หัวเรื่อง : การเพาะเห็ดฟาง |
คำอธิบาย : ภูมิปัญญาท้องถิ่น \\n เห็ดฟางหนองกระแหล่ง\\n ต.หนองกุงเซิน อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น\\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา\\n\\nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา\\nนายณัฏฐกิตติ์ ลมซิด (เตี้ย)\\nที่อยู่\\n150 หมู่ 9 บ้านหนองกระแหล่ง ต.หนองกุงเซิน อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น 40150\\nอาชีพ\\nเกษตรกร\\nอายุการศึกษาภูมิปัญญา 15 ปี\\n\\n\\nชื่อภูมิปัญญา\\nเห็ดฟางหนองกระแหล่ง\\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \\n\\nบ้านหนองกระแหล่ง อาชีพหลัก ๆ ของชาวบ้านก็เลี้ยง วัว ควาย ทำเกษตรกรรม เป็นรากฐานอยู่แล้ว ตัวกระผมก็ได้ซึมซับการปลูกเห็ดฟางมาจาก พ่อแม่ ซึ่งเป็นอาชีพที่ไม่ต้องต่างถิ่นไปทำงานไกลบ้าน ทั้งได้อยู่กับครอบครัว กับลูก และยังเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของบ้านหนองกระแหล่งอีกด้วย แรก ๆ ก็ปลูกพอกิน พอให้ญาติพี่น้องได้กิน ลองผิดลองถูก ปลูกกับพื้นดินก็เจอปัญหาน้ำท่วม ต่อมาก็มาปลูกในโรงเรือนขนาดเล็ก ๆ ไปก่อนและเพิ่มขนาดใหญ่ขึ้น ต่อมาก็เริ่มมีเพื่อนบ้านในหมู่บ้านมาเรียนรู้และร่วมลงทุนจึงมีการปลูกมากขึ้น จนเป็นอีกอาชีพหนึ่งของชาวบ้านบ้านหนองกระแหล่งไปแล้วก็ว่าได้ อาจจะไม่ได้สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ แต่ก็พออยู่พอกินยึดหลัก ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 กระผมจึงจะสืบทอดภูมิปัญญานี้ไปจนจะหมดกำลังและจะส่งต่อให้ลูกหลานสืบไป\\n(นายจักรพันธ์ กองจันทร์, 6 พฤศจิกายน 2560: สัมภาษณ์)\\n\\n\\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\\n\\nความรู้ตัวกระผมได้จาก พ่อแม่ ที่ให้คำแนะนำและสอนกรรมวิธีต่าง ๆ และยังได้เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการที่เกษตรอำเภอ จังหวัด ที่จัดให้ความรู้หลายครั้ง เพราะการปลูกไม่ใช่เรื่องง่ายต้องมีความเข้าใจและอดทนในการดูแลรักษา ไม่ว่าจะเป็นการรดน้ำ การรักษาอุณหภูมิ และเพื่อเข้าศึกษากรรมวิธีสมัยใหม่ ๆ ด้วย\\n(นายจักรพันธ์ กองจันทร์, 6 พฤศจิกายน 2560: สัมภาษณ์)\\n\\n\\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\\n\\n \\n\\n\\n\\n \\n\\n\\n\\n \\n\\n\\n\\n \\n\\n\\n \\n \\n\\n\\n\\n\\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\\n\\nภูมิปัญญาที่สืบทอดมาเป็นภูมิปัญญาที่มีความไม่ซับซ้อนมากนักจึงอาศัยการจดจำเพียงอย่างเดียวไม่ได้ลงข้อมูลในเว็ปไซต์ หรือฐานข้อมูลอื่นๆแต่อย่างได \\n(นายจักรพันธ์ กองจันทร์, 6 พฤศจิกายน 2560: สัมภาษณ์)\\n\\n\\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\\n\\nเผยความรู้ให้หน่วยงานของรัฐอยู่ตลอดถ้ามีโอกาส เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงเซิน โรงเรียนหนองกระแหล่งกระเดาวิทยา เป็นต้น\\n(นายจักรพันธ์ กองจันทร์, 6 พฤศจิกายน 2560: สัมภาษณ์)\\n\\n\\nพิกัด (สถานที่)\\n\\n\\n\\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\\nชื่อผู้ศึกษา\\nนายจักรพันธ์ กองจันทร์\\n\\nหลักสูตร\\nประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4\\nรายวิชา\\nความเป็นครู (800 5201)\\nเน้นศึกษา\\nครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น\\nคณะ\\nศึกษาศาสตร์\\nสถานที่ศึกษา\\nมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\\nสถานที่ทำงาน\\nโรงเรียนหนองกระแหล่งกระเดาวิทยา ต.หนองกุงเซิน อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น\\nอาจารย์ผู้สอน\\n1\\nรองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\\n2\\nอาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\\n3\\nอาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\\n4\\nอาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\\n5\\nอาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\\n6\\nอาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :
ครู / อาจารย์, นักเรียน / นักศึกษา, ทั่วไป, ผู้ปกครอง |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : ณัฏฐกิตติ์ ลมซิด
|
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :
จักรพันธ์ กองจันทร์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
คำสำคัญ :
เห็ดฟางหนองกระแหล่ง, เห็ดฟาง, การเพาะเห็ดฟาง, ภูมิปัญญาชาวบ้าน, ภูมิปํญญาไทย, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
URL
:
- |
จำแนกตามระดับชั้น :
มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) |
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :
การงานอาชีพและเทคโนโลยี |
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :
VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน |