หัวเรื่อง : การตำสมุนไพร |
คำอธิบาย : ตำสมุนไพร\nตำบลจังหาร อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางจำเนียน แสงประดิษฐ์ \nที่อยู่ ตำบลจังหาร อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด 45000 \nอาชีพ เกษตรกร อายุการศึกษาภูมิปัญญา ........10....ปี \n \nชื่อภูมิปัญญา ตำสมุนไพร\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \n เมื่อประมาณ 10 ปี มีบุคคลท่านหนึ่ง (เจ้าของภูมิปัญญาแต่จำไม่ได้) ซึ่งเป็นบุคคลในหมู่บ้านเดียวกันได้นำสูตรการตำสมุนไพรมาเผยแผ่ให้คนในหมู่บ้าน เพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในหมู่บ้านทั้งเป็นอาชีพประจำและเป็นรายได้เสริม ให้มีรายได้เพิ่มจากการทำไร่ ทำนาและเกษตรกรต่างๆ โดยบอกคนในหมูบ้านว่าการตำสมุนไพรนี้มีประโยชน์ต่อผู้ที่บริโภค ช่วยแก้โรคต่างๆได้ เช่น ท้องอืดท้องเฟ้อ การนิ่ว การขับถ่ายปัสสาวะและการข่ายถ่ายประจำเดือนอีกด้วย \n\n รายได้ที่ได้จากการตำสมุนไพร ครกละ 35-40 บาท อยู่ที่ประมาณ 4,000-6,000 บาท/เดือน\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\n ได้รับความรู้จากบุคคลภายในหมู่บ้านเดียวกันได้สาธิตวิธีการตำสมุนไพร ทำเป็นอาชีพจนสื่อต่อกันมาเรื่อยๆ เนื่องจากมีวิธีการไม่นุ่งยากวัตถุดิบสามารถปลุกได้ตามบ้านเรือน\n\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\n\nขั้นตอนและวิธีสร้างภูมิปัญญา\n1. เตรียมวัตถุดิบ ดังนี้\nพริก\n ปลาร้า\n \nน้ำตาลปีบ\n มะยม\n \nมะขาม\n ยอ\n \nกล้วย\n ข่า\n \n\n\nตระไคร้\n \n\nมะเฟือง\n \n\n2. ขั้นตอนการตำสมุนไพร\n2.1 ตำพริกให้ละเอียด\n2.2 ใส่ข่า ตะไคร้ มะขาม ตำให้ละเอียด\n2.3 จากนั้นใส่ กล้วย ยอ มะยมและมะเฟืองใส่ตามลงไปแล้วตำให้ละเอียด\n2.4 เมื่อละเอียดเข้ากันแล้วปรุงรสด้วย น้ำปลา น้ำตาลปีบ น้ำปลาร้าและมะนาว จากนั้นตำจนทุกอย่างเข้ากัน\n2.5 ชิมจนรสชาติเป็นที่น่าพอใจ\n2.6 ตักใส่จานเตรียมเสริฟ\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\n\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\n การจัดเก็บภูมิปัญญาวิธีการตำสมุนไพรนั้นเจ้าของภูมิปัญญาได้กล่าวว่ามีวิธีทีเดียวคือการจดจำ หากจะเรียนรู้หรือถ่ายทอดความรู้ต้องอาศัยการฝึกและเรียนรู้จากประสบการณ์จริง\n\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\n ถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาวิธีการตำสมุนไพรใช้วิธีการถ่ายทอดให้คนในหมู่บ้านเดียวกันเรียนรู้สูตรการตำสมุนไพรต่อกันไปเรื่อยๆ เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการมากขึ้น เป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะมีรสชาติที่อร่อยจึงง่ายต่อการจำหน่าย\n\nพิกัด (สถานที่)\n\n ตำบลจังหาร อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด 45000\n\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\nชื่อผู้ศึกษา นางสาวสุพัชนา สงเคราะห์ \nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 \nรายวิชา ความเป็นครู (800 5201) \nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \nคณะ ศึกษาศาสตร์ \nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\nสถานที่ทำงาน โรงเรียนอนุบาลร้อยเอ็ด\nอาจารย์ผู้สอน\n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :
ทั่วไป |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : จำเนียน แสงประดิษฐ์
|
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :
สุพัชนา สงเคราะห์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
คำสำคัญ :
การตำสมุนไพร, อาหารพื้นบ้าน, ภูมิปัญญาไทย, ภูมิปัญญาชาวบ้าน, ภูมิปัญญาอีสาน, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
URL
:
- |
จำแนกตามระดับชั้น :
ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย |
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :
การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :
VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน |