การทอเสื่อกก(ต่ำสาด)

ข้อมูลผลงาน

  3,201      4,623
 
Creative Commons License
การทอเสื่อกก(ต่ำสาด) is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  การทอเสื่อกก(ต่ำสาด)
คำอธิบาย :  ภูมิปัญญาการทอเสื่อกก(ต่ำสาด)\nหมู่บ้านสีแก้ว ตำบลสีแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา การทอเสือกก\n (ภาษาถิ่นเรียกว่าการต่ำสาด) \nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นาง ทองเลี้ยง อินอุ่นโชติ\n (คุณยายเลี้ยง) \nที่อยู่ 31/3 บ้านสีแก้ว ตำบลสีแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด \nอาชีพ ทำนา อายุการศึกษาภูมิปัญญา 21 ปี \n\nชื่อภูมิปัญญา การทอเสื่อกก(ภาษาถิ่น การต่ำสาด)\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \nการทอเสื่อกก(ต่ำสาด)สืบเนื่องมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ในหมู่บ้านสีแก้ว ตำบลสีแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ได้มีการทอเสื่อกกกันเกือบทุกครัวเรือน เป็นการทอขึ้นมาเพื่อใช้สอยในครัวเรือน แต่ถ้าเหลือใช้หรือวัสดุมีมากก็จะทอเพื่อจำหน่ายเป็นการสร้างรายได้เสริมจากการมีอาชีพเกษตรกร หรืองานประจำของชาวบ้าน และเพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ชาวบ้านจึงหัดทอ และสร้างลวดลายใหม่ๆขึ้นมาเพื่อสร้างมูลค่าให้เสื่อแต่ละผืนและยังได้พัฒนาฝีมือของตนเองอีกด้วย \n ในสมัยก่อนการทอเสื่อนั้นจะยังไม่มีการนำเส้นกกหรือผือไปย้อมสี และยังไม่มีการสร้างลวดลายขึ้นมา จนกระทั่งไม่กี่สิบปีมานี้ ได้มีการพัฒนา มีการย้อมสี และสร้างลวดลายใหม่ๆขึ้นมา เพื่อให้เกิดความสวยงาม แปลกตา จนถึงปัจจุบันได้มีการสร้างลวดลาย และสามารถแปลรูปจากเสื่อที่เป็นผืนเอาไว้ปูนั่ง กลายมาเป็นการนำเอาเสื่อมาทำเป็นของใช้ในรูปแบบต่างๆ เช่น กระเป๋า ตะกร้าใส่ของ แผ่นรองแก้ว \n\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\nในการทอเสื่อกก(ต่ำสาด)นี้คุณยาย ทองเลี้ยง อินอุ่นโชติ(คุณยายเลี้ยง) ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งท่านได้ถ่ายทอดภูมิปัญญานี้ให้แก่คุณยายเลี้ยงและชาวบ้านในหมู่บ้านที่สนใจภูมิปัญญานี้ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ไว้ ซึ่งคุณยายเลี้ยงก็ได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน \n\n\n\n\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\n \n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\nคุณยาย ทองเลี้ยง อินอุ่นโชติ(คุณยายเลี้ยง)ได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญานี้มาจากพ่อแม่โดยคุณยายเลี้ยงได้เริ่มหัดทอเสื่อเมื่อตอนอายุ 40กว่าปีมาจนถึงปัจจุบันและนอกจากนี้คุณยายเลี้ยงยังชอบทำงานด้านหัตถกรรมงานฝีมือ เช่น สานตะกร้า สานกระติบข้าว สานกระเป๋า เป็นต้น สามารถสร้างรายได้เสริมให้กับคุณยายเลี้ยงรวมถึงครอบครัวถือว่าเป็นการใช้เวลาว่างสร้างรายได้และพัฒนาฝีมือและได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ไว้\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\nภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อ(ต่ำสาด)นี้ คุณยาย ทองเลี้ยง อินอุ่นโชติ(คุณยายเลี้ยง)ได้มีการถ่ายทอดให้กับลูกหลาน รวมทั้งชาวบ้านที่ให้ความสนใจอยากลองทอเสื่อ(ต่ำสาด)คิดสร้างลวดลายใหม่ๆหรือชิ้นงานใหม่ๆเพื่อที่จะเป็นการพัฒนาภูมิปัญญาไปในทางที่ดีขึ้น และเพื่อเป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาให้ลูกหลานสืบต่อไป\nพิกัด (สถานที่)\n\n\n\n\n\n\n\n\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\nชื่อผู้ศึกษา นางสาว ธัญญาภรณ์ จตุรพร \nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู \n(ป.บัณฑิต) รุ่น 4 \nรายวิชา ความเป็นครู (800 5201) \nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริม\nภูมิปัญญาท้องถิ่น \nคณะ ศึกษาศาสตร์ \nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\nสถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านไค่นุนหนองบัวบานวิทยา ตำบลนาแซง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด\nอาจารย์ผู้สอน\n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย\nhttps://youtu.be/V0VhYvQyYIE
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ครู / อาจารย์, นักเรียน / นักศึกษา, ทั่วไป, ผู้ปกครอง
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  ทองเลี้ยง อินอุ่นโชติ
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   ธัญญาภรณ์ จตุรพร, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, การทอเสื่อกก, กก, การทอเสื่อ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
URL  :   https://youtu.be/V0VhYvQyYIE
จำแนกตามระดับชั้น :   ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
 

  ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง