ทัพพีกะลามะพร้าว

ข้อมูลผลงาน

  515      888
 
Creative Commons License
ทัพพีกะลามะพร้าว is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  ทัพพีกะลามะพร้าว
คำอธิบาย :  ภูมิปัญญาท้องถิ่น : ทัพพีกะลามะพร้าว\n44/1 หมู่ 7 ตำบลหว้านใหญ่ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \n\n\nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นาย ปอน เมืองโคตร \nที่อยู่ 44/1 หมู่ 7 ตำบลหว้านใหญ่ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร 49150 \nอาชีพ ชาวนา อายุการศึกษาภูมิปัญญา 74 ปี \n\nชื่อภูมิปัญญา ทัพพีกะลามะพร้าว\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \n การทำทัพพีกะลามะพร้าว สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ จนถึงปัจจุบัน เพราะอำเภอหว้านใหญ่ ที่มีทำแลติดฝั่งแม่น้ำโขง ทุกครัวเรือนมักปลูกต้นมะพร้าวไว้สำหรับประกอบทำอาหาร ก็จะพบว่ามีกะลามะพร้าวเป็นจำนวนมาก ทำให้มีนักคิดค้น และประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจาวันขึ้นด้วยการนำเอาวัสดุที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ที่หาง่ายและใช้ภูมิปัญญา ที่แฝงด้วยศิลปะแขนง หนึ่ง เช่นศิลปะเช่นศิลปหัตถกรรมเป็นต้น ในการประดิษฐ์เครื่องมือที่ใช้ในครัวเรือน และมีการทำจำหน่ายออกไปยังกลุ่มเพื่อนบ้านต่างๆ ถือว่าเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว และเป็นการสร้างอาชีพเสริมที่ดีและเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเราต่อไป (ปอน เมืองโคตร, ตุลาคม 2560 : สัมภาษณ์)\n\n\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\nคุณปู่ ปอน เมืองโคตร อายุ 74 ปี อาชีพทำนา บ้านเลขที่ 44/1 หมู่ 7 ตำบลหว้านใหญ่ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร ได้เริ่มหัดทำ ทัพพีกะลามะพร้าวจากคนที่รู้จัก ในหมู่บ้านเมื่ออายุประมาณ 60 ปี หลังจาเกษียณงาน จึงใช้เวลาว่างจากการทำนามาศึกษาเพิ่มเติม เพื่อทำใช้ในครอบเรือน และนอกจากนี้คุณปู่ยังชอบงานศิลปหัตถกรรมทุกประเภทอีกด้วย เช่น กระบวยกะลามะพร้าว โคมไฟกะลามะพร้าว โมบายกะลามะพร้าว เป็นต้น คุณปู่ทำทั้งในครอบเรือนและจำหน่าย\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\n \n\n\n\n\n\n\n\n\nขั้นตอนที่ 1 คือ เลื่อยกะลามะพร้าวตามขนาดที่ต้องการ ขั้นตอนที่ 2 คือ นำกระดาษทรายมาขัดผิวกะลามะพร้าว\n\n\n\n\n\n\n \n\n\n\n\n\nชั้นตอนที่ 3 คือ เลื่อยไม้เพื่อทำด้ามจับ ชั้นตอนที่ 4 คือ เจาะกะลามะพร้าวจำนวน 4 รู \n เพื่อใช้เชือกผูกติดกับด้าม\n\n\n\n\n\n\n \nขั้นตอนที่ 5 การทำทัพพีจากกะมะพร้าวพร้อมนำเชือกมาผูกเข้ากับด้าม\n\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\nภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำทัพพีกะลามะพร้าว นี้ได้รับการถ่ายทอดจากคนในหมู่บ้านและ ศึกษาวิธีการทำเพิ่มเดิมจากรายการทีวี ซึ่งคุณปู่ได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับลูกหลานชาวหมู่บ้านหว้านใหญ่ \nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\nการถ่ายถอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการถ่ายทอดโดยอาศัยหลักการจำ คือได้มีการฝึกทำและทดลองทำอยู่ทุกวัน จนเกิดความเคยชิน สุดท้ายก็สามารถถ่ายถอดวิชาความรู้ ให้กับผู้ที่สนใจ จึงทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริมและมีรายได้เพิ่มหลังจากการทำนา ที่สำคัญ ได้ส่งเสริมภูมิปัญญาไว้สืบทอดให้ลูกหลานของคนในท้องถิ่นต่อไป\nพิกัด (สถานที่) หมู่บ้านหว้านใหญ่ ตำบลหว้านใหญ่ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\n\nชื่อผู้ศึกษา นางสาวสุชาวดี สุวรรณกาฬ \n\nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 \nรายวิชา ความเป็นครู (800 5201) \nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \nคณะ ศึกษาศาสตร์ \nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\nสถานที่ทำงาน โรงเรียนหว้านใหญ่วิทยา\nอาจารย์ผู้สอน\n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย\nhttps://youtu.be/wHGokCHURog
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ครู / อาจารย์, นักเรียน / นักศึกษา, ทั่วไป, ผู้ปกครอง
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  ปอน เมืองโคตร
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   สุชาวดี สุวรรณกาฬ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   ทัพพีกะลามะพร้าว, สุชาวดี สุวรรณกาฬ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ทัพพีกะลา, ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
URL  :   https://youtu.be/wHGokCHURog
จำแนกตามระดับชั้น :   ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, กิจกรรม และ Labs, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
 

  ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง