การทอผ้าฝ้ายด้วยกี่พื้นเมือง

ข้อมูลผลงาน

  1,224      4,023
 
Creative Commons License
การทอผ้าฝ้ายด้วยกี่พื้นเมือง is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  การทอผ้าฝ้ายด้วยกี่พื้นเมือง
คำอธิบาย :  ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา คุณแม่สายัณฑ์ เจนไพร \nที่อยู่ ๖๑ ม.๗ บ้านโคกใหญ่ ตำบลห้วยยาง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น \nอาชีพ เกษตรกร อายุการศึกษาภูมิปัญญา ๕0 ปี \n\nชื่อภูมิปัญญา การทอผ้าฝ้ายด้วยกี่พื้นเมือง\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญาการทอผ้าฝ้ายด้วยกี่พื้นเมือง \n สายใยความผูกพันแห่งชีวิตและเส้นใยฝ้าย (cotton) คือ เส้นใยเก่าแก่ชนิดหนึ่งซึ่งใช้ในการทอผ้ามาแต่สมัยโบราณ สิ่งที่บ่งบอกให้รู้ว่ามนุษย์มีการปลูกฝ้ายและปั่นฝ้ายเป็นเส้นด้ายมานานแล้ว คือหลักฐานทางโบราณคดี ซึ่งขุดพบในซากปรักหักพังอายุประมาณ ๓,๐๐๐ ปี ก่อนคริสตกาลที่แหล่งโบราณคดีโมฮันโจดาโร (Mohenjo daro) ซึ่งอยู่ในบริเวณแหล่งอารยะธรรม ลุ่มแม่น้ำสินธุในเขตประเทศปากีสถานปัจจุบัน\n ส่วนการทอผ้าฝ้ายในประเทศไทยนั้นสันนิษฐานว่าการปลูกฝ้ายในไทยรับเอาพันธุ์ และวิธีการมาจากประเทศอินเดียพันธุ์ฝ้ายในประเทศไทยมีหลายชนิด และมีฝ้ายพื้นเมืองอยู่ 3 สายพันธุ์ ซึ่งให้ปุยสีขาวอย่างที่มักพบเห็นทั่วไป และฝ้ายอีกพันธ์ซึ่งให้ปุยสีน้ำตาลอ่อนที่ชาวบ้านเรียกกันว่าฝ้ายอี่ตุ่ย ฝ้ายอี่ตุ่ยเป็นพันธุ์ฝ้ายที่หายากและปั่นยากกว่าฝ้ายพันธุ์สีขาว ส่วนฝ้ายใหญ่นิยมใช้ทอผ้าในระดับอุตสาหกรรมและใช้ท่อผ้าห่ม ทำไส้นวมไม่นิยมนำมาทอเสื้อผ้าเนื่องจากให้เส้นใยที่ใหญ่ \n การปลูกฝ้ายนิยมปลูกราวเดือนพฤษภาคมและรอเก็บในเดือนพฤศจิกายน และเก็บฝ้ายก่อนที่ฝ้ายจะร่วงลงสู่พื้นป้องกันไม่ให้ฝ้ายสกปรก หลังจากเก็บฝ้ายแล้วชาวบ้านต้องนำฝ้ายไปตาก เพื่อคัดเอาแมลงและสิ่งสกปรกออกแยกเอาเมล็ดออกก่อนนำไปปั่นเข็นเป็นเส้นด้าย\n เครื่องทอผ้าพื้นเมือง เรียกว่า กี่ หรือ หูกทอผ้า\n ส่วนประกอบของกี่ทอผ้า\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก\n คุณแม่สายัณฑ์ เจนไพร อายุ ๕๖ ปี อาชีพ เกษตรกร บ้านเลขที่ ๖๑ ม.๗ บ้านโคกใหญ่ ตำบลห้วยยาง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น ได้เริ่มเรียนรู้การทอผ้ามาตั้งแต่ยังเด็กโดยคุณแม่เป็นผู้ถ่ายทอดภูมิความรู้เรื่องการทอผ้าจากเส้นใยต่างๆเนื่องจากต้องใช้ประโยชน์ในครอบครัว ซึ่งเมื่อประมาณ ๕0 ปีก่อน ย้อนหลังยังไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมผ้าเหมือนปัจจุบันนี้คนในสมัยนั้นต้องทอผ้าใส่กันเอง ตำข้าวกินกันเองไม่มีโรงสีข้าว ใช้ตะเกียงไม่มีไฟฟ้า อยู่กันตามหลักธรรมชาติ โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงต้องเรียนรู้การบ้านการเรือนให้พร้อมในทุกด้านโดยเฉพาะการทอผ้า แม่สายัณฑ์ เจนไพร ฝึกเก็บดอกฝ้าย อิ้วฝ้าย ช่วยงานคุณแม่ของท่านตั้งแต่อายุ ๕ ขอบโดยเริ่มจากงานง่ายๆก่อนจนกระทั้งอายุ ๑๐ ขอบเริ่มขึ้นกี่ทอผ้าเริ่มทอจากผ้าสีผืนทำไปเรื่อยจนชำนาญ สามารถมัดหมี่ ทอลาย ผูกลาย จนชำนาญสามารถทอผ้าได้หลายชนิดเช่น ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าหมี่ ผ้าห่ม ทำไส้ผ้านวม ทำย่าม ขิดหมอน เป็นผู้ชำนาญการเรื่องการทอผ้าจากเส้นใยธรรมชาติและสามารถแปรรูปผ้าต่างๆเป็นของใช้ได้สารพัดประโยชน์\n(นางสาวจุฑามาศ รัตนทิพย์ , ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐:สัมภาษณ์)\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\nวัสดุอุปกรณ์ในการทอผ้า\n๑.ฝ้าย ๒.ไม้ดีดฝ้าย\n๓.ไม้หล้อฝ้าย ๔.หลักเปีย\n๕.เครื่องอิ้วฝ้าย ๖.หลา\n๗.อักหรือกี้ ๘กงด้าย \n๙.หลักเฝีย ๑๐.ไม้คั่นด้ายนับหลบฝ้าย\n๑๑.ฟืมทอผ้า ๑๒.กี่ทอผ้า\n๑๓.กระสวย ๑๔.หลอดด้าย\n\n ขั้นตอนวิธีการทอผ้า\n ๑.การทำเส้นด้ายจากดอกฝ้าย \n ๒.การค้นด้ายฝ้ายทำเคลือทอผ้า \n ๓.ขั้นสืบหูกใส่ฟืมทอผ้า\n ๔ขั้นนำฟืมขึ้นกี่ (ออกหมากหญ้า)\n ๕.ขั้นปั่นเส้นด้ายใส่กระสวยขึ้นทอ\n\n\n\n\n\n\n\n\n๑.การทำเส้นด้ายจากดอกฝ้าย\n\n\n\n ๑.เก็บดอกฝ้าย\n\n \n\n\n\n\n\n \n ๒.นำดอกฝ้ายมาตากแดด\n\n\n\n\n\n\n ๓.เก็บสิ่งสกปรกออกฝอย \n \n\n\n\n\n\n\n\n ๔.อิ้วฝ้ายเอาเมล็ดออก\n\n\n\n\n\n\n\n\n ๕.ดีดฝ้าย\n\n\n\n\n\n\n \n ๖. หล้อฝ้าย\n\n\n\n\n\n\n\n ๗. นำฝ้ายที่หล้อได้ไปตากแดด\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n ๘. เข็นฝ้าย\n\n\n\n\n\n\n\n\n ๙.เปียฝ้าย\n\n\n\n\n\n\n\n ๑๐.นำด้ายออกจากหลักเปีย ๑๐.นำด้ายออกจากหลักเปีย \n \n\n\n\n\n\n\n ๑๑.นำไปใส่กงด้าย \n\n\n\n\n\n\n\n๑๒.กวักฝ้ายทำเป็นปอย\n\n\n\n\n๑๒.กวักฝ้ายทำเป็นปอย\n\n\n\n\n\n\n\n \n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n \n\n\n\n\n\n\n \n \n\n \n ๑๓.ฆ่าฝ้าย\n \n \n \n \n \n \n \n\n ๑๔.ทำด้ายให้อ่อนนุ่มด้วยน้ำต้มข้าวจ้าว \n \n \n\n\n \n \n \n นำฝ้ายดึงทกกับลาวไม้เอาเมล็ดข้าวออกจาก\n ฝ้ายให้หมด\n \n \n \n\n\n\n \n \n ๑๖.ตากให้แห้งก็จะได้เส้นฝ้าย\n สำหรับทอแล้วค่ะ\n \n \n\n\n\n\n\n \n 2.ขั้นค้นฝ้าย\n\n การค้นฝ้ายมีดั้งนี้\n 4 เส้น เป็น 1 ความ\n 1 ความ เป็น 1 ไม้\n 10 ไม้ เป็น 1 หลบ (ค้นหลบตามขนาดของฟืม)\n\n \n \n\n \n\n\n\n\n\n\n 3.ขั้นสืบหูก\n\n การสืบหูกมีดังนี้\n นำเคลือมาสืบใส่เขาฟืมโดยการต่อด้ายเส้นต่อเส้น\n \n\n \n \n\n\n\n\n\n\n\n๔.นำฟืมที่สืบเสร็จแล้วขึงขึ้นกับกี่ทอผ้า (ออกหมากหญ้า)\n มีขั้นตอนดังนี้\n ๑.นำฟืมขึ้นแขวนกับไม้หาบหูกบนกี่ทอผ้า\n ๒.จัดเคลือฝ้ายเรียงเส้นฝ้าย\n ๓.ออกหมากหญ้าคือการดึงเคลือสืบผ่านเขาเข้ามาใน\n ฟืมและนำไม้ค้ำพันสอดเข้ารู้ฟืมเพื่อยึดระหว่างกี่กับฟืม\n ๔.แต่งฟืมเขาฟืมจัดให้พอดีกับจังหวะการทอผ้าของเรา\n ๕.คัดอกหูก \n \n\n\n\n\n๕.ปั่นเส้นด้ายใส่กระสวยขึ้นทอ\n มีขั้นตอนดังนี้\n ๑.นำหลอดปั่นฝ้ายที่เตรียมไว้มาปั่นกับหลา\n ๒.นำหลอดด้ายที่ปั่นได้แล้วใส่กระสวยขึ้นทอ\n ๓.ทอไปเรื่อยๆก็จะได้ผ้าตามที่เราต้องการ\n\n\n \n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\nภาพอุปกรณ์การทอผ้า\n\n\n \n\n\n \n\n\n\n\n\n\n\n \n\n \n\n \n\n\n\n\n \n \n \n \n\n \n\n \n \n\n \nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ \nใช้การจดจำและการเล่าสู่กันฟังเป็นการสืบทอดความรู้ไปสู่คนรุ่นหลัง\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์\nให้ประชาชน คนรุ่นหลัง หรือองค์กรเข้ามาศึกษาเรียนรู้ได้\nพิกัด (สถานที่)\nบ้านเลขที่ ๖๑ ม.๗ บ้านโคกใหญ่ ตำบลห้วยยาง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น ๔๐๑๗๐\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา ๒๕๖๐\nชื่อผู้ศึกษา นางสาวจุฑามาศ รัตนทิพย์\n \n\nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น ๔\n \nรายวิชา ความเป็นครู (๘๐๐๕๒๐๑)\n \nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น\n \nคณะ ศึกษาศาสตร์\n \nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\n \nสถานที่ทำงาน โรงเรียนโนนสมบูรณ์โคกใหญ่\n\nอาจารย์ผู้สอน\n๑ รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\n\n๒ อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\n\n๓ อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\n\n๔ อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\n\n๕ อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\n\n๖ อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย\n\n\nhttps://youtu.be/1t9T2VR41GY
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  สายัณฑ์ เจนไพร
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   จุฑามาศ รัตนทิพย์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, การทอผ้าฝ้ายด้วยกี่พื้นเมือง, การทอผ้าฝ้าย, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
URL  :   https://youtu.be/1t9T2VR41GY
จำแนกตามระดับชั้น :   มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน