ยาอบสมุนไพรอยู่ไฟหลังคลอด

ข้อมูลผลงาน

  5,545      5,089
 
Creative Commons License
ยาอบสมุนไพรอยู่ไฟหลังคลอด is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  ยาอบสมุนไพรอยู่ไฟหลังคลอด
คำอธิบาย :  ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา\\nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางวาสนา สิงหฬ\\nที่อยู่ 166 หมู่ 15 บ้านโคกสูง ต.เชียงยืน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม\\nอาชีพ ทำนา\\nอายุการศึกษาภูมิปัญญา 10 ปี\\nชื่อภูมิปัญญา \\n\\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา\\nการอยู่ไฟของคนไทยได้ทำสืบต่อกันมานานแล้ว จนบางคนเรียกระยะหลังคลอดว่า “ระยะอยู่ไฟ” แม้ในวรรณคดีของไทยอันเก่าแก่เองก็ยังกล่าวถึงเรื่องการอยู่ไฟด้วย “เพราะเชื่อกันว่าการอยู่ไฟจะช่วยเพิ่มความอบอุ่นแก่ร่างกายและจิตใจ รวมทั้งช่วยบรรเทาความปวดเมื่อยลงได้ และถือกันว่าเป็นการบำบัดโรคหลังคลอด ทำให้คุณแม่มีสุขภาพดีในภายหน้า เมื่อแก่ตัวลงก็ยังคงแข็งแรงเหมือนเดิม”\\n สาเหตุของการอยู่ไฟ\\n การอยู่ไฟเป็นกระบวนการดูแลหญิงหลังคลอดที่คนสมัยโบราณ “เชื่อว่าจะช่วยทำให้ร่างกายฟื้นจากความเหนื่อยล้าให้กลับคืนสู่สภาพปกติได้โดยเร็ว โดยใช้ความร้อนเข้าช่วย ทำให้กล้ามเนื้อเส้นเอ็นบริเวณหลังและขาที่เกิดจากการกดทับในขณะตั้งครรภ์ได้คลายตัว ช่วยลดอาการปวดเมื่อยตามตัว ทำให้เลือดลมไหลเวียนได้ดี ช่วยปรับสมดุลร่างกายของคุณแม่ให้เข้าที่ อาการหนาวสะท้านที่เกิดจากการเสียเลือดและน้ำหลังคลอดมีอาการดีขึ้น ทำให้มดลูกที่ขยายตัวได้หดรัดตัวหรือเข้าอู่ได้เร็ว พร้อมกับช่วยให้ปากมดลูกปิดได้ดี จึงป้องกันการติดเชื้อในโพรงมดลูกหลังคลอด ทำให้น้ำคาวปลาแห้งเร็ว ลดการไหลย้อนกลับจนนำไปสู่ภาวะเป็นพิษ”\\nในสมัยก่อนหมอตำแยจะไม่ได้เย็บแผลช่องคลอดที่ฉีกขาดจากการคลอด จึงต้องให้คุณแม่นอนบนกระดานแผ่นเดียวจะได้หนีบขาทั้งสองข้างไว้ ช่วยให้แผลติดกันได้ แต่เมื่อนอนไปนาน ๆ ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวก็จะทำให้เกิดความอ่อนล้า เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก เมื่อจะลุกก็อาจจะเป็นลมได้ จึงต้องมีการผิงไฟเพื่อช่วยให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น การไหลเวียนของเลือดจึงดีขึ้นตามไปด้วย และเชื่อกันว่าจะทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วยิ่งขึ้นด้วยครับ\\nแต่ในสมัยปัจจุบันเมื่อคุณแม่คลอดลูกที่โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัย เมื่อหมอทำคลอดให้เสร็จก็จะมีการเย็บซ่อมแผลที่ฉีกขาด หรือตัดช่องคลอดแล้วเย็บให้เรียบร้อย คุณแม่จึงไม่จำเป็นต้องนอนนิ่ง ๆ นาน ๆ แต่อย่างใด เพราะการที่ร่างกายไม่เคลื่อนไหวนั้นจะทำให้น้ำคาวปลาไหลไม่สะดวก คุณแม่จึงมีโอกาสติดเชื้ออักเสบในโพรงมดลูกได้สูงมาก นอกจากนี้การนอนอยู่นิ่ง ๆ นาน ๆ ในที่อับลมยังเป็นการเพิ่มความเครียดให้คุณแม่อีกด้วย จึงไม่เป็นผลดีแต่อย่างใด ส่วนการที่ต้องผิงไฟอยู่ตลอดเวลา ร่างกายก็จะเสียเหงื่อไปมาก หมอตำแยจึงต้องให้คุณแม่กินข้าวกับเกลือหรือปลาเค็มเพื่อทดแทนเกลือแร่ที่สูญเสียไปกับเหงื่อ และสั่งให้งดอาหารแสลงหลาย ๆ อย่างด้วย เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น ทั้ง ๆ ที่อาหารเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ในการเสริมสร้างร่างกายของคุณแม่ในส่วนที่บอบช้ำจากการคลอด และยังมีประโยชน์ต่อการสร้างน้ำนมด้วย คุณแม่จึงไม่ควรงดของแสลงเหล่านี้อย่างที่ปฏิบัติกันมาแต่อย่างใด ยกเว้นแต่ว่าคุณแม่แพ้อาหารชนิดนั้น ๆ อยู่แล้ว\\nการอยู่ไฟสมัยโบราณ\\nการอยู่ไฟมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดตามแต่จะนิยมกัน ซึ่งผู้คลอดจะนอนอยู่บนกระดานแผ่นใหญ่ที่เรียกว่า “กระดานไฟ” ถ้ายกกระดานไฟให้สูงขึ้นแล้วเลื่อนกองไฟเข้าไปใกล้ ๆ หรือเอากองไฟมาก่อไว้ใต้กระดานก็จะเรียกว่า “อยู่ไฟญวน” หรือ “ไฟแคร่” (นอนบนไม้กระดาน ส่วนเตาไฟอยู่ใต้แคร่ มีแผ่นสังกะสีรองทับอีกที เหมือนการนอนปิ้งไฟดี ๆ นี่เองครับ) แต่ถ้านอนบนกระดานไฟซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับพื้นและมีกองไฟอยู่ข้าง ๆ จะเรียกว่า “อยู่ไฟไทย” หรือ “ไฟข้าง” (ก่อไฟอยู่ข้างตัวบริเวณท้อง) บ้างก็เรียกกันไปตามชนิดของฟืน ถ้าใช้ไม้ฟืนก่อไฟก็เรียกว่า “อยู่ไฟฟืน” (นิยมใช้ไม้มะขาม เพราะไม่ทำให้ฟืนแตก) แต่ถ้าใช้ถ่านก่อไฟก็จะเรียกว่า “อยู่ไฟถ่าน” และข้าง ๆ กองไฟมักจะมีภาชนะใส่น้ำร้อนเอาไว้เพื่อใช้ราดหรือพรมไม่ให้ไฟลุกแรงเกินไป\\nคนส่วนใหญ่ในสมัยก่อนจะนิยมอยู่ไฟข้างมากกว่าอยู่ไฟแคร่ โดยสามีหรือญาติจะเป็นคนจัดเตรียมที่นอนสำหรับการอยู่ไฟและคอยดูแลเรื่องฟืนไฟที่จะต้องไม่ร้อนเกินไปให้ เพราะคุณแม่จะต้องอยู่ในเรือนไฟนานถึง 7-15 วัน และห้ามออกจากเรือนไฟโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้อุณหภูมิร่างกายของคุณแม่ปรับตัวไม่ทัน ทำให้เกิดการเจ็บป่วยและไม่สบายได้ การอยู่เรือนไฟในสมัยก่อนนั้นคุณแม่หลังคลอดทุกคนจะต้องเข้าเรือนไฟที่สร้างเป็นกระท่อมหลังคามุงจาก แล้วเข้าไปนอนผิงไฟ พร้อมกับลูกน้อยที่จะเอาใส่กระด้ง ร่วมอยู่ไฟกับคุณแม่บนกระดานไม้แผ่นเดียวและจะต้องทำขาให้ชิดกัน เพื่อให้แผลฝีเย็บติดกัน ซึ่งคนโบราณจะเรียกว่า “การเข้าตะเกียบ” การอยู่ไฟอาจมีการนวดประคบด้วยขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในคุณแม่แต่ละคน นอกจากนี้ในทุก ๆ วันคุณแม่ยังต้องอาบน้ำร้อนและดื่มเฉพาะน้ำอุ่น (ห้ามรับประทานน้ำเย็นหรือของเย็นๆ) และงดอาหารแสลงหลายอย่าง ซึ่งอาหารหลักก็คือการกินข้าวกับเกลือหรือกับปลาเค็ม เพราะคนโบราณเชื่อว่าจะไปทดแทนเกลือที่ร่างกายต้องเสียไปทางเหงื่อที่ไหลออกระหว่างการอยู่ไฟได้\\nส่วนทางภาคอีสานจะเรียกการอยู่ไฟว่า “อยู่กรรม” เพราะเชื่อกันว่าคุณแม่คนใดที่ไม่อยู่ไฟ ร่างกายจะผอมแห้ง ผิวพรรณซูบซีด ไม่มีน้ำนม กินผิดสำแดงได้ง่าย ซึ่งถือเป็นเรื่องร้ายแรงของผู้หญิงในสมัยก่อน ส่วนจำนวนวันในการอยู่ไฟนั้น ถ้าเป็นการคลอดครั้งแรกจะอยู่นานกว่าคลอดครรภ์หลัง เมื่ออยู่ครบแล้วก็จะมีพิธีออกไฟในตอนเช้ามืด ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข\\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\\nความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับยาอบสมุนไพรอยู่ไพรหลังคลอด\\nยาอบ คือ การใช้ไอน้ำและความร้อนพาตัวยาและน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรไปสัมผัสผิวหนัง แทรกซึมผ่านเยื่อบุเข้าสู่ร่างกายของคนไข้ และผ่านเข้าทางลมหายใจที่สูดเข้าไปด้วย ทำให้ตัวยาสามารถออกฤทธิ์ได้ทั่วตัวในเวลาอันรวดเร็ว ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย เป็นการเยียวยาบำบัดอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผลดีกับคนที่มีอาการเกี่ยวกับจิตประสาท และระบบทางเดินหายใจ \\nการอบสมุนไพรในแต่ละชุมชนจะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน ทั้งชนิดของสมุนไพร วิธีการ และอุปกรณ์ที่ใช้ภาชนะกักไอน้ำร้อนไว้ สำหรับการอบ ในแต่ละท้องถิ่นยังเรียกยาอบในชื่อต่างๆ เช่น ยาอุ๊ปยาฮม เป็นต้น \\nการอบสมุนไพรมีหลากหลายรูปแบบตามภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การต้มสมุนไพรอยู่ภายนอก แล้วต่อท่อเข้าไปยังห้องอบ การนำหม้อยาที่เดือดเข้าไปตั้งอยู่กับผู้ป่วยภายในกระโจมต้มอบ สุ่มไก่ หรือผ้าห่มผื่นหนาๆ การนำหม้อต้มยาที่ต้มจนเดือดดี แล้วตั้งไว้ใต้แคร่ นำเอาผ้าล้อมไว้ทั้งสี่ด้าน เพื่อให้ไอร้อนลอยขึ้นสัมผัสผู้ป่วยที่นอนห่อผ้าอยู่บนแคร่ หรือการนำสมุนไพรมาตำคั้นน้ำ ผสมกับน้ำเปล่าให้ได้ปริมาน 1 กระป๋อง นำมาราดลงบนก้อนหินที่เผาจนร้อน เพื่อให้เกิดไอขึ้นภายในสุ่มไก่ \\nการอบสมุนไพรโดยทั่วไป จะห้ามใช้สำหรับคนไข้ และห้ามคนป่วยกินของแสลงสำหรับโรคนั้นๆ นอกจากนี้ ยังมีข้อห้ามสำหรับแต่ละโรคหรืออาการ เช่น คนที่ฟกช้ำ จากการตกต้นไม้ ควายชน หากมีบาดแผลห้ามอบ แม่หลังคลอดห้ามกินของหมักดอง อาหารรสเผ็ด รสเค็ม เนื้อควายเผือก ปลาไหล กบ อึ่งอ่าง ชะอม ห้ามเดินข้ามหม้อต้มยา อัมพฤกษ์อัมพาต แขนขาไม่มีแรง ห้ามกินหน่อไม้ เงาะ มะพร้าว อาหารหมักดอง ห้ามกินไก่กินเนื้อ ห้ามกินปลาไหล ปลาซิว ปลาฝา ปลาหลาด ปลาเคิง ปลาเลิม เต่า ริดสีดวง ห้ามกินอาหารหมักดอง หน่อไม้ ไก่ เป็ด ปลาไหล ปลาหลด เต่า ถ้าเป็นผื่นคัน ลมพิษ ห้ามกินอาหารรสเผ็ด เค็ม อาหารหยาบย่อยยาก\\nสรรพคุณของสมุนไพรที่นำมาทำเป็นยาอบ \\n1. ไพล สรรพคุณของสมุนไพรที่ใช้ในการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ แก้ปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัวขมิ้นชัน สรรพคุณของสมุนไพรที่ใช้ในการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ แก้โรคผิวหนัง สมานแผลขมิ้นอ้อย สรรพคุณของสมุนไพรที่ใช้ในการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ใช้บรรเทาอาการฟกช้ำ บวมได้\\n2. ว่านนางคำ สรรพคุณของสมุนไพรที่ใช้ในการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ รักษาเม็ดผดผื่นคัน\\n3. ตะไคร้ สรรพคุณของสมุนไพรที่ใช้ในการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ดับกลิ่นคาว บำรุงธาตุไฟ\\n4. ใบผิวมะกรูด สรรพคุณของสมุนไพรที่ใช้ในการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ แก้ลมวิงเวียน\\n5. ใบหนาด สรรพคุณของสมุนไพรที่ใช้ในการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ แก้โรคผิวหนัง พุพอง น้ำเหลืองเสีย\\n6. ว่านน้ำ สรรพคุณของสมุนไพรที่ใช้ในการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ช่วยขับเหงื่อ แก้ไข้\\n7. ใบมะขาม สรรพคุณของสมุนไพรที่ใช้ในการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ แก้อาการคันตามร่างกายช่วยให้ผิวหนังสะอาด\\n8. ใบส้มป่อย สรรพคุณของสมุนไพรที่ใช้ในการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ แก้หวัด แก้ปวดเมื่อย\\n9. ใบพลับพลึง สรรพคุณของสมุนไพรที่ใช้ในการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ แก้อาการฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก บรรเทาอาการปวดบวม\\n10. กระชาย สรรพคุณของสมุนไพรที่ใช้ในการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ แก้ปวดเมื่อย ปากแตก เป็นแผล ใจสั่น\\n11. ใบเปล้าใหญ่ สรรพคุณของสมุนไพรที่ใช้ในการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ช่วยถอนพิษ ผิดสำแดง บำรุงผิว\\n12. ผักบุ้งไทย สรรพคุณของสมุนไพรที่ใช้ในการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ถอนพิษผื่นคัน\\n\\n\\n\\n\\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\\nวัสดุในการทำยาอบสมุนไพรประกอบด้วย\\n1. ว่านไพล 6. ใบเป้า\\n2. ขมิ้นชัน 7. ใบหนาด\\n3. การบูร 8. ใบมะขาม\\n4. ตะไคร้ 9. ผักบุ้งแดง\\n5. มะกรูด 10. หอมแดง\\n\\nอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบสมุนไพรได้แก่\\n1. กระโจมอบสมุนไพร\\n2. หม้อต้มยาสมุนไพร\\n3. ผ้าขาวบาง\\nขั้นตอนและวิธีการทำ\\n1. ล้างสมุนไพรทุกชนิดที่เตรียมไว้ให้สะอาด\\n2. แล้วนำมาหั่นให้ชิ้นพอดี\\n3. นำสมุนไพรที่หั่นแล้วมาวางบนผ้าขาวบาง แล้วมัดรวมกันให้แน่น\\n4. เตรียมกระโจงนำหม้อใส่น้ำต้มให้เดือด แล้วนำสมุนไพรที่เตรียมไว้มาใส่หม้อ ต้มให้เดือดอีกครั้ง แล้วให้คุณแม่หลังคลอดหรือผู้ป่วยเข้าไปอบยาที่อยู่ในกระโจมเป็นเวลา 30 นาที\\n\\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\\n ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำยาอบสมุนไพร ได้รับการถ่ายทอดจาก คุณวาสนา สิงหฬ อายุ 35 ปี มีอาชีพทำนา อยู่บ้านเลขที่ 27 หมู่ที่ 6 บ้านโคกสูง ตำบลเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม โดยคุณวาสนาเริ่มศึกษาวิธีการทำยาอบสมุนไพรเมื่อ 10 ปีที่แล้วจากคุณยายทวด ซึ่งได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาให้แก่บุคคลที่สนใจเพื่อนำไปใช้อยู่ไฟหลังคลอด รักษาอาการปวดเมื่อตามร่างกายและประกอบอาชีพหารายได้เสริม และที่สำคัญเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาของชุมชนต่อไป \\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\\nการอบยาสมุนไพรอยู่ไฟหลังคลอด เป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้แก่ประชาชนทั่วไปและองค์ต่างๆ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมส่งสุขภาพตำบล มีการนำเอายาอบสมุนไพรไปในการรักษาแพทย์แผนไทยให้แก่คุณแม่หลังคลอด ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเมื่อตามร่างกาย \\n การอยู่ไฟสมัยใหม่\\nในบ้านเมืองและยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป มีคนอยู่หนาแน่นมากขึ้น รวมทั้งสภาพห้องที่ต้องปิดมิดชิด การที่จะก่อไฟบนพื้นบ้านหรือพื้นห้องนอนจึงไม่สามารถทำได้เหมือนแต่ก่อน ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือมีวิวัฒนาการไปตามสภาพสังคม ซึ่งการอยู่ไฟสมัยปัจจุบันนี้จะเปลี่ยนจากการให้ความร้อนทั่วตัวมาเป็นการให้ความร้อนเฉพาะบริเวณหน้าท้องโดยไม่ต้องสุมกองไฟ ที่ใช้กันอยู่ก็มี 2 วิธี คือ\\n1. ใช้กระเป๋าน้ำร้อน โดยนำกระเป๋าน้ำร้อนมาวางบริเวณหน้าท้อง ซึ่งวิธีนี้เป็นวิวัฒนาการล่าสุดของการอยู่ไฟ การใช้กระเป๋าน้ำร้อนวางก็เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดลงได้บ้าง แต่ถ้ากระเป๋าร้อนเกินไปหรือเกิดรั่วขึ้นมา หน้าท้องก็อาจจะพองได้เช่นกัน\\n2. ใช้ไฟชุด หรือ ชุดคาดไฟ เป็นชุดที่ประกอบไปด้วยกล่องอะลูมิเนียมสำหรับใส่ชุดซึ่งเป็นเชื้อไฟ เมื่อจุดไฟแล้วก็ใส่กล่องไว้ กล่องจะร้อน มีสายคาดรอบ ๆ เอว 3-4 กล่อง ลักษณะคล้ายกับสายคาดปืน\\nในหนังคาวบอย บางทีถ้าร้อนมากเกินไปก็อาจทำให้ผิวหนังหน้าท้องพองได้ คุณแม่บางคนจึงพันผ้ารอบ ๆ กล่องจนหนาก่อนเพื่อป้องกันผิวหนังไหม้พอง\\nการอยู่ไฟร่วมสมัย\\n การดูแลคุณแม่หลังคลอดด้วยการอยู่ไฟในปัจจุบันยังคงมีให้เห็นกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในต่างจังหวัด ซึ่งยังคงใช้รูปศัพท์เดิม คือ “การอยู่ไฟ” แต่วิธีการได้เปลี่ยนแปลงไป เพราะการแพทย์สมัยใหม่ได้เข้ามาแทนที่ แต่ช่วงหลังได้มีการส่งเสริมให้มีการอยู่ไฟด้วยแพทย์แผนไทยประยุกต์กันมากขึ้น การอาบ-อบสมุนไพรจึงถือเป็นกระบวนการหนึ่งของการอยู่ไฟด้วย ซึ่งหลัก ๆ จะประกอบไปด้วยการนวดประคบ การเข้ากระโจม อาบน้ำสมุนไพร และลงท้ายด้วยการนาบหม้อเกลือ (อาจมีบริการเสริมอื่น ๆ ด้วยแตกต่างกันไป)\\n1. การนวดประคบ โดยใช้ลูกประคบร้อนที่ห่อไปด้วยสมุนไพรต่าง ๆ มากกว่า 10 ชนิด เช่น ขมิ้น ตะไคร้ การบูร ใบส้มป่อย เถาเอ็นอ่อน ฯลฯ มานวดคลึงตามบริเวณร่างกายและเต้านม หรือนั่งทับลูกประคบ 1 ลูก เพื่อช่วยลดอาการปวดเมื่อยและรักษาแผลหลังคลอด\\n2.การเข้ากระโจมและอบสมุนไพร ถือเป็นขั้นตอนหลักของการอยู่ไฟเลยก็ว่าได้ เพราะการเข้ากระโจมอบไอน้ำด้วยสมุนไพรนานาชนิดจะช่วยให้รูขุมขนได้ขับของเสียและทำความสะอาดผิวให้เปล่งปลั่งขึ้น ในขั้นตอนนี้จะเป็นการอบตัวด้วยไอน้ำร้อนโดยให้คุณแม่หลังคลอดเข้าไปนั่งบนม้านั่ง แล้วเอาผ้าห่มทำกระโจมคลุมไว้ และส่วนใหญ่จะคลุมศีรษะไว้ด้วย อากาศภายในกระโจมนั้นจะอับมาก อาจโผล่หน้าออกมาได้ แล้วเอาหม้อน้ำที่ต้มเดือดไปใส่ไว้ภายในกระโจม ซึ่งในหม้อนั้นจะมีน้ำสมุนไพรเป็นสารระเหย เช่น มะกรูด ตะไคร้ (ช่วยให้ระบบทางเดินหายใจคล่องขึ้น), ไพร (ช่วยลดอาการปวดเมื่อย), ขมิ้นชัน (ลดอาการเคล็ดขัดยอก), การบูร พิมเสน (ช่วยให้หายใจสดชื่น), ผักบุ้งแดง (ช่วยบำรุงสายตา), หัวหอมแดง, ใบมะขาม, ใบส้มป่อย, ใบส้มเสี้ยว, เปลือกส้มโอ และสมุนไพรอื่น ๆ เพื่อให้สมุนไพรซึมผ่านผิวหนังเข้าไปบำรุงผิวพรรณและขับน้ำคาวปลาได้ดียิ่งขึ้น เมื่ออบตัวเสร็จก็จะเอาน้ำที่เหลือมาอาบหรือทาตัวภายหลังก็ได้ คุณแม่พอคิดสภาพตามแล้วอาจรู้สึกร้อน ๆ แต่วิธีนี้ไม่มีอันตรายครับ ถ้าร่างกายโดยเฉพาะใบหน้าไม่ถูกไอน้ำร้อนนานเกินไป ซึ่งไม่น่าจะนานเกิน 15 นาที และคุณแม่ต้องระวังอย่าให้น้ำร้อนลวก วิธีนี้จะทำให้เหงื่อออกมากซึ่งจะเป็นการช่วยลดน้ำหนักไปด้วยในตัวครับ ส่วนคุณแม่ที่มีตู้อบไอน้ำอยู่ที่บ้าน ถ้ามีอยู่แล้วจะอบไอน้ำก็ได้ แต่อย่าให้นานเกินไป ควรใช้ครั้งละไม่เกิน 15 นาที วันละครั้งก็พอ เพราะถ้านานเกินไปอาจทำให้คุณแม่เป็นลมเนื่องจากร่างกายเสียเกลือแร่ไปมาก แต่ถ้าไม่มีตู้อบก็ไม่จำเป็นต้องไปหาซื้อมาเพื่ออบตัวหลังคลอด เพราะยังมีวิธีที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ได้โดยไม่ต้องเสียเงินเช่นการบริหารร่างกายหลังคลอด\\n3.การนาบหม้อเกลือ หรือ การทับหม้อเกลือ หรือ การนึ่งหม้อเกลือ เป็นขั้นตอนการใช้หม้อเกลือมาประคบหน้าท้องและตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย พร้อมทั้งนวดไปด้วย ความร้อนจากหม้อเกลือจะช่วยให้รูขุมขนเปิด สมุนไพรซึมผ่านลงผิวหนังไปช่วย ขับน้ำคาวปลาและของเสียออกมาตามรูขุมขน และช่วยให้มดลูกหดรัดตัวเข้าอู่เร็วขึ้น ซึ่งหม้อเกลือจะเป็นหม้อดินเล็ก ๆ ใส่เกลือเม็ดแล้วเอาไปตั้งไฟให้ร้อน แล้ววางบนใบพลับพลึง ใช้ผ้าห่อโดยรอบอีกชั้นหนึ่ง ใช้ประคบหรือนาบไปตามตัวโดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง เพื่อหวังจะให้หน้าท้องยุบลง ซึ่งก็ไม่ได้ผลดีเท่าไรครับ แต่การบริหารร่างกายจะช่วยได้มากกว่า เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่นาบหม้อเกลือ หนังหน้าท้องจะหย่อนเหมือนเดิม แถมคุณแม่หลังคลอดบางคนก็นาบด้วยหม้อเกลือจนผนังท้องดำไหม้อยู่ตลอดไป และผิวหนังจะเหี่ยวย่นคล้ายผิวคนแก่ก็มี ผมจึงขอแนะนำว่าถ้าขัดผู้ใหญ่ไม่ได้หรืออยากทำจริง ๆ ก็ควรทำด้วยความระมัดระวัง ถ้าร้อนมากก็ต้องหยุดทำทันที ทางที่ดีไม่ควรทำเลยครับ อันตราย ส่วนการประคบด้วยลูกประคบที่ประกอบด้วยสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ก็มีประโยชน์ครับถ้าไม่ร้อนมากจนเกินไป\\n4. บริการอื่น ๆ เช่น การประคบ-นั่งอิฐ เป็นการใช้อิฐมอญย่างไฟร้อน ๆ ห่อด้วยใบพลับพลึงและผ้าหนาหลายชั้นมาประคบตามบริเวณร่างกายหรือวางไว้ใต้เก้าอี้เพื่อให้ความร้อนอังบริเวณปากช่องคลอด เพื่อสมานแผลให้หายเร็วขึ้น, การนวดคล้ายเส้นตามกล้ามเนื้อตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย เช่นใบหน้า ศีรษะ ต้นขา ต้นแขน เพื่อให้กล้ามเนื้อคล้ายตัว กระตุ้นต่อมน้ำเหลืองและเลือดลม, การดื่มน้ำสมุนไพร อย่างการดื่มน้ำขิงซึ่งจะช่วยปรับสมดุลร่างกายและกระตุ้นเลือดลมให้เดินเป็นปกติ, การสครับขัดบำรุงผิว ด้วยการพอก ขัด ด้วยเกลือสะตุและสมุนไพรชนิดต่าง ๆ เพื่อช่วยกระชับและบำรุงผิวที่แตกลาย เป็นต้น\\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\\nชื่อผู้ศึกษา นางสาวภัคภิญญา สีระบุตร\\nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4\\nรายวิชา ความเป็นครู (800 5201)\\nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น\\nคณะ ศึกษาศาสตร์\\nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\\nสถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านจานโนนสูง หมู่ที่ 4 ต.เสือเฒ่า อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม\\nอาจารย์ผู้สอน\\n 1. รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\\n 2. อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\\n 3. อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\\n 4. อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\\n 5. อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\\n 6. อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  นางวาสนา สิงหฬ
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   ภัคภิญญา สีระบุตร, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   ยาอบสมุนไพร, สมุนไพร, การอยู่ไฟหลังคลอด, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
URL  :   https://www.youtube.com/edit?o=U&video_id=AgpKeu6NxsY
จำแนกตามระดับชั้น :   ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
 

  ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง