดำรงชีวิต และเนื่องจากตัวเองและครอบครัวอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีแม่น้ำ ดังนั้นการทำอุปกรณ์ในการจับปลาจึงถือเป็นสิ่งที่นิยมทำกันมาก \n(สถิตย์ ศรีคุณโน, ๑๐ พฤศจิกายน , ๒๕๖๐:สัมภาษณ์)\n\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\n คุณพ่อสถิต ศรีคุณโน อายุ ๖๕ ปี อาชีพทำนา บ้านเลขที่ ๒๕๑ หมู่ ๑๒ บ้านคุ้มสังข์ ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ได้เริ่มหัดทำลอบกับพ่อตั้งแต่อายุ ๑๐ ขวบ อุปกรณ์จับปลาประกอบไปด้วยหลายอย่าง เช่น สวิง ลอบ แห แต่สิ่งที่คุณพ่อสถิตสนใจและถนัดมากที่สุดคือ ลอบจับปลาคุณพ่อทำทั้งจำหน่าย และทำเพื่อใช้ในการจับปลาส่วนตัว โดยไม่เคยซื้อของเหล่านี้จากที่ใดเลย\n สิ่งที่คุณพ่อสถิต มีความภูมิใจที่สุดคือ ได้สืบทอดการทำลอบจับปลาจากคุณพ่อ ที่เป็นบรรพบุรุษตกทอดมาสู่รุ่นลูกและหลานซึ่งปัจจุบันหาได้ยาก เพราะคนไม่นิยมทำและจับปลาด้วยวิธีแบบโบราณ เพราะมีอุปกรณ์สมัยใหม่ที่ง่ายและหาซื้อได้ง่าย ขั้นตอนการทำยุ่งยากและใช้เวลาในการทำ\n ราคาลอบที่คุณพ่อขายถ้ามีคนมาขอซื้อนั้นจะอยู่ที่ ๑๐๐ บาท แต่คุณพ่อบอกว่าอยากจะสอนให้ผู้ที่สนใจมากกว่าการทำเพื่อขาย ซึ่งคุณพ่ออยากให้ภูมิปัญญานี้สืบทอดต่อไปยังรุ่นต่อๆไป \n(สถิต ศรีคุณโน, ๑๒ พฤศจิกายน , ๒๕๖๐) \nการสร้างความรู้(ขั้นตอน/วิธีสร้างภูมิปัญญา)\nวัสดุอุปกรณ์การทำลอบ\n๑. ไม้ไผ่ทำเป็นริ้วขนาด ๒ นิ้ว\n๒. เชือกมัด\n๓. ลวด\n๔. ตาข่ายตามขนาดของลอบและ งาเข้า งาออก\n๕. กรรไกร\nแหล่งวัสดุที่ใช้ทำลอบ มีแหล่งที่มา 2 แห่งคือ\n๑. ตามตลาดทั่วไป ๒. แหล่งที่ได้จากธรรมชาติ\n ๑.๑ ตาข่าย ๒.๑ ไม้ไผ่\n๑.๒ เชือก ๒.๒ ถ่าน/ฟืน\n๑.๓ มีด/ กรรไกร\n\nขั้นตอนที่ ๑: การเตรียมไม้ โดยการเหลาเป็นริ้วขนาด 2 นิ้ว เสร็จแล้วนำไปลนไฟเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นและคงทน\n \n ขั้นตอนที่ ๒:นำโครงลอบเป็นวงกลมยึดกับลวดวงกลม ประกอบเป็นโครงกร่างของลอบแล้วถักวนให้รอบ เพื่อเตรียมยึดกับไม่ไผ่ที่เตรียมไว้เป็นริ้วมาวางให้รอบ\n \nขั้นตอนที่ ๓:นำไม้ไผ่ที่เผาแล้วมาผูกกับลวดให้รอบ ใช้เชือกผูกยึดไว้ให้แน่นทั้งทางด้านหัวและท้าย ลอบ 1 อันใช้ไม้ไผ่ประมาน 8-10 ชิ้น\n \nขั้นตอนที่ ๔: เมื่อนำไม้ไผ่มาผูกรอบๆจนครบห่วงเหล็กทั้ง 3 จนยึดมั่นและแข็งแรงแล้ว ขั้นตอนต่อไปเป็นการใส่งาทั้ง 2 ด้านคืองาเข้า และงาออก ซึ่งทำจากตาข่ายให้มีรูปร่างเป็น 3 เหลี่ยมม้วนให้บรรจบกันในขนาดที่พอดี เพื่อเป็นทางเข้าของปลา และเป็นกลวิธีที่ไม่ทำให้ปลาที่เข้ามาติดกับดักแล้วไม่หลุดออกไป ขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญ\n \nขั้นตอนที่ ๕: การนำตาข่ายมาล้อมรอบตัวลอบจับปลานำตัวลอบที่ใส่งาเรียบร้อยแล้วมาวัดขนาดกับตาข่ายที่เตรียมไว้ตัดให้ขนาดพอดี เย็บเข้ากับตัวลอบโดยใช้เชือกเป็นตัวยึด เช็คสภาพให้เรียบร้อย ไม่มีรูที่ปลาจะสามารถออกไปได้ ถือเป็นอันเสร็จสมบูรณ์\n \n\nลอบจับปลาที่เสร็จสมบูรณ์\n \n\n\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\n ในการสัมภาษณ์คุณพ่อสถิต ได้มีการบันทึกวิดีโอ ซึ่งคุณพ่อได้เล่าถึงสิ่งที่บรรพบุรุษของท่านได้สั่งสอนและจดจำทำกันมาเป็นเวลาช้านาน คุณพ่อยังเสนอแนะว่าข้อมูลเหล่านี้ยังสามารถหาได้ตามหนังสือและการค้นคว้าแบบสมัยใหม่คือ อินเตอร์เน็ต ซึ่งก็จะมีผู้ที่ถ่ายทอดความรู้เรื่องลอบ แต่ลักษณะและอุปกรณ์ที่อาจจะแต่งต่างกันบ้างตามสภาพแวดล้อมของสถานที่นั้น แต่สำหรับคุณพ่อยินดีที่จะให้ความรู้แก่บุคคลทุกท่านที่สนใจ\n การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\n คุณพ่อสถิตได้เล่าให้ฟังว่ามีผู้คนมากมายที่มาขอความรู้เรื่องลอบรวมทั้งขอซื้อแต่คุณพ่อนั้นอยากให้ผู้ที่สนใจมาเรียนรู้วิธีการทำกับคุณพ่อ ซึ่งก็มีลูกหลานบางคนมาให้คุณพ่อสอนให้ในช่วงเวลาที่ท่านว่าง ซึ่งคุณพ่อก็ยินดี ท่านยังกล่าวอีกว่าอยากให้ภูมิปัญญานี้ได้คงอยู่และสืบทอดต่อไป เนื่องจากเป็นภูมิปัญญาที่มีคุณค่าทางจิตใจ รวมยังยังเป็นการหาปลาเพื่อการยังชีพโดยใช้วิธีธรรมชาติและราคาถูกเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยสืบไป\nพิกัด (สถานที่)\nบ้านเลขที่ 251 หมู่ 12 ต.หัวขวาง อ.โกสุมพิสัย จ. มหาสารคามเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2523 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงแนวเขตสุขาภิบาลขวางใหม่ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 97 ตอน 114 ทำให้สุขาภิบาลหัวขวาง ประกอด้วย หมู่บ้านต่างๆ ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านคุ้มกลาง หมู่ที่ 2 บ้านคุ้มใต้ หมู่ที่ 3 บ้านคุ้มสังข์\n หมู่ที่ 10 บ้านคุ้มสังข์ หมู่ที่ 11 บ้านคุ้มใต้ หมู่ที่ 12 บ้านคุ้มสังข์ และหมู่ที่ 13 บ้านคุ้มกลาง มีเขตพื้นที่ 5.55 ตารางกิโลเมตร ประชากร 10,456 คน จำนวน 2,064 หลังคาเรือน\n \n ภาพภายในบริเวณบ้านของคุณพ่อสถิตย์\n\n\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา ๒๕๖๐\nชื่อผู้ศึกษา นางสาวปวีณา ศรีคุณโน \nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิตรุ่นที่ 4) \nรายวิชา ความเป็นครู (800 5201) \nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \nคณะ ศึกษาศาสตร์ \nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\nสถานที่ทำงาน วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\nอาจารย์ผู้สอน\n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\n2 อาจารย์ ดร. พา อักษรเสือ\n3 อาจารย์ ดร. ธีรภัทร โครตบรรเทา\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\n6 อาจารย์บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ผู้ปกครอง
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  สถิตย์ ศรีคุณโน
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   ปวีณา ศรีคุณโน, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   ลอบดักปลา, อุปกรณ์ดักปลา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, งานสาน, การสอนเชือก
URL  :   -
จำแนกตามระดับชั้น :   มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
 

  ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง