การสานมวยจิ๋ว

ข้อมูลผลงาน

  828      1,290
 
Creative Commons License
การสานมวยจิ๋ว is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  การสานมวยจิ๋ว
คำอธิบาย :  ภูมิปัญญาท้องถิ่น : การสานมวยจิ๋ว\\\\n57 หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งแต้ ตำบลทุ่งแต้ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร 35000\\\\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \\\\n\\\\nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางเพียร ชำนาญ \\\\nที่อยู่ 57 หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งแต้ ตำบลทุ่งแต้ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร 35000 \\\\nอาชีพ รับราชการครู อายุการศึกษาภูมิปัญญา 48 ปี \\\\n\\\\nชื่อภูมิปัญญา การสานมวยจิ๋ว\\\\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \\\\n ความเป็นมา จากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ของประชาชนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีค่านิยมในการรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ทำให้มีนักคิดค้น และประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันขึ้นด้วยการนำเอาวัสดุที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ที่หาง่ายและใช้ภูมิปัญญา ที่แฝงด้วยศิลปะแขนงหนึ่ง เช่นศิลปะเช่นศิลปะการจักสาน การถักทอ เป็นต้น ในการประดิษฐ์เครื่องมือต่าง ๆ \\\\n การสานมวยจิ๋ว เป็นการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน เพราะหมู่บ้านทุ่งแต้ ตำบลทุ่งแต้ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ได้มีการสืบทอดสืบสานงานจักรสานและที่โดดเด่นคือ การสานมวยจิ๋ว ซึ่งถือว่าเป็นหัตถกรรมของหมู่บ้านที่สร้างชื่อเสียง และรายได้ให้กับครอบครัว และชุมชน อีกทั้งยังเป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกหลานและชุมชน จนได้รับการยกระดับเป็นสินค้า OTOP ของตำบลทุ่งแต้ อีกด้วย (เพียร ชำนาญ, กันยายน 2560 : สัมภาษณ์)\\\\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\\\\nความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องจักสาน\\\\nความหมายของเครื่องจักสาน\\\\n เครื่องจักสาน หมายถึง ภาชนะเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกิดจากวิธีการจัก สาน ถัก และทอวัสดุที่มีความเหมาะสมซึ่งหาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ หวาย ทางมะพร้าว ผักตบชวา เป็นต้น งานสานเกิดจากวิธีการกระทำที่เป็นพื้นฐานมาจากการจัก การถัก การทอ และการสาน\\\\n มวย หมายถึง เครื่องจักสานที่ทำจากไม้ไผ่มีรูปร่างลักษณะทรงกระบอกส่วนล่างจะแคบสำหรับสวมลงหม้อซึ่งบางท้องถิ่นอาจเรียกแต่ “ว่า” หวดความจริงแล้วหวดจะมีรูปร่างแตกต่างจากมวย คือ จะเหมือนรูปกรวยแต่ส่วนล่างจะปิดไม่เป็นรูปทรงกระบอกเหมือนมวยการใช้ประโยชน์ในการนึ่งมวยจะใช้ปริมาณได้มากกว่าและแข็งแรงทนทานกว่าเพราะมีความหนาจากการสานถึง 3 ชั้น\\\\n งานจักสาน หมายถึง การทำให้เป็นแฉกๆ ทำให้เป็นรอยคล้ายฟันเลื่อย โดยเอามีดผ่าไม้ไผ่หรือหวายให้แตกจากกันเป็นเส้นบาง ๆ\\\\n การสาน หมายถึง การเอาตอก กก ใบลาน ไม้ไผ่ ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่งมาไขว้ขัดกันทำเป็นภาชนะต่าง ๆ\\\\n การถัก หมายถึง การเอาเชือกหรือหวาย มาไขว้สอดประสานกันเป็นลวดลายต่าง ๆ หรือทำให้เป็นเส้นเดียวกัน \\\\n การทอ หมายถึง การนำด้ายหรือไหมมาทอเข้าด้วยกันให้เป็นผืน เช่น การทอเสื่อ ทอผ้า เป็นต้น\\\\nเครื่องจักสานเป็นภาชนะที่ใช้กันอยู่ในทุกภูมิภาคทั้งในชนบท ในเมือง และในต่างประเทศ ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนลดลง และราคาค่อนข้างสูงแต่ความนิยมหามาไว้ในบ้านยังมีอยู่มาก\\\\n การทำเครื่องจักสานของมนุษย์ในยุคแรกๆ เป็นการใช้วัตถุดิบที่มีในธรรมชาติเท่าที่จะหาได้ใกล้ตัวมาใช้ประโยชน์ เช่น นำกิ่งไม้ ใบไม้ เถาวัลย์ของต้นไม้มาสานขัดกันเป็นรูปทรงต่าง ๆ \\\\nตามประโยชน์ใช้งาน เช่นทำฝาขัดแตะสำหรับทำฝาบ้าน และมุงหลังคา ทำรั้วบ้าน เป็นต้น ต่อมาผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานได้รับการพัฒนาให้เหมาะกับยุคสมัย และประโยชน์ในการใช้สอยมากขึ้น เช่น มวยนึ่งข้าวเหนียว ดัดแปลงทำเป็นกระเป๋าถือ พานใส่ดอกไม้ กระเช้าของขวัญ \\\\nซึ่งมีกระบวนการผลิตที่พิถีพิถันประณีตและสวยงาม มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ไว้\\\\nประเภทและประโยชน์ของเครื่องจักสาน\\\\n เครื่องจักสานที่ใช้กันอยู่แต่ละภาคทุกวันนี้ มีรูปร่างลักษณะและประโยชน์ใช้สอยต่างกันตามความนิยมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งพอแบ่งหัวข้อได้ดังนี้\\\\n 1. เครื่องจักสานที่ใช้เป็นภาชนะ เช่น กระจาด ฝาชี กระติบข้าว กระด้ง ตะกร้า เป็นต้น\\\\n 2. เครื่องจักสานที่ใช้เป็นเครื่องตักและตวง เช่น กระออม กระชุ กระบุง เป็นต้น\\\\n 3. เครื่องจักสานที่ใช้เป็นภาชนะประกอบอาหารในครัวเรือน เช่น กระชอน หวด มวย เป็นต้น\\\\n 4. เครื่องจักสานที่ใช้ขนส่งสินค้า เช่น เข่ง หลัว ชะลอม บุ้งกี๋\\\\n 5. เครื่องจักสานที่ใช้เป็นเครื่องดักและจับสัตว์ เช่น ชะนาง ลอบ เฝือก สุ่ม ไซ กระชัง ข้อง\\\\n 6. เครื่องจักสานที่ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องปูลาด เครื่องประดับ เครื่องดนตรี เช่น ฝาขัดแตะ มู่ลี่ หมวก งอบ แคน โหวด กระเช้า\\\\n ครูผู้สอนได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษคือ แม่เพียร ชำนาญ เป็นบุคคลที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านทุ่งแต้ ตำบลทุ่งแต้ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านทุกคนในหมู่บ้าน เพื่อฝึกพัฒนาการสานมวยตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเยาว์ซึ่งได้รับการฝึกฝนและถ่ายทอดความรู้ให้จนได้นำมาพัฒนาต่อยอด\\\\nการสานมวยให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันเพื่อให้สามารถนำมวยไปใช้ประโยชน์ร่วมกับเทคโนโลยีในปัจจุบันได้อย่างดี\\\\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\\\\n\\\\n \\\\n ขั้นตอนที่ 1 การผ่าไม้ไผ่ ขั้นตอนที่ 2 การผ่าไม้ไผ่ ขั้นตอนที่ 3 การจักตอก \\\\n \\\\nขั้นตอนที่ 4 การสานมวยจิ๋ว ขั้นตอนที่ 5 การขึ้นขอบมวยจิ๋ว ขั้นตอนที่ 6 การสานมวยจิ๋วเสร็จเรียบร้อย \\\\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\\\\n ภูมิปัญญาท้องถิ่น การสานมวยจิ๋วนี้ได้รับการถ่ายทอดจากแม่ จำเนียร เนตรหาญ และนายหนูพันธุ์ เนตรหาญ ซึ่งได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับลูกหลานชาวบ้านทุ่งแต้ นักเรียน นักศึกษา จึงทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริมและมีรายได้เพิ่มขี้น และที่สำคัญได้ส่งเสริมและอนุรักษณ์ภูมิปัญญาของชุมชนต่อไป\\\\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\\\\n การถ่ายทอดการสานมวยจิ๋ว เป็นการถ่ายทอดให้กับนักเรียนและประชาชนที่ให้ความสนใจ จนได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนกลุ่มสถานศึกษาไปแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับประเทศ ครั้งที่ 61 ประจำปีการศึกษา 2554 ซึ่งถือว่าให้ความรู้กับผู้ที่สนใจและเพื่ออนุรักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้สูญหายและให้ลูกหลานสืบทอดต่อไป\\\\nการสาน\\\\n\\\\n การสาน หมายถึง วิธีใช้เส้นตอกหรือสิ่งเป็นเส้นอื่น ๆ ที่อ่อนตัวได้ขัดกัน คือยกและข่มให้เกิดเป็นลายตามที่ต้องการ \\\\n ด้านที่เส้นตอกสั้นและเส้นเล็ก เรียกว่า ก้นมวยจิ๋ว\\\\n ด้านที่เส้นตอกยาวและเส้นใหญ่ เรียกว่า ปากมวยจิ๋ว \\\\nมีขั้นตอนและวิธีการสานดังต่อไปนี้\\\\n 1. เส้นตอกที่ยาวใช้สาน โดยยึดเส้นตอกที่อยู่ด้านบนเป็นหลัก ถ้าตอกด้านบนอยู่ด้านใดใช้มือด้านนั้นรวบเส้นตอกไว้ เพื่อปล่อยเส้นตอกให้มืออีกด้านข่มเส้นตอกนี้ลง และใช้มือด้านเดิม ( ด้านที่ข่ม ) ยกตามลายที่สาน ( ถ้าลายสองจะต้องยก 2 ข่ม 2 )\\\\n 2. เริ่มสานลายสอง 4 รอบ (ลายนอน) ยก 1 ข่ม 2 ยก 1 ข่ม 2 \\\\n 3. เริ่มสานลายสอง 1 รอบ (ลายตั้ง) ยก 2 ข่ม 2 ยก 2 ข่ม 2\\\\n 4. สานลายสองรอบที่ 2 ใช้มือรวบเส้นตอกที่อยู่ด้านบนจับแยกคู่เส้นตอก มืออีกด้าน\\\\nรวบเส้นตอกด้านล่างขึ้นมา ข่ม 2 ยก 2 ข่ม 2 ยก 2 ไปจนครบรอบ\\\\n 5. สานลายสองรอบที่ 3 ใช้มือรวบเส้นตอกที่อยู่ด้านบนจับแยกคู่เส้นตอก มืออีกด้าน\\\\nรวบเส้นตอกด้านล่างขึ้นมา ข่ม 2 ยก 2 ข่ม 2 ยก 2 ไปจนครบรอบ\\\\nสานลายสอง ( ลายตั้ง ) ไปจนหมดเส้นตอกที่จะสาน ก็จะได้มวยจิ๋ว 1 ฝา แต่ในการทำมวยจิ๋วต้องใช้มวยจิ๋วทั้งหมด 2 ฝา ซ้อนกัน จึงจะได้มวยจิ๋ว 1 ใบ\\\\nขณะที่สานจะต้องนำมวยจิ๋วจุ่มน้ำให้ชุ่มตลอดเวลา เพราะจะทำให้สานได้ง่าย ลายสาน\\\\nไม่หลุดขาดจากกัน ขณะที่สานลายสานจะห่างออกจากกันจะต้องใช้สายพลาสติกรัดของดึงรัด\\\\nฝามวยจิ๋วให้แน่น\\\\n\\\\n\\\\n\\\\n\\\\n\\\\nพิกัด (สถานที่) หมู่บ้านทุ่งแต้ ตำบลทุ่งแต้ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร\\\\n\\\\n \\\\n\\\\n\\\\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\\\\nชื่อผู้ศึกษา นายสวัสดิพงศ์ ทองบ้านทุ่ม \\\\nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 \\\\nรายวิชา ความเป็นครู (800 5201) \\\\nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \\\\nคณะ ศึกษาศาสตร์ \\\\nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\\\\nสถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านโนนม่วง ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น\\\\nอาจารย์ผู้สอน\\\\n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\\\\n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\\\\n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\\\\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\\\\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\\\\n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย\\\\n\\\\nhttps://youtu.be/eD7uTS76Cu8
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ครู / อาจารย์, นักเรียน / นักศึกษา, ทั่วไป, ผู้ปกครอง
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  เพียร ชำนาญ
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   -
คำสำคัญ :   มวย, การสานมวย, หัตถกรรม, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, งานสาน, สานไม้, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
URL  :   https://youtu.be/eD7uTS76Cu8
จำแนกตามระดับชั้น :   ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ
 

  ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง