มัดหมี่

ข้อมูลผลงาน

  1,169      2,281
 
Creative Commons License
มัดหมี่ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  มัดหมี่
คำอธิบาย :  ชื่อหัวข้อภูมิปัญญา การมัดหมี่\\nสถานที่ 29 หมู่ที่ 4 บ้านดงปอ ต.สุมเส้า อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี 41150\\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \\n\\nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางบุญเทียน เลิศสีดา \\nที่อยู่ 29 หมู่ที่ 4 บ้านดงปอ ต.สุมเส้า อ.เพ็ญ \\nจ.อุดรธานี 41150 \\nอาชีพ มัดหมี่ อายุการศึกษาภูมิปัญญา 30 ปี\\n\\n \\nชื่อภูมิปัญญา การมัดหมี่\\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา\\nประวัติการกำเนิดการมัดหมี่ผ้าฝ้ายพื้นบ้าน\\n การมัดหมี่ย้อมครามเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ชาวบ้านดงปอได้ยึดถือและสืบทอดกันมายาวนานซึ่งเป็นอาชีพที่บรรพบุรุษได้ถ่ายทอดให้กับบุคคลรุ่นหลังจากรุ่นสู่รุ่นจนกลายเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านดงปอ อดีตแต่ก่อนนั้นชาวไม่มีเครื่องจักรเหมือนในสมัยนี้ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องมือและเครื่องทอผ้าที่ทำขึ้นแบบภูมิปัญญาดั้งเดิมการทำผ้าหรือเส้นด้ายจะทำมาจากต้นฝ้ายต้นปอเพราะพื้นที่ของหมู่บ้านมีต้นฝ้ายและต้นปอขึ้นเป็นส่วนใหญ่และลายผ้าก็จะเป็นลายผ้าที่เป็นลายที่เรียบง่ายใช้สีธรรมชาติในการย้อมผ้าซึ่งค่อนข้างใช้เวลาในการทำนาน\\n ดังนั้นคุณแม่บุณเทียน เลิศสีดา (คุณยายล้อม) วัย 65 ปี จึงนำเอาภูมิปัญญาที่ตนเองมีอยู่เดิมแล้วมาทำการคิดปรับปรุง ดัดแปลงจนเกิดแรงบันดาลใจในการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการนำเอาต้นแบบของผ้าและลายของผ้าแบบเดิมมาทำการดัดแปลงเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้าและสืบทอดคงไว้ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่น จากเดิมราคาอยู่ที่ 250บาท/เมตร ปัจจุบันราคาเพิ่มขึ้นเป็น 600-700 บาท/เมตร โดยการนำเอาผ้าดิบที่ทอเสร็จแล้วมาทำการออกแบบคิดลวดลายผ้าให้มีลวดลายที่ทันสมัย ตรงตามที่ลูกค้าและตลาดต้องการ โดยจะให้สมาชิกในครอบครัวศึกษาหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตและจากหนังสือนิตยสารเกี่ยวกับผ้าและนำมาเป็นต้นแบบในการคิดลายผ้าแบบสมัยใหม่ ซึ่งปัจจุบันก็ได้ทำการมัดและคิดลายผ้าได้หลายลวดลายและหลายรูปแบบจนกลายเป็นบุคคลที่ได้รับการไว้วางใจทางด้านการมัดหมี่ ( น.ส.ชฎาภรณ์ ดาวุธ, 1 ตุลาคม 2560 : สัมภาษณ์ )\\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้(ภายใน/ภายนอก)\\n ด้านความรู้ของการทำอาชีพมัดหมี่ได้ทำการศึกษาค้นคว้าดังต่อไปนี้\\n การศึกษาค้นคว้าภายในศึกษาข้อมูลจากลายผ้าเดิมที่มีอยู่แล้วในครัวเรือนและนำเอาลายผ้าเดิมมาทำการประยุกต์ลายผ้าให้เกิดลายผ้าลายใหม่ขึ้น\\n การศึกษาค้นคว้าภายนอก มีผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่างๆเข้ามาให้ความรู้ภายในชุมชน มีการจัดอบรมส่งเสริมการศึกษาดูงานตลอดจนการไปศึกษาข้อมูลจากแหล่งอื่นๆเช่นการศึกษาหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต\\n\\nการสร้างความรู้(ขั้นตอน/วิธีการสร้างภูมิปัญญา)\\nขั้นตอนการมัดหมี่\\n มัดหมี่ เป็นกรรมวิธีการทอผ้าแบบหนึ่ง ที่อาศัยการย้อมเส้นด้ายก่อนการทอ ทั้งที่ย้อมเฉพาะด้ายพุ่งและย้อมด้ายยืน เพื่อให้เมื่อทอผ้าออกมาเป็นผืนแล้ว เกิดเป็นลวดลายและสีสันตามที่ต้องการ เดิมนั้นนิยมใช้เส้นไหม แต่ปัจจุบันพบการมัดหมี่ทั้งเส้นไหม ฝ้าย และเส้นใยสังเคราะห์\\n คำว่า \\\"มัดหมี่\\\" มาจากกรรมวิธีการ \\\"มัด\\\" เส้นด้ายเป็นกลุ่ม ๆ ก่อนการย้อมสี ส่วน \\\"หมี่\\\" นั้น หมายถึง เส้นด้าย การมัดหมี่ใช้ขั้นตอนยุ่งยาก ตั้งแต่การเตรียมเส้นด้าย และมัดเพื่อย้อมสีเป็นช่วงๆ กระทั่งได้สีที่ต้องการครบถ้วน \\n\\n การมัดหมี่ เป็นการทำลวดลายของผืนผ้า โดยการใช้วัสดุกันน้ำมัดกลุ่มเส้นฝ้ายเป็นลวดลายตามต้องการ ก่อนนำฝ้ายย้อมน้ำสี เมื่อแก้วัสดุกันน้ำออกจึงเกิดสีแตกต่างกัน ถ้าต้องการเพียง 2 สี จะแก้วัสดุมัดฝ้ายเพียงครั้งเดียว หากต้องการหลายสีจะมีการแก้มัดวัสดุหลายครั้ง\\n ก่อนมัดหมี่ ต้องค้นหมี่ก่อน โดยการนำเส้นฝ้ายพันรอบหลักหมี่ 1 คู่ นับจำนวนเส้นฝ้ายให้สัมพันธ์กับลายหมี่ที่จะมัด จากนั้นจึงทำการมัดหมี่กลุ่มเส้นฝ้ายในหลักหมี่ ตามลวดลายหมี่ที่ต้องการ เมื่อถอดฝ้ายมัดหมี่ออกจากหลักหมี่ นำไปย้อมสี บิดให้หมาดแล้วจึงแก้ปอมัดหมี่ออก ทำให้เกิดลวดลายตรงที่แก้ปอออก นำฝ้ายที่แก้ปอมัดแล้วนี้ไปพันรอบหลอดไม้ไผ่เรียกว่า การปั่นหลอด ร้อยหลอดฝ้ายตามลำดับก่อน-หลัง เก็บไว้อย่างดีระวังไม่ให้ถูกรบกวนจนเชือกร้อยขาด ฝ้ายมัดหมี่ในหลอดฝ้ายใช้เป็นเส้นพุ่งในการทอ\\n\\n\\n\\nการค้นหมี่ \\n เส้นฝ้ายมีไขฉาบโดยธรรมชาติ ก่อนนำมาใช้ต้องชุบน้ำให้เปียกทั่วอณูของเส้นฝ้าย โดยชุบน้ำแล้วทุบด้วยท่อนไม้ผิวเรียบ เรียกว่า การฆ่าฝ้าย ก่อนจะชุบฝ้ายหมาดน้ำในน้ำแป้งและตากให้แห้ง คล้องฝ้ายใส่กงแล้วถ่ายเส้นฝ้ายไปพันรอบอัก ตั้งอักถ่ายเส้นฝ้ายพันรอบหลักหมี่ ซึ่งมีความกว้างสัมพันธ์กับความกว้างของฟืมที่ใช้ทอผ้า นับจำนวนเส้นฝ้ายให้เป็นหมวดหมู่ แต่ละหมู่มีจำนวนเส้นฝ้ายสัมพันธ์กับลายหมี่ มัดหมวดหมู่ฝ้ายด้วยเชือกฟาง\\nวิธีการมัดหมี่\\n1. นำด้ายใส่ในฐานมัดจากนั้นทำการเรียงเส้นด้ายให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าจัดลำดับของเส้นด้ายให้เข้าที่\\n2. มัดกลุ่มฝ้ายแต่ละกลุ่มด้วยเชือกฟาง(สีของฟางที่ใช้มัดแล้วแต่ผู้มัดจะเลือกใช้)จนครบหลักหมี่ทำเป็นเชิงผ้า\\n3. การเริ่มต้นลายหมี่ อาจจะมัดจากด้านล่างขึ้นไปด้านบน หรือมัดจากด้านบนเลื่อนลงไปด้านล่างหรือจากซ้ายไปขวา หรือจากขวาไปซ้าย(วิธีการมัดขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้มัดและลวดลายของผ้าที่จะมัด)\\n4. เริ่มมัดปลายเชือกด้านหนึ่งกับลูกหมี่ก่อน จึงพันอีกปลายนึ่งซ้อนทับกันพันจนแน่นเพื่อไม่ให้สีย้อมครามซึมเข้าไปในข้อหมี่ เมื่อพันทับกันไปจนได้ความยาวตามลายหมี่แล้ว มัดปลายเชือกกับลูกหมี่ให้แน่นเช่นกัน โดยเหลือปลายเชือกไว้เมื่อเวลาแก้ปอมัดจะทำได้ง่าย\\n5. เมื่อมัดได้ลายที่ต้องการเสร็จแล้ว เอาเชือกเส้นหนึ่งสอดเข้าไปในช่องหลักหมี่ทั้งสองข้าง ผูกกลุ่มฝ้ายให้เป็นวงไม่ให้หมี่ที่มัดลวดลายแล้วหลุดออกจากกัน และใช้เป็นหูหิ้วสำหรับจับเวลาย้อมคราม เสร็จแล้วทำการถอดฝ้ายมัดหมี่ออกจากหลักหมี่\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\nวิธีการและขั้นตอนการมัดหมี่\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\nขั้นตอนที่ 1 การนำด้ายใส่ในฐานมัด\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\nขั้นตอนที่ 2 การตีเส้นวางโครงสร้างของลายผ้า\\n\\n\\n\\n\\nขั้นตอนที่ 3 การมัดและการแกะลวดลาย\\n\\n\\n \\n\\nขั้นตอนที่ 4 การนำฝ้ายออกจากฐาน\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\n \\n\\nการมัดหมี่ลายกุหลาบประยุกต์ที่เสร็จสมบูรณ์\\n\\n\\nการจัดเก็บและการค้นคว้าความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\\n การจดจำหรือการเก็บความรู้ เป็นรูปแบบของการจดจำและการทำเอกสารบันทึกข้อมูลโดยการบันทึกข้อมูลนั้นจะใช้แบบการบันทึกลงในสมุดเพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาเมื่อต้องการกลับมาดูข้อมูลเก่าหรือรูปแบบการมัดแบบเดิม ซึ่งในสมุดบันทึกนั้นจะประกอบด้วย ขั้นตอนการมัด วิธีการออกแบบลวดลายต่างๆและสมุดเล่มนั้นจะถูกจัดเก็บเอาไว้กับเจ้าของภูมิปัญญา\\n\\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์(ซึมซับไว้กับตนเองหรือเผยความรู้ให้กับองค์กร)\\n การถ่ายทอดความรู้เป็นการถ่ายทอดความรู้แบบเผยความรู้ โดยการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นภายในครอบครัวก่อนจากนั้นจึงถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเกี่ยวกับการมัดหมี่เป็นลำดับต่อไป\\n\\n\\n\\n\\n\\n\\nพิกัด(สถานที่)\\nบ้านเลขที่ 29 หมู่ที่ 4 บ้านดงปอ ต.สุมเส้า อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี 41150\\n\\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\\n\\n\\n\\nชื่อผู้ศึกษา \\n\\nนางสาวชฎาภรณ์ ดาวุธ\\n\\n\\n\\n\\nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัญฑิต) รุ่น4\\nรายวิชา ความเป็นครู (8005201)\\nเน้นศึกษา ครูอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น\\nคณะ ศึกษาศาสตร์\\nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\\nสถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านหนองบัวบาน หมู่ที่ 5 บ้านหนองบัวบาน \\nต.สุมเส้า อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี 41150\\nอาจารย์ผู้สอน\\n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย,ศิลปินมรดกอีสาน)\\n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\\n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\\n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  บุญเทียน เลิศสีดา
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   ชฎาภรณ์ ดาวุธ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   การมัดหมี่, มัดหมี่, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
URL  :   -
จำแนกตามระดับชั้น :   มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, ศิลปะ, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
 

  ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง