กระท่อมน้อยปลายนา

ข้อมูลผลงาน

  1,136      4,219
 
Creative Commons License
กระท่อมน้อยปลายนา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  กระท่อมน้อยปลายนา
คำอธิบาย :  กระท่อมปลายนา\\nบ้านทรัพย์สมบูรณ์ ตำบลภูผาม่าน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น\\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \\nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นายประจักษ์ ต่อพรม (วัน) \\nที่อยู่ 108 หมู่ 6 ตำบลห้วยม่วง อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น \\nอาชีพ เกษตรกร อายุการศึกษาภูมิปัญญา .......27......ปี \\n\\nชื่อภูมิปัญญา กระท่อมปลายนา\\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \\nประวัติบ้านทรัพย์สมบูรณ์\\n สภาพพื้นที่ของหมู่บ้านทรัพย์สมบูรณ์ เดิมเป็นป่าเขา เต็มไปด้วยไม้เนื้อแข็ง เมื่อมีการเข้ามาอยู่อาศัยของผู้คน ก็เริ่มมีการเผาป่าและทำไร่ ปัจจุบันแยกหมู่บ้านออกเป็น 4 ชื่อ หมู่บ้านผาน้ำทิพย์ หมู่บ้านห้วยเตย หมู่บ้านห้วยซ้อ และหมู่บ้านทรัพย์สมบูรณ์ ในอดีตกาลบ้านทรัพย์สมบูรณ์ นั้นมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้ และเริ่มมีการบุกรุกป่าเขา เพื่อใช้ทำเป็นพื้นที่เกษตร เช่น ปลูก ทำนา ปลูกลำไย \\nปลูกสตอเบอรี่ และที่ปลูกกันมากที่สุดคือปลูกอ้อยนั้นเอง ถึงแม้ในปัจจุบัน จะมีการทำฟาร์มเห็ดมากขึ้นก็ตาม แต่ชาวบ้านก็ยังคงนิยม ทำไร่อ้อยและไร่นา \\n\\n ซึ่งหมู่บ้านทรัพย์สมบูรณ์นั้นไม่ได้เป็นหมู่บ้านเก่าแก่หากเป็นเพียงแค่หมู่บ้านที่เกิดขึ้นตามความต้องการที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของประชาชน จึงทำให้บ้านแห่งนี้ไม่ค่อยมีภูมิปัญญาอันเก่าแก่ที่สืบทอดต่อกันมา นอกจากการทำไร่ทำนาแล้วสิ่งที่ชาวบ้านทรัพย์สมบูรณ์ทำก็มีอีกอย่าง คือการล่าสัตว์ป่า เช่น งู หนูนา และสัตว์ป่าบางชนิดที่สามารถเป็นอาหารได้\\n\\n ดังนั้นที่หมู่บ้านแห่งนี้จึง ไม่มีผู้ต่อยอดภูมิปัญญา หากแต่จะเป็น ผู้ริเริ่มสร้างภูมิปัญญา\\n\\n \\n\\nภาพการสร้างกระท่อม\\nผู้สร้างภูมิปัญญา\\n คุณพ่อประจักษ์ ต่อพรม อายุ 43 ปี บ้านเลขที่ 108 หมู่ 6 บ้านทรัพย์สมบูรณ์ ตำบลห้วยม่วง อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น ได้เริ่มศึกษาภูมิปัญญาการสร้างกระท่อมปลายนาตั้งแต่อายุ 16 ปี เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2533 โดยได้เริ่มศึกษาวิที่การสร้างด้วยตัวเอง ในระยะแรกกระท่อมที่สร้างนั้น ค่อนข้างที่จะล้มง่ายเมื่อถูกลมพายุพัด คุณพ่อวันจึงได้สะสมประสบการณ์ ได้สร้างกระท่อมหลายหลัก ลองผิดลองถูก จนในที่สุดคุณพ่อวันก็สามารถสร้างกระท่อมที่แข็งแรงได้ หลังจากนั้นท่านยังไม่หยุดได้ลองสร้างกระท่อมแบบที่มีกระตกแต่งและเพิ่มความสวยงามเข้าไป จากการได้ลงพื้นที่ คุณพ่อวันได้สร้างกระท่อมแบบหยาบๆให้ได้ดูถึงขั้นตอนในการสร้างที่จะได้กระท่อมแข็งแรงและสามารถเป็นที่หลบแดด หลบฝนได้ชั่วคราว ซึ่งในการสร้างนั้นส่วนที่สำคัญที่สุดคือ การลงตอม่อและการตั้งเสา เนื่องขั้นตอนนี้จะทำให้กระท่อมมีความมั่นคงมาก แต่หากลงไม่เป็นกระท่อมนั้นอาจจะล้มได้ง่าย \\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\\n \\n การการที่ชาวบ้านต้องออกไปทำไร่ ดูแลสวน คุณพ่อวันจึงได้เกิดความคิดในการที่จะสร้างที่พักชั่วคราว เพื่อใช้เป็นที่หลบแดดและฝน คุณพ่อวันได้เริ่มหาวิธีการสร้างกระท่อมเล็ก โดยถามจากคนที่รู้วิธีการสร้างแต่เนื่องจากในสมัยคุณพ่อยังหนุ่ม ผู้คนและการสื่อสารยังไม่ดีเท่าปัจจุบันจึงทำให้หาความรู้ได้ไม่มากพอ คุณพ่อเลยเริ่มสร้างเองโดยคิดจากภาพที่เคยเห็น นำมาสร้างในช่วงแรกนั้นยัง ไม่ได้กระท่อมที่ดีแต่หลักจากการเก็บประสบการณ์มานานจึงทำให้ปัจจุบันคุณพ่อสามารถสร้างและถ่ายทอดวิธีการสร้างกระท่อมได้เป็นอย่างดี ซึ่งความรู้ส่วนใหญ่คุณพ่อได้มาจากการทดลอง ทำซ้ำไปซ้ำมา นั้นเอง\\n\\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\\nการสร้างกระท่อมน้อย\\nขั้นที่ 1 การลงตอม่อ โดยการขุดหลุมให้ลึกลงไปประมาณครึ่งศอก และตัดไม้ให้ปลายอีกด้านมาความแหลม \\n พอที่จะเจาะลงเนื้อดินได้ โดยจะมีไม้ช่วยค้ำรอบตอม่อ เมื่อตอม่อลงไปในดินจนเกือบจมทำเสาเราจะ \\n ทำการบาก(ตัด)ไม้ให้มีลักษณะเป็นรูปตัว L\\nขั้นที่ 2 การลงเสา จะทำการตัดไม้เป็นรูปตัว L เช่นกันและประกบเข้ากับตอม่อ โดยมีไม้ค้ำเสาไว้ ซึ่งขั้น \\n ตอนนี้จะยังไม่ทำการลงตะปู เราจะทำแบบเดิมจนกว่าจะเสาจะครบทุกต้น\\nขั้นที่ 3 การขึ้นโครงหลังคา\\n ขั้นที่ 3.1 การขึ้น อกไก่ หรือก็คือคานที่อยู่บนสุดของหลักคาตรงบริเวณที่หลังคาหักเป็นมุม\\n ขั้นที่ 3.2 จากนั้นจะขึ้นจันทันเอก\\n ขั้นที่ 3.3 จะทำการลงตะปูระหว่างเสาและตอม่อ ให้ครบทุกต้นและแข็งแรก\\n ขั้นที่ 3.4 จากนั้นจะขึ้นจันทันพรางและลงตะปูระหว่างคานด้วย\\n ขั้นที่ 3.5 ลงตะปูทุกจุดของคานและจันทันเอกและจันทันพราง เพื่อความแข็งแรง\\nขั้นที่ 4 การมุงหลังคา\\n \\n \\n โดยจะมุงหลังคาด้านใดด้านหนึ่งให้ครบก่อน จากนั้นจะทำการมุงหลังคาอีกด้านให้ได้ส่วนหนึ่ง\\nจากนั้นจะทำการขึ้นวงกบ\\n\\n\\n\\n\\n \\n \\n ขั้นที่ 5 มุงหลังคาแบบขั้นที่ 4 จนครบ\\n ขั้นที่ 6 ตกแต่งตัดไม้ส่วนเกินทิ้งออกไป\\n\\n \\n\\nเสร็จสิ้นการสร้างกระท่อม\\n\\n \\n\\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\\n ความรู้ที่ได้มาจาก การจดจำ ประสบการณ์ การลองผิดลองถูก และการค้นคว้าของหาความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาภูมิความรู้ให้ดียิ่งขึ้น\\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\\n ภูมิปัญญาการสร้างกระท่อมนั้นมาจาก เมื่อชาวบ้านต้องออกไปทำไร่ ทำนา ในบริเวณที่ห่างไกลจากบ้าน จะทำให้ไม่มีที่พักชั่วคราว ดังนั้น จึงได้คิดสร้างบ้านแบบง่ายๆ หรือที่เลียกว่ากระท่อมขึ้นมานั้นเอง ซึ่งวิธีการสร้างนั้นสามารถถ่ายทอดต่อไปยังผู้อื่น อีกทั้งยังสามารถพัฒนารูปแบบ หรือวิธีการสร้างกระท่อมให้ดียิ่งขึ้น โดยคุณพ่อวัน จะบอกวิธีขึ้นโครงกระท่อมก่อนและตามด้วยขั้นตอนอื่นๆ\\n \\n\\nภาพการขึ้นโครงกระท่อม\\n\\n \\nภาพการมุงหลังคา\\n\\nพิกัด (สถานที่)\\nไร่อ้อยของคุณพ่อ หมู่บ้านทรัพย์สมบูรณ์ ตำบลห้วยม่วง อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น\\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\\nชื่อผู้ศึกษา นายวัชรพล สุขวิริยานนท์ \\nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู\\n(ป.บัณฑิต) รุ่น 4 \\nรายวิชา ความเป็นครู (8005201) \\nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \\nคณะ ศึกษาศาสตร์ \\nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\\nสถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านทรัพย์สมบูรณ์\\nอาจารย์ผู้สอน\\n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\\n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\\n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\\n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  ประจักษ์ ต่อพรม
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   วัชรพล สุขวิริยานนท์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   กระท่อม, กระท่อมน้อยปลายนา, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
URL  :   -
จำแนกตามระดับชั้น :   ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
 

  ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง