การทำข้าวต้มผัด

ข้อมูลผลงาน

  2,751      5,040
 
Creative Commons License
การทำข้าวต้มผัด is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  การทำข้าวต้มผัด
คำอธิบาย :  ภูมิปัญญาท้องถิ่น : การทำข้าวต้มผัด\\\\n294 ซอยอินทรศิริ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 46000\\\\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \\\\nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางพิชชาภรณ์ หงษ์ทอง \\\\nที่อยู่ 294 ซอยอินทรศิริ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง \\\\nจังหวัดกาฬสินธุ์ 46000 \\\\nอาชีพ ค้าขาย อายุการศึกษาภูมิปัญญา 30 ปี \\\\n\\\\nชื่อภูมิปัญญา การทำข้าวต้มผัด\\\\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา\\\\n ข้าวต้มผัดเป็นหนึ่งในขนมไทย ที่น้อยคนนักจะบอกว่าไม่รู้จัก เนื่องจากเป็นขนมที่มีประโยชน์ และมีคุณค่าทางอาหาร สามารถหาวัตถุดิบในการทำได้ง่ายในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังเป็นขนมที่นำข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทยนำมาประยุกต์ ปรุงแต่งเป็นขนมหวาน จึงถือได้ว่าข้าวต้มผัด เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษไทย\\\\n ในประเพณีไทยนั้น ข้าวต้มผัดจัดเป็นขนมยอดนิยมที่มักทำไว้กินเป็นของว่างหรือเอาไปร่วมงานบุญ บ้างก็ทำไส้ถั่วดำ บ้างก็ทำไส้กล้วย บ้างก็ไม่มีไส้ นอกจากนี้เรามักจัดข้าวต้มผัดไปถวายพระในงานบุญต่างๆ การทำข้าวต้มมัดนั้น ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่หลายคนคิด เพียงแต่รู้เคล็ดลับในการทำเท่านั้น ข้าวต้มผัด ไม่ใช่เพียงขนมที่ใช้รับประทานเท่านั้น หากแต่ข้าวต้มมัดยังแฝงไปด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรมไว้ด้วยอย่างเต็มเปี่ยม คงจะเป็นการดีไม่น้อย หากทุกคนในสังคมช่วยกันอนุรักษ์ และให้ความสำคัญกับขนมไทย สมกับที่บรรพบุรุษของเราได้คิดค้น และพยายามทำขึ้นมา เพื่อให้ขนมไทย อยู่คู่คนไทยและประเทศไทย ไม่เลือนหายไป ทั้งหมดนี้คือแรงบันดาลใจ ของแม่พิชชาภรณ์ หงษ์ทอง ในการทำข้าวต้มผัด มานานถึง 30ปี\\\\n (มิ่งขวัญ ภูครองนาค, พฤศจิกายน 2560 : สัมภาษณ์)\\\\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\\\\nประเพณีและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับข้าวต้มมัด\\\\n เมื่อพูดถึงข้าวต้มมัดเราก็จะนึกถึง ข้าวเหนียวห่อกล้วย อาจมีถั่วดำผสมบ้างตามแต่ความชอบ จากนั้นก็ห่อด้วยใบตองแล้วใช้เชือกตอก เชือกกล้วยมัดเป็นสองท่อน ซึ่งก็เป็นรูปแบบตายตัวที่เราเห็นกันจนคุ้นชิน แต่โดยรวมแล้วไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไหร่ ข้าวต้มมัดก็ยังสามารถคงรูปลักษณ์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้อย่างดี หากเปรียบกับขนมไทยอื่นๆที่มีการแปรรูป จนกลายเป็นขนมเดิมรูปลักษณ์ใหม่ที่ไม่คุ้นตา\\\\n ข้าวต้มมัด ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยเรา ในอดีตนิยมทำเพื่อรับประทานกันภายในครอบครัวเสียเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นก็จะนิยมนำไปทำบุญถวายพระหรือใช้ในงานบุญงานเทศกาลต่างๆ เช่นในวันออกพรรษา ก็มีการทำข้าวต้มมัดเพื่อไปทำบุญ แต่ก็มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสม กลายเป็นข้าวต้มลูกโยนที่เรารู้จักกันดีในปัจจุบัน นอกจากนี้ช่วงที่มีงานบุญต้องการผู้มาช่วยงานเยอะจึงมีการชักชวนคนในหมู่บ้านมาช่วยกัน ทำอาหาร ทำขนม และหน้าที่อื่นๆ ซึ่งนี่ก็เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ต้องการให้คนในชุมชนได้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความร่วมมือมีความสามัคคีกันภายในชุมชน\\\\n ในสมัยก่อนคนโบราณนิยมนำข้าวต้มมัดไปถวายพระในวันเข้าพรรษาและออกพรรษา ความเชื่อถือที่สืบเนื่องและพูดต่อกันมาคือ ถ้าชายหนุ่มและหญิงสาวคู่ใดทำบุญด้วยข้าวต้มมัดแล้วนั้น คู่ครองและเรื่องของความรักทั้งคู่จะอยู่นานตลอดกาล เหมือนข้าวต้มมัดที่มัดเข้าด้วยกัน 2 อันเปรียบเสมือนชายหญิงคู่หนึ่ง ในสมัยโบราณนั้นข้าวต้มมัดยังไม่มีไส้อะไรห่อมีเพียงแต่ข้าวเหนียว ต่อมาได้มีการพัฒนานำไส้มาใส่ คือ กล้วย และกล้วยที่เหมาะแก่การนำมาทำไส้คือ กล้วยน้ำว้า เพราะมีขนาดพอดีกับข้าวต้มมัดและเป็นกล้วยที่สุกยากเมื่อนำมานึ่งแล้ว เวลาการนึ่งที่ทำให้ข้าวเหนียวสุกกับเวลาที่ทำให้กล้วยสุกนั้นใกล้เคียงกัน คนโบราณจึงเลือกกล้วยน้ำว้า และต่อมาได้มีการทำลูกโยนขึ้นพร้อมกับข้าวต้มมัดเพราะ บางทีการทำข้าวต้มมัดอาจเหลือข้าวเหนียวจะทิ้งก็เสียดายเลยมาทำเป็นลูกโยน โดยมีแต่ข้าวเหนียวอย่างเดียวไม่มีไส้และเมื่อห่อเสร็จ ก็จะมัดด้วยตอกที่ทำขึ้นจากไม้ไผ่ที่เหลาบาง และนำไปนึ่งในซึ้ง\\\\n คนโบราณเชื่อกันว่าทำบุญด้วยข้าวต้มมัดจะดีในเรื่องความรัก ถ้าทำด้วยใจบริสุทธิ์จริงแต่ถ้าใจหมกมุ่นก็จะไม่ได้ผล ตามตำนานกล่าวไว้ว่าข้าวต้มมัด เป็นข้าวต้มที่พระอินทร์ทานกับนางสนม เมื่อมีความรักต่อกันต่อมาพระอินทร์รู้ว่านางสนมมีชู้ จึงดลบันดารให้ลูกของนางสนม เกิดมาเป็นข้าวต้มมัด เมื่อนางสนมคลอดบุตรก็เป็นข้าวต้มมัดนางสนมรังเกลียดลูกตนเองจึงนำมาทิ้งไว้ที่โลกมนุษย์วันหนึ่งก็มีตายายคู่หนึ่งเข้ามาในป่าและเจอข้าวต้มมัดที่นางสนมมาทิ้งไว้ จึงเก็บไปและลองทำดูจากนั้นข้าวต้มมัดก็เป็นที่แพร่หลายออกมาอย่างมาก และคนก็นิยมรับประทานกัน \\\\n ในอดีตสังคมไทยนั้นอาศัยอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ มีความเอื้อเฟื้อแก่กันภายในหมู่บ้าน ภายในชุมชน บ้านไหนมีงานก็จะช่วยกัน ข้าวต้มมัดก็จะพบได้ในงานสำคัญต่างๆทั้งงานของครอบครัว งานของชุมชน งานประเพณีทางศาสนา และเทศกาลต่างๆ อย่างเช่น หากมีการทำบุญที่วัดก็จะมีชาวบ้านในชุมชนมาช่วยกันทำอาหาร ทำขนม ซึ่งข้าวต้มมัดก็เป็นหนึ่งในขนมที่ใช้ในประกอบพิธี และเลี้ยงต้อนรับผู้ที่เดินทางมาทำบุญ รวมทั้งมอบให้เป็นของทานระหว่างเดินทางกลับเมื่อเสร็จสิ้นพิธีด้วย ความเชื่อของคนในหมู่บ้านตรวจหมู่ที่ 15 ตำบลตรวจ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ มีความเชื่อว่าการทำข้าวต้มมัดเพื่อเป็นอาหารให้แก่บรรพบุรุษได้รับประทาน ข้าวต้มมัดนี้จะใช้ในหลายพิธี เช่น แกลมอ วันสารท วันเข้าพรรษา – ออกพรรษา งานกฐิน พิธีแต่งงาน งานบวช เป็นต้น พิธีต่างๆ เหล่านี้จะใช้ข้าวต้มมัดที่ทำจากใบตอง เนื่องจากหาง่าย สะดวกต่อการใช้ และเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ \\\\nเกร็ดความรู้\\\\nความเป็นมาของข้าวต้มมัด\\\\n ข้าวต้มมัดหรือข้าวต้มผัดเป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำด้วยข้าวเหนียวผัดกับกะทิ แล้วนำไปห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน ใส่ไส้กล้วย นำไปนึ่งให้สุก ทางภาคใต้ใช้ข้าวเหนียวกับน้ำกะทิ ห่อด้วยใบพ้อ เรียกห่อต้ม ถ้าห่อด้วยใบมะพร้าว และมัดด้วยเชือกเรียกห่อมัด ขนมแบบเดียวกับข้าวต้มยังพบในประเทศอื่นอีก เช่นในฟิลิปปินส์เรียก อีบอส หรือซูมัน ที่แบ่งย่อยได้หลายชนิดเช่นเดียวกับข้าวต้มมัดของไทย \\\\n ข้าวต้มมัดอีกชนิดหนึ่งเรียกข้าวต้มลูกโยนเป็นขนมที่ใช้ในเทศกาลออกพรรษา ห่อด้วยใบพ้อหรือยอดมะพร้าวเป็นรูปรี ข้างในเป็นข้าวเหนียวผสมถั่วดำไม่มีไส้ ผูกเข้าด้วยกันเป็นพวงแล้วนำไปต้ม ส่วนข้าวต้มมัดไต้ เป็นข้าวต้มที่ห่อแล้วมัดให้มีลักษณะเหมือนไต้ที่ใช้จุดไฟ ไส้เป็นถั่วทองโขลกกับรากผักชี กระเทียม พริกไทย ใส่หมู มันหมู ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำ น้ำตาลทราย ห่อด้วยใบตองเป็นแท่ง มัดเป็นเปลาะ 4-5 เปลาะ แล้วนำไปต้ม บางท้องที่ใช้เป็นขนมไหว้เจ้าในเทศกาลตรุษจีนและสารทจีนด้วย\\\\n ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกข้าวต้มมัดว่าข้าวต้มกล้วย ใช้ข้าวเหนียวดิบมาห่อ ปรุงรสด้วยเกลือนิดหน่อย ใส่ถั่วลิสงต้มสุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงห่อเป็นมัด ใส่ไส้กล้วย เอาไปต้มให้สุก ถ้าเป็นแบบผัด จะผัดข้าวเหนียวกับกะทิก่อนแล้วจึงห่อใส่ไส้กล้วย แล้วต้มให้สุก ถ้าต้องการหวานจะเอามาจิ้มน้ำตาล ส่วนทางภาคเหนือนิยมนำข้าวต้มมัดที่สุกแล้วมาหั่นเป็นชิ้นๆ คลุกกับมะพร้าวขูด โรยน้ำตาลทราย เรียก ข้าวต้มหัวหงอก\\\\n ข้าวต้มมัดทางภาคใต้ไม่มีไส้ เป็นข้าวเหนียวผัดกับกะทิ ใส่ถั่วขาว ไม่นิยมใช้ถั่วดำ ออกรสเค็มเป็นหลัก ถ้าต้องการให้มีรสหวานจะเอาไปจิ้มน้ำตาล และมีขนมชนิดหนึ่งเรียกข้าวต้มญวน มีลักษณะคล้ายข้าวต้มมัดแต่ห่อใหญ่กว่า ทำให้สุกด้วยการต้ม เมื่อจะรับประทานจะหั่นเป็นชิ้นๆ คลุกกับมะพร้าวขูด เกลือและน้ำตาลทราย\\\\n ครูผู้สอนได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษคือ แม่พิชชาภรณ์ หงส์ทอง อายุ 62 ปี เป็นบุคคลที่อาศัย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้ได้สืบทอดภูมิปัญญา ทำเป็นอาชีพ เพื่อรายได้ให้ครอบครัวตนเอง\\\\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\\\\nส่วนผสม \\\\n1.ข้าวเหนียว 2 กิโลกรัม\\\\n2.กะทิ 2 กิโลกรัม\\\\n3.เกลือ 2 ช้อนโต๊ะ\\\\n4.น้ำตาลทราย 400 กรัม\\\\n5.ใบตอง \\\\n6.กล้วยน้ำว้า\\\\n\\\\n\\\\n\\\\n \\\\nขั้นตอนการทำ\\\\n1.ล้างข้าวเหนียวให้สะอาด และแช่ไว้ 10-20 นาที\\\\n\\\\n \\\\n\\\\n2.ตั้งกระทะใบใหญ่สำหรับกวนข้าวเหนียว เทกะทิลงทั้งหมด เติมเกลือแกง 2 ช้อนโต๊ะ\\\\n\\\\n \\\\n\\\\n3.เทข้าวเหนียวที่สะเด็ดน้ำแล้วลงไปกวน ใช้ไฟปานกลาง อย่าตั้งไฟทิ้งไว้โดยไม่กวน มิเช่นนั้นข้าวจะไหม้\\\\n\\\\n \\\\n4. กวนจนกระทั่งน้ำเริ่มแห้ง และเติมน้ำตาลลงไป\\\\n \\\\n \\\\n5. กวนจนกระทั่งข้าวเริ่มบาน เหลือแกนตรงกลางเล็กน้อยให้ยกลงจากเตา\\\\n\\\\n \\\\n\\\\n6.เลือกใบตอง ทำความสะอาดใบตอง ฉีกใบตอง ขนาด 6 นิ้ว x 7 นิ้ว (กรณีมีใบตองแก่เวลาห่อใบตองจะแตกง่ายให้นำใบตองไปตากแดดให้นิ่ม)\\\\n\\\\n \\\\n8. ไส้กล้วย ปลอกเปลือกและผ่ากล้วย 1 ลูกให้ได้ 4 ชิ้น โดยผ่ากลางกล้วย 1 ครั้งและแบ่งครึ่งอีก 1 ครั้ง\\\\n\\\\n \\\\n9.ตักข้าวเหนียวที่กวนแล้วประมาณ 1 1/2 ช้อนโต๊ะ วางบนใบตองที่เตียมไว้ กดข้าวให้แบน เกลี่ยข้าวให้พอวางไส้ตรงกลางแล้วเหลือข้าวพอห่อปิดไส้\\\\n \\\\n\\\\n10.พับใบตอง ม้วยใบตองจนแน่น จับจีบกลาง พับปลายใบตองเข้าหาตัว ทำทั้งสองด้าน แล้ววางเตรียมนึ่ง\\\\n\\\\n \\\\n\\\\n \\\\n\\\\n\\\\n11. นึ่งประมาณ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง แต่จะให้ดีควรเอาออกมาชิมถ้าข้าวบานสุกทุกเม็ดไม่มีแกนเหลือให้ยกลงจากเตา\\\\n\\\\n \\\\n\\\\n\\\\n \\\\n\\\\n \\\\n\\\\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\\\\n ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำข้าวต้มผัดนี้ได้รับการถ่ายทอดจากแม่ พิชชาภรณ์ หงษ์ทอง อายุ 62 ปี ซึ่งได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับลูกหลาน นักเรียน นักศึกษา จึงทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริมและมีรายได้เพิ่มขี้น และที่สำคัญได้ส่งเสริมและอนุรักษณ์ภูมิปัญญาของชุมชนต่อไป\\\\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\\\\n การถ่ายทอดการทำข้าวต้มผัด เป็นการถ่ายทอดให้กับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่ให้ความสนใจ ซึ่งถือว่าให้ความรู้กับผู้ที่สนใจและเพื่ออนุรักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้สูญหายและให้ลูกหลานสืบทอดต่อไป\\\\n\\\\n\\\\n\\\\nพิกัด (สถานที่) : 16.435207,103.510298 ( บ้านเลขที่ 294 ซอย อินทรศิริ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 46000)\\\\n\\\\n \\\\n\\\\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\\\\nชื่อผู้ศึกษา นางสาวมิ่งขวัญ ภูครองนาค \\\\nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 \\\\nรายวิชา ความเป็นครู (800 5201) \\\\nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \\\\nคณะ ศึกษาศาสตร์ \\\\nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\\\\nสถานที่ทำงาน โรงเรียนอนุบาลสว่างวิทย์ ตำบลอุ่มเม่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์\\\\nอาจารย์ผู้สอน\\\\n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง(ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\\\\n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\\\\n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\\\\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\\\\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\\\\n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  พิชชาภรณ์ หงษ์ทอง
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   มิ่งขวัญ ภูครองนาค, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   การทำข้าวต้มผัด, ข้าวต้มผัดโบราณ, ข้าวต้มผัด, ขนมไทย, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ภูมิปัญญาไทย, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
URL  :   -
จำแนกตามระดับชั้น :   ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน