การทำลูกประคบ ตรา ๙ เซียน

ข้อมูลผลงาน

  509      981
 
Creative Commons License
การทำลูกประคบ ตรา ๙ เซียน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  การทำลูกประคบ ตรา ๙ เซียน
คำอธิบาย :  การทำลูกประคบ ตรา ๙ เซียน\n บ้านดงกลาง ตำบลบ้านโต้น \n อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางสง่า เนาวงศ์ \nที่อยู่ 286 หมู่ 7 บ้านดงกลาง ตำบลบ้านโต้น อ.พระยืน จ.ขอนแก่น\nโทร : 081-3912959, 043-267326 \nอาชีพ ทำนา อายุการศึกษาภูมิปัญญา 22 ปี \n\nชื่อภูมิปัญญา การทำลูกประคบ\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \nจัดตั้งเมื่อ วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2538 คุณแม่สง่า เนาวงศ์ ได้มองเห็นว่าในหมู่บ้านมีสมุนไพรอยู่จำนวนมาก จึงได้คิดว่าจะทำยังไง ถ้าเอาสมุนไพรมารวมกันมันจึงจะเกิดเป็นมูลค่า ก็เลยคิดว่าน่าจะทำเป็นสมุนไพรที่ใช้เพื่อบำบัดในการรักษาสุขภาพของตนเอง จึงคิดที่จะทำลูกประคบ เมื่อสมัยก่อนเรียกว่า ยาตั้ง ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานเข้ามาพัฒนา เช่น หน่วยงานพัฒนาชุมชน หน่วยงานสหกรณ์ หน่วยงานเกษตร และหน่วยงานสาธารณสุข ซึ่งลูกประคบนี้มีสมุนไพรทั้งหมด 9 ตัว จึงใช้ชื่อยี่ห้อว่า “ลูกประคบสมุนไพร ตรา 9 เซียน”\n\n\n\n\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\n“ลูกประคบสมุนไพร” สามารถใช้ประคบได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย ยกเว้นบริเวณผิวหน้า ขึ้นอยู่กับอาการของโรค อาทิ ท่อนขารวมทั้งขาอ่อน น่อง เข่า ฝ่าเท้า หรือ หลังเท้า นอกจากนั้นส่วนของแผ่นหลัง เอว สะโพก ช่วงไหล่ แขน หน้าท้องและชายโครง ก็ทำการประคบได้เช่นกัน ประโยชน์ของการประคบ ลูกประคบสมุนไพรมีมากมายมหาศาล อีกทั้งยังเป็นที่ยอมรับของการแพทย์แผนไทยหรือแม้แต่การแพทย์อายุรเวทในปัจจุบัน ว่าเป็นวิธีรักษาโรควิธีหนึ่ง และมีประสิทธิภาพในการบำบัดรักษา โดยเฉพาะการช่วยลดความเครียด กำจัดความอ่อนเพลีย สร้างความสดใสให้แก่อารมณ์และความรู้สึก ช่วยคลายความเนื้อ คลายเส้นเอ็น เส้นสายในผู้ป่วยให้ผ่อนคลายลง ไม่ตึงเครียดและอึดอัด\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\nอุปกรณ์ในการทำลูกประคบสมุนไพร\n- เครื่องบด\n- ตัวยาสมุนไพรรวมที่ใช้ทำลูกประคบสมุนไพร\n- ผ้าดิบสำหรับห่อทำลูกประคบสมุนไพร 2 ผืน \n- เชือก 2 เส้น ยาว 1 เมตร\n- หม้อนึ่งลูกประคบสมุนไพร\n- กะละมัง ถุงมือ ผ้าขนหนู\n- จานรองลูกประคบสมุนไพร\n\nตัวยาสมุนไพรที่นิยมใช้ทำลูกประคบ\n1. ไพล 2. ผิวมะกรูด \n\n\n\n\n\n\n\n\n\n 3. ตะไคร้บ้าน 4. ใบมะขาม \n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n5. ขมิ้นชัน 6. ใบหนาด \n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n7. การบูร 8. ใบเป้า บำรุงโลหิต \n\n\n\n\n\n\n\n \n\n\n9. ใบเตย ให้กลิ่นหอม\n\n\n \n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\nเมื่อได้สมุนไพรมาแล้วก็นำมาตาก ซึ่งต้องใช้เวลาในการตากให้แห้ง 3 แดด\n\n วิธีทำลูกประคบ\n1.ล้างสมุนไพรให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆโขลกพอเเหลก คลุกให้เข้ากัน \n\n\n\n\n\n\n\n2. นำส่วนทั้งหมดมาวางตรงกลางของผ้า เริ่มต้นจับมุมผ้าทีละ 2 มุม ขึ้นมาทบกัน จับจนครบทั้ง 4 มุม ให้รวบมุมผ้าที่ละมุม อีกครั้งหนึ่งจนครบอีกทั้ง 4 มุม\n\n\n\n\n\n \n\n3. แต่งชายผ้าให้เรียบร้อย ซ้อนกันเป็นชายเดียวจากนั้นค่อยๆ จัดแต่งลูกประคบให้เป็นรูปทรงกลมที่สวยงาม มัดด้วยเชือกที่ทำเป็นห่วงคล้อง แล้วมัดปมให้แน่น\n\n\n \n\n\n\n\n \n\n\n4. การทำด้ามจับ โดยการจับชายผ้าที่เหลือมาซ้อนกันให้เรียบร้อย เสร็จแล้วพับเข้าหากันเพื่อเก็บซ่อนชายผ้าทั้งสองด้าน\n\n \n\n5. จัดแต่งและซ่อนชายผ้าเรียบร้อยแล้ว ให้พับปลายลงมา กะประมาณความยาวก้านให้สวยงาม ม้วนทบด้ามให้เรียบร้อย ใช้ปลายเชือกเส้นเดิมผูกแบบเงื่อนตายให้แน่น อีกครั้งหนึ่ง\n\n\n\n\n\n\n\n\n6. ซ่อนปลายเชือกไว้ในซอกผ้าตรงรอยพับที่เป็นด้ามจับ และเพื่อให้ลูกประคบมีความแข็งแรงสวยงาม คงทนต่อการใช้งาน การทำเช่นนี้จะทำให้เชือกเรียงกันดูสวยงามและเป็นระเบียบ\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\nวิธีการใช้ลูกประคบสมุนไพร\n นำลูกประคบสมุนไพร 2 ลูก ไปนึ่งในหม้อนึ่ง (หม้อดินหรือหม้ออะไรก็ได้) นึ่งประมาณ 15-20 นาที เมื่อลูกประคบสมุนไพรร้อนให้นำลูกแรกไปประคบตามจุดหรือตำแหน่งที่ต้องการรักษา นำลูกประคบสมุนไพรลูกที่ 2 ไปนึ่งในหม้อระหว่างที่ใช้ลูกประคบลูกแรก เมื่อลูกประคบลูกแรกเย็นลง นำลูกประคบลูกแรกกลับไปนึ่งใหม่อีกครั้ง นำลูกประคบสมุนไพรลูกที่สองมาใช้ประคบต่อไป ทำสลับกันไปมา การประคบต้องให้ลูกประคบร้อนอยู่ตลอดเวลา โดยทั่วไปใช้เวลาในการประคบประมาณ 15-20 นาที ต่อการประคบ 1 ครั้ง แต่ถ้ามีอาการเคล็ดขัดยอก อาจประคบได้วันละ 2 ครั้ง หลังจากประคบสมุนไพรแล้ว ไม่ควรอาบน้ำทันทีเพราะจะไปชะล้างตัวยาออกจากผิวหนัง และอุณภูมิของร่างกายปรับเปลี่ยนไม่ทันอาจจะทำให้เป็นไข้ได้\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\n\nเมื่อก่อนพ่อของคุณแม่สง่า เป็นหมอยาดั้งเดิม แม่สง่าจึงได้จดจำมาตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็ก โดยการสืบทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่น\n\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\n\nให้ลูกหลานรุ่นหลังได้มาสืบทอด หรือองค์กรเข้ามาศึกษาหาความรู้ และวิธีการทำ\n\nพิกัด (สถานที่)\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\nชื่อผู้ศึกษา นางสาววราภรณ์ เอกกุทัพ รหัสนักศึกษา 6080110065\nเลขที่ 5 Sec.3 \nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 \nรายวิชา ความเป็นครู (800 5201) \nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \nคณะ ศึกษาศาสตร์ \nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\nสถานที่ทำงาน โรงเรียนพิมพ์ใจวิทย์ ต.บ้านหว้า อ.เมือง จ.ขอนแก่น\nอาจารย์ผู้สอน\n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย\n\nhttps://youtu.be/OxFqCqtaxVM
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  สง่า เนาวงศ์
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   วราภรณ์ เอกกุทัพ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, การทำลูกประคบ ตรา ๙ เซียน, การทำลูกประคบ, ลูกประคบ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
URL  :   -
จำแนกตามระดับชั้น :   ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สุขศึกษาและพลศึกษา
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
 

  ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง