สมสวยฝ้ายงาม

ข้อมูลผลงาน

  265      688
 
Creative Commons License
สมสวยฝ้ายงาม is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  สมสวยฝ้ายงาม
คำอธิบาย :  ภูมิปัญญาท้องถิ่น : สมสวยฝ้ายงาม\\nบ้านเลขที่ ๑๑๓ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลเมืองเพียง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ๔๐๑๑๐\\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \\nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางสมสวย บ้งนาง \\nที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๑๓ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลเมืองเพียง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ๔๐๑๑๐ โทร 086-2274306 \\nอาชีพ รับจ้างทั่วไป อายุการศึกษาภูมิปัญญา 20 ปี \\nชื่อภูมิปัญญา สมสวยฝ้ายงาม\\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา\\n ผ้าฝ้ายสมสวยทอด้วยมือและคัดเลือกฝ้ายที่มีในท้องถิ่นบ้านละว้า ต.เมืองเพียง อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ที่ปลูกตามสวนตามท้องนาในหมู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฝ้ายที่ผู้ผลิตปลูกเองและรับซื้อจากคนในชุมชนด้วยกัน โดยมีวิธีการทอที่แตก่ต่างจากคนอื่นทั้งลาดลายและการทอ ลายผ้า ซึ่งเป็นการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษต่อกันมานับร้อยปี ซึ่งลายผ้าแต่ละแบบจะไม่เหมือนกันเพราะเวลาทอจะคิดแบบที่ใหม่ๆอยู่เสมอ สำหรับการใส่จะสบายไม่ทำให้คันหรือเป็นอันตรายต่อผิว การรับรักษาก็ง่ายเหมือนกับเสื้อผ้าทั่วไป\\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\\n \\n- วันที่ 15กรกฏาคม 2559 ได้รับประกาศนียบัตรคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับสามดาว ประเภท ผ้า เครื่องแต่งกาย ตามดครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ปี ๒๕๕๙\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n- สำนังานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้อนุญาตให้ใช้เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน\\n\\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\\n\\n \\n\\nขั้นตอนที่ ๑ จัดเตรียมวัสดุดังนี้\\n ๑. ฝ้าย ฝ้ายที่ทอในปัจจุบันไม่ได้ปลูกเอง แต่จะซื้อสำเร็จรูป ซึ่งมีทั้งฝ้ายที่ย้อมสีสำเร็จและฝ้ายที่ต้องนำมาย้อมสีเอง\\n ๒. กี่ทอผ้า การทอผ้าฝ้ายของกลุ่มสตรีบ้านเหล่าปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นการทอด้วยกี่กระตุก เนื่องจากเป็นการทอผ้าที่มีหน้ากว้าง การทอด้วยกี่กระตุกช่วยทำให้การทอผ้ารวดเร็วขึ้น โดยเพิ่มปริมาณความยาวของผ้าได้มากกว่าการทอผ้าที่พุ่งกระสวยด้วยมือ กี่กระตุกที่พบในปัจจุบันมี ๒ ขนาด คือ กี่ขนาดใหญ่ใช้ทอผ้าที่มีความกว้างมาก เวลาทอต้องใช้คน ๒ คนช่วยกันพุ่งกระสวยไปมา ส่วนกี่ขนาดที่สองเป็นกี่ขนาดเล็กซึ่งใช้แรงงานของคนทอเพียงคนเดียว\\n ๓. เฟือขอ มีลักษณะเป็นโครงสี่เหลี่ยมผืนผ้า อาจทำจากไม้หรือเหล็กก็ได้ โดยปลายทั้งสองข้างตามแนวนอนมีด้ามเล็กๆ ยึดติดอยู่เป็นระยะ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียงด้ายเส้นยืนตามความยาวที่ต้องการ\\n ๔. กงกว๊าง เป็นอุปกรณ์สำหรับคลี่เส้นฝ้ายเพื่อให้ง่ายต่อการทำมาปั่นใส่กระป๋อง\\n ๕. กระป๋องหรือหลอดฝ้ายขนาดใหญ่ กระป่องหรือโครงไม้เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้พันฝ้าย\\n ๖. เพียนปั่นด้าย เพียนปั่นด้ายเข้าหลอดหรือกงปั่นหลอดด้าย ปัจจุบันทำจากซี่และวงล้อรถจักรยาน ใช้สำหรับกรอเส้นฝ้ายที่เป็นเส้นพุ่งใส่หลอดไม้ไผ่ที่จะนำไปใส่ในกระสวย\\n ๗. บันไดลิง บันไดลิงในอดีตมีลักษณะเป็นเถาวัลย์ ที่มีลักษณะโค้งงอเหมือนบันได ปัจจุบันบันไดลิงหายาก จึงเปลี่ยนมาใช้ไม้ตอกตะปูห่างกันประมาณ ๓ นิ้ว โดยดัดตะปูให้โค้งงอสำหรับเกี่ยวเส้นฝ้ายไว้และยังคงใช้ชื่อเรียกดังเช่นอดีต\\n\\n\\n\\n\\n\\nขั้นตอนที่ 2 การทอผ้าฝ้าย\\n\\n \\n\\n- การทอผ้านั้นต้องอาศัยฝีมือและความรู้ความชำนาญของผู้ทอเป็นอย่างมาก เป็นงานศิลปะที่มีอยู่เพียงชิ้นเดียวในโลก เพราะแต่ละคนที่ทำแต่ละขั้นตอน จะมีความแตกต่างกัน เส้นไหมที่สาวได้แต่ละช่วงเวลาหรือแต่ละระยะของฝักไหมให้ความหนาของเส้นไม่เท่ากัน สีไม่เหมือนกัน นอกจากนั้นแล้วความสามารถในการทอ การสอดกระสวย ความแรงในการตีกระทบหรือการฟัดทำให้ได้สีเข้มอ่อนต่างกัน การเรียงเส้นไหมให้ตรงลายจะแสดงถึงความคมชัดและความชำนาญของผู้ทอแต่ละคน อากาศ อุณหภูมิ หรือแม้แต่อารมณ์ความรู้สึกของผู้ทอ สิ่งเหล่านี้มีผลกับความสวยงามของผ้าผืนนั้น ๆ จึงทำให้ผ้าทอมือแต่ละผืนที่ทอ มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองและมีเพียงผืนเดียวในโลกเท่านั้น\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\nชั้นตอนที่3 เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต\\n \\n- เทคนิคพิเศษที่ใช้ในการทอผ้า การขิด\\nขิด หมายถึง กรรมวิธีในการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ ขึ้นมา โดยวิธีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษในระหว่างการ ทอ เพื่อให้เกิดลวดลายที่โดดเด่นกว่าสีพื้น วิธีการทำคือ ใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิด เพื่อช้อนเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่งไปตามแนวที่ถูกจัดช้อน จังหวะการสอดเส้นด้ายพุ่งนี่เอง ที่ทำให้เกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ\\n\\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\\nชื่อผู้ศึกษา นายจีรศักดิ์ โยมะบุตร 6080110083 Sec.3 \\nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น ๔ \\nรายวิชา ความเป็นครู (800 5201) \\nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \\nคณะ ศึกษาศาสตร์ \\nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\\nสถานที่ทำงาน กศน.อำเภอบ้านไผ่\\nอาจารย์ผู้สอน\\n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง(ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\\n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\\n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\\n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย\\n\\n\\nhttps://youtu.be/lKu1dOVnybM
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  สมสวย บ้งนาง
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   จีรศักดิ์ โยมะบุตร, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, สมสวย บ้งนาง, การทอผ้า, ผ้าไหม, สมสวยผ้างาม, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
URL  :   https://youtu.be/lKu1dOVnybM
จำแนกตามระดับชั้น :   มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
 

  ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง