การทำไม้กวาด

ข้อมูลผลงาน

  2,143      3,619
 
Creative Commons License
การทำไม้กวาด is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  การทำไม้กวาด
คำอธิบาย :  ชื่อหัวข้อภูมิปัญญา\nสถานที่\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา คุณพ่อสำราญ อินทมา \nที่อยู่ บ้านเลขที่ 95 หมู่ 2 บ้านโนนเขวา ตำบลโนนทอง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ \nจ.ชัยภูมิ \nอาชีพ ทำนา อายุการศึกษาภูมิปัญญา 5 ปี \n\nชื่อภูมิปัญญา ไม้กวาดทางมะพร้าว บ้านโนนเขวา\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา\n คุณพ่อได้ศึกษาการทำไม้กวาดทางมะพร้าว โดยที่คุณพ่อไม่ได้ไปเรียนรู้จากผู้รู้คนอื่น คุณพ่อได้เรียนรู้การทำไม้กวาดทางมะพร้าวจากการนำไม้กวาดที่เสร็จสมบูรณ์แล้วมาแกะดูและลองประกอบไม้กวาดทางมะพร้าวใหม่ ซึ่งคุณพ่อบอกว่าคุณพ่อได้ลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้งกว่าจะประกอบได้และเกิดความชำนาญ ตอนนี้คุณพ่อได้มีรายได้จากการทำไม้กวาดทางมะพร้าวขายด้ามละ 40 บาท หากมีลูกค้าซื้อไปแล้วเกิดการชำรุดคุณพ่อบอกว่าให้นำมาเปลี่ยนคืนได้\n\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\n ก้านมะพร้าว 1 ก้านนั้นมีประโยชน์มากมาย สามารถทำเป็นไม้กวาดทางมะพร้าวก็ได้ ไม้กวาดทางมะพร้าว คือ ไม้กวาดที่ทำได้จากก้านใบของมะพร้าว โดยตัดก้านใบย่อยตรงโคนกลางจากทางมะพร้าว จากนั้น นำใบมะพร้าวมากรีดแยกแผ่นใบทั้งสองข้างออก ก่อนนำไปตากแดดให้แห้ง จากนั้นตัดโคนก้านให้เสมอกัน ก่อนนำมามัดติดเป็นแผงกับด้ามไม้ไผ่ ไม้กวาดทางมะพร้าว เป็นวัสดุทำความสะอาด นิยมใช้กวาดทำความสะอาดลานบ้าน ลานหญ้า สำหรับกวาด เศษขยะต่าง ๆ ให้กองรวมกันก่อนนำเศษขยะไปทิ้ง \nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\nวัสดุแลละอุปกรณ์ \n1.ก้านใบมะพร้าว 2.ด้ามไม้ไผ่ 3.มีดหรือกรรไกรเหล็ก 4.ลวดและคีมตัดลวด\n5.เชือกไนล่อน 6.ตะปู 7.ปากกาเคมี 8.ค้อน 9.ยางในรถจักรยาน\nขั้นตอนการทำ \n1.นำก้านมะพร้าวมาตัดออกจากแกนใหญ่ แล้วนำไปผึ่งแดดจนกว่าก้านมะพร้าวจะแห้ง\n2.นำก้านมะพร้าวมาเหลาเอาใบออก \n3.นำด้ามไม้ไผ่มาแล้ว ใช้ยางในรถจักรยาน พันมัดปลายด้ามไม้ไผ่ให้หนาประมาณ 1 เซนติเมตร\n4.มัดทางมะพร้าวเป็นกำเล็ก ๆ ด้วยเงื่อนที่ใช้มัดรวมกันทำเป็นพุ่มแรก \n5.มัดทางมะพร้าวแบบเดียวกับพุ่มแรก เมื่อได้ทรงพุ่มแล้วใช้สันมีดดอกอัดพุ่มให้บานเสมอกันกับพุ่มแรก จากนั้นบากคอไม้ด้านใดด้านหนึ่งประมาณ 1 เซนติเมตรแล้วตึงด้วยเชือก\n6.พันทางมะพร้าวที่ถักแล้วรอบด้าม ถักเป็นลายขัดล๊อกติดกับด้าม ทับเป็นชั้นที่สองเพื่อความคงทนและสวยงาม\n \n \n\n\n \nภาพ ก้านมะพร้าวที่ผ่านการตากแห้งแล้ว ภาพ ไม้กวาดทางมะพร้าวที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว\n\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\nคุณพ่อสำราญ บอกว่าท่านใช้วิธีการจดจำจากการนำไม้กวาดทางมะพร้าวที่เสร็จสมบูรณ์แล้วมาแกะลองประกอบใหม่ \n\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\nคุณพ่อสำราญบอกว่า หากมีคนสนใจให้เอาไปเรียนรู้ภูมิปัญญากับท่านที่บ้านท่านเลย ท่านจะถ่ายทอดความรู้ให้แบบไม่หวง พร้อมกับการลงมือปฏิบัติ\n\nพิกัด (สถานที่)\nบ้านคุณพ่อสำราญ อินทมา บ้านเลขที่ 95 ม.2 บ้านโนนเขวา ตำบลโนนทอง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\nชื่อผู้ศึกษา นางสาววิภารัตน์ ฦาชา \n\nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 \nรายวิชา ความเป็นครู (800 5201) \nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \nคณะ ศึกษาศาสตร์ \nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\nสถานที่ทำงาน กศน.อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ\nอาจารย์ผู้สอน\n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง(ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย\n\n\nhttps://youtu.be/tx_iON55n2M
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  สำราญ อินทมา
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   วิภารัตน์ ฦาชา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, การทำไม้กวาด, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ไม้กวาด
URL  :   -
จำแนกตามระดับชั้น :   มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
 

  ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง