การทำตุ๊กตาไดโนเสาร์จากหญ้าแฝก

ข้อมูลผลงาน

  547      1,087
 
Creative Commons License
การทำตุ๊กตาไดโนเสาร์จากหญ้าแฝก is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  การทำตุ๊กตาไดโนเสาร์จากหญ้าแฝก
คำอธิบาย :  การทำตุ๊กตาไดโนเสาร์จากหญ้าแฝก\nสถานที่ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \n\nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา 1. นายสุวรรณ บัวพันธ์ อายุ 56 ปี\n 2. นางสาวโสรยา อินพรม อายุ 29 ปี\nชื่อภูมิปัญญา ตุ๊กตาไดโนเสาร์หญ้าแฝกพัฒนาเด็กพิการ\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา\nปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับอนุญาตจากเจ้าของสวนโนนทอง ให้ใช้พื้นที่จำนวน ๑๕ ไร่ เป็นพื้นที่ทำนา โดยนำข้าวที่ได้มาใช้เป็นอาหารกลางวันให้กับเด็กพิการและผู้ปกครองของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้มีการปรับปรุง แหล่งน้ำ โดยการขุดสระ ขุดลอกใหม่ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ทำนา จากการรับฟังบรรยายของท่าน ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นายสุวรรณ บัวพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เกิดความศรัทธาในคุณสมบัติของหญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ช่วยในการดักตะกอนดิน และป้องกันการพังทลายของดิน จึงได้ศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และศึกษาดูงานที่ศูนย์การพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริการพัฒนาดินและน้ำของมูลนิธิชัยพัฒนา จึงได้ประสานขอความอนุเคราะห์ต้นหญ้าแฝกจากสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดกาฬสินธุ์ และนำหญ้าแฝกมาปลูก โดยมีเด็กพิการ ผู้ปกครอง คณะครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องมาร่วมมือในการฝึกปฏิบัติ ทำให้เกิดแรงศรัทธาของผู้ร่วมปฏิบัติในพื้นที่ทดลอง พร้อมได้เชิญชวนศูนย์รวมใจทางไททางธรรม ของนายอาทิตย์ บำรุงเอื้อ นำหญ้าแฝกมาปลูกเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน ขอบสระ และร่องน้ำภายในศูนย์รวมใจทางไททางธรรม โดยมีระดมความคิดเพื่อพัฒนาคุณภาพการเจริญเติบโตของหญ้าแฝก และขยายพื้นที่ปลูกภายในให้ทั่วถึงครอบคลุมพื้นที่ โดยได้รับความช่วยเหลือต้นหญ้าแฝก ปุ๋ย และนักวิชาการการปลูกบำรุงรักษาหญ้าแฝกจากสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดกาฬสินธุ์\nปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ – ๒๕๕๗ ได้ขยายพื้นที่การปลูกและซ่อมแซมส่วนที่มีหญ้าไม่เจริญเติบโตงอกงาม โดยใช้การแยกหน่อจากกอ และเมื่อผู้ปกครองนักเรียนของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้มาร่วมปลูกและเรียนรู้จากศูนย์หญ้าแฝกพัฒนาเด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เห็นความสำคัญ และเชื่อมั่นหญ้าแฝกในการป้องกันการพังทลายของดินและทำให้ดินชุ่มชื่นในฤดูแล้งจึงเป็นผู้ประสานการขอรับต้นหญ้าจากสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดกาฬสินธุ์ ให้ผู้ปกครอง และผู้ที่สนใจนำไปปลูกในพื้นที่ต้องการพัฒนาดินและน้ำ\nปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ ได้รับความอนุเคราะห์พันธ์หญ้าแฝกและสนับสนุนการขุดสระจากสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดกาฬสินธุ์ และเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี จะทรงมีพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา ในปี ๒๕๕๘ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้จัดประชุมผู้ปกครอง คณะครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ตกลงร่วมกันจัดกิจกรรมโครงการปลูกหญ้าแฝกเพื่อ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเนื่องในโอกาสที่จะทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา ในปี ๒๕๕๘ ในบริเวณพื้นที่ศูนย์หญ้าแฝกพัฒนาเด็กพิการ โดยความร่วมมือของเด็กพิการ ผู้ปกครอง ครู บุคลากรสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดกาฬสินธุ์ ชาวบ้านหัวงัว และชุมชนให้มีการรณรงค์และขยายพื้นที่การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ของตนเอง \nปรากฏการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานคืออัศจรรย์ของหญ้าแฝกที่เราได้ไปพัฒนาการปลูกหญ้าแฝกแต่หญ้าแฝกที่ย้อนกลับมาช่วยพัฒนาเด็กพิการของศูนย์ฯ ผ่านกิจกรรมงานอาชีพและของที่ระลึก ในการทำกิจกรรมดังกล่าว ได้ใช้หญ้าแฝก มาบูรณาการทักษะต่างๆ ของเด็กพิการ ไม่ว่าจะเป็น ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ - มัดเล็ก สมาธิ สหสัมพันธ์ของตาและมือ สังคม อารมณ์และจิตใจ ทำให้เด็กพิการเกิดความภาคภูมิใจในศักยภาพและคุณค่าของตนที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานออกสู่สาธารณชนผ่านการจำหน่ายงานฝีมือที่หลากหลายมีความเป็นพื้นฐานอาชีพ ประณีต สวยงามและสามารถดำรงชีวิตอิสระ\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้(ภายใน/ภายนอก)\nฟังบรรยายของท่าน ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นายสุวรรณ บัวพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เกิดความศรัทธาในคุณสมบัติของหญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ช่วยในการดักตะกอนดิน และป้องกันการพังทลายของดิน จึงได้ศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และศึกษาดูงานที่ศูนย์การพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริการพัฒนาดินและน้ำของมูลนิธิชัยพัฒนา จึงได้ประสานขอความอนุเคราะห์ต้นหญ้าแฝกจากสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดกาฬสินธุ์ และนำหญ้าแฝกมาปลูก โดยมีเด็กพิการ ผู้ปกครอง คณะครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องมาร่วมมือในการฝึกปฏิบัติ ทำให้เกิดแรงศรัทธาของผู้ร่วมปฏิบัติในพื้นที่ทดลอง\nปรากฏการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานคืออัศจรรย์ของหญ้าแฝกที่เราได้ไปพัฒนาการปลูกหญ้าแฝกแต่หญ้าแฝกที่ย้อนกลับมาช่วยพัฒนาเด็กพิการของศูนย์ฯ ผ่านกิจกรรมงานอาชีพและของที่ระลึก ในการทำกิจกรรมดังกล่าว ได้ใช้หญ้าแฝก มาบูรณาการทักษะต่างๆ ของเด็กพิการ ไม่ว่าจะเป็น ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ - มัดเล็ก สมาธิ สหสัมพันธ์ของตาและมือ สังคม อารมณ์และจิตใจ ทำให้เด็กพิการเกิดความภาคภูมิใจในศักยภาพและคุณค่าของตนที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานออกสู่สาธารณชนผ่านการจำหน่ายงานฝีมือที่หลากหลายมีความเป็นพื้นฐานอาชีพ ประณีต สวยงามและสามารถดำรงชีวิตอิสระ\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการสร้างภูมิปัญญา)\n ขั้นตอนที่\n1. ตากหญ้าแฝกให้แห้งแล้วนำหญ้าแฝกที่แห้งแล้วไปแช่น้ำหรือจะนำหญ้าแฝกที่ตัดมาสดๆไปต้มเพื่อให้หญ้าแฝกอ่อนเหมาะที่จำทำเชือกบิดเกลียว\n\n\n\n\n\n\n\n2. นำหญ้าแฝกที่แช่น้ำหรือผ่านการต้มแล้วมาทำเชือกบิดเกลียวสำหรับจะนำไปติดส่วนต่างๆของตุ๊กตาไดโนเสาร์\n\n\n\n\n\n\n3. นำกระดาษทรายมาขัดลูกกระทิงและลูกกระบกเพื่อให้ผิวของลูกกระทิงและลูกกระบกหยาบพอที่จะติดกาวได้ง่ายขึ้น\n\n\n\n\n\n\n\n\n4. เมื่อได้ลูกกระทิงและลูกกระบกที่ผ่านการขัดแล้วจะนำเชือกบิดเกลียวจากหญ้าแฝกมาพันติดกันกับลูกกระทิงเพื่อทำลำตัวของไดโนเสาร์และพันติดลูกกระบกเพื่อทำส่วนหัวของตุ๊กตาไดโนเสาร์\n\n\n\n\n\n\n\n\n5. เมื่อได้ส่วนลำตัวและส่วนหัวแล้ว ก็จะใช้ไม้ตะเกียบมาทำเป็นส่วนก็จะมาทำส่วนคอ แขน ขาและหางของไดโนเสาร์ โดยใช้เชือกบิดเกลียวจากหญ้าแฝกมาพันติดกาวเข้าด้วยกันกับไม้ตะเกียบแล้วใช้มีดตัดให้เป็นชิ้นขนาดชิ้นละ 5 ซม.\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n6. เมื่อได้ส่วนต่างๆของตุ๊กตาไดโนเสาร์เรียบร้อยก็มาถึงขั้นตอนการนำส่วนต่างๆมาประกอบเข้าด้วยกันโดยแต่ละส่วนจะต้องใช้ตะปูเข็มตอกยึดส่วนต่างๆไว้ด้วยกัน ใช้ผ้าลายไทยหรือผ้าไหมแพรว่ามาทำเป็นสไบตกแต่งให้กับตุ๊กตาไดโนเสาร์ก็จะดูสวยยิ่งขึ้น\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตัวเอง หรือ เผยความรู้แก่องค์กร)\n การถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาการทำตุ๊กตาไดโนเสาร์นั้น จะใช้วิธีการถ่ายทอดให้คนกับเด็กพิการผู้ปกครอง ผู้ที่สนใจและหมู่บ้านต่างๆในชุมชนเรียนรู้ขั้นตอนกระบวนการทำเพื่อให้เกิดรายได้ เนื่องจากการทำตุ๊กตาไดโนเสาร์จากหญ้าแฝกทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพฯให้ทรงนำตุ๊กตาไดโนเสาร์หญ้าแฝกจำหน่ายที่โครงการภูฟ้า\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\nพิกัด(สถานที่)\nอยู่ที่ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ 400 หมู่ 1 ถ.ถีนานนท์ ต.ยางตลาด อ.ยางตลาด \nจ.กาฬสินธุ์ 46120\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\nข้อมูลผู้ศึกษาภูปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\n\nชื่อผู้ศึกษา นางสาววราภรณ์ อุตรโส\nหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4\nรายวิชา ความเป็นครู ( 8005201 )\nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \nคณะ ศึกษาศาสตร์\nสถานศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\nสถานที่ทำงาน ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ 400 หมู่ 1 ถ.ถีนานนท์ ต.ยางตลาด อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ 46120\nอาจารย์ผู้สอน \n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย,ศิลปินมรดกอีสาน)\n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  สุวรรณ บัวพันธ์
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   โสรยา อินพรม, วราภรณ์ อุตรโส, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   การทำตุ๊กตาไดโนเสาร์จากหญ้าแฝก, สิ่งประดิษฐ์จากหญ้าแฝก, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
URL  :   -
จำแนกตามระดับชั้น :   ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, ศิลปะ
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
 

  ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง