หัวเรื่อง : การเพาะเห็ดฟาง |
คำอธิบาย : ภูมิปัญญาท้องถิ่น \n เห็ดฟางหนองกระแหล่ง\n ต.หนองกุงเซิน อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นายณัฏฐกิตติ์ ลมซิด (เตี้ย) \nที่อยู่ 150 หมู่ 9 บ้านหนองกระแหล่ง ต.หนองกุงเซิน อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น 40150 \nอาชีพ เกษตรกร อายุการศึกษาภูมิปัญญา 15 ปี \n\nชื่อภูมิปัญญา เห็ดฟางหนองกระแหล่ง\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \n\nบ้านหนองกระแหล่ง อาชีพหลัก ๆ ของชาวบ้านก็เลี้ยง วัว ควาย ทำเกษตรกรรม เป็นรากฐานอยู่แล้ว ตัวกระผมก็ได้ซึมซับการปลูกเห็ดฟางมาจาก พ่อแม่ ซึ่งเป็นอาชีพที่ไม่ต้องต่างถิ่นไปทำงานไกลบ้าน ทั้งได้อยู่กับครอบครัว กับลูก และยังเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของบ้านหนองกระแหล่งอีกด้วย แรก ๆ ก็ปลูกพอกิน พอให้ญาติพี่น้องได้กิน ลองผิดลองถูก ปลูกกับพื้นดินก็เจอปัญหาน้ำท่วม ต่อมาก็มาปลูกในโรงเรือนขนาดเล็ก ๆ ไปก่อนและเพิ่มขนาดใหญ่ขึ้น ต่อมาก็เริ่มมีเพื่อนบ้านในหมู่บ้านมาเรียนรู้และร่วมลงทุนจึงมีการปลูกมากขึ้น จนเป็นอีกอาชีพหนึ่งของชาวบ้านบ้านหนองกระแหล่งไปแล้วก็ว่าได้ อาจจะไม่ได้สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ แต่ก็พออยู่พอกินยึดหลัก ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 กระผมจึงจะสืบทอดภูมิปัญญานี้ไปจนจะหมดกำลังและจะส่งต่อให้ลูกหลานสืบไป\n(นายจักรพันธ์ กองจันทร์, 6 พฤศจิกายน 2560: สัมภาษณ์)\n\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\n\nความรู้ตัวกระผมได้จาก พ่อแม่ ที่ให้คำแนะนำและสอนกรรมวิธีต่าง ๆ และยังได้เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการที่เกษตรอำเภอ จังหวัด ที่จัดให้ความรู้หลายครั้ง เพราะการปลูกไม่ใช่เรื่องง่ายต้องมีความเข้าใจและอดทนในการดูแลรักษา ไม่ว่าจะเป็นการรดน้ำ การรักษาอุณหภูมิ และเพื่อเข้าศึกษากรรมวิธีสมัยใหม่ ๆ ด้วย\n(นายจักรพันธ์ กองจันทร์, 6 พฤศจิกายน 2560: สัมภาษณ์)\n\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\n\n \n\n\n\n \n\n\n\n \n\n\n\n \n\n\n \n \n\n\n\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\n\nภูมิปัญญาที่สืบทอดมาเป็นภูมิปัญญาที่มีความไม่ซับซ้อนมากนักจึงอาศัยการจดจำเพียงอย่างเดียวไม่ได้ลงข้อมูลในเว็ปไซต์ หรือฐานข้อมูลอื่นๆแต่อย่างได \n(นายจักรพันธ์ กองจันทร์, 6 พฤศจิกายน 2560: สัมภาษณ์)\n\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\n\nเผยความรู้ให้หน่วยงานของรัฐอยู่ตลอดถ้ามีโอกาส เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงเซิน โรงเรียนหนองกระแหล่งกระเดาวิทยา เป็นต้น\n(นายจักรพันธ์ กองจันทร์, 6 พฤศจิกายน 2560: สัมภาษณ์)\n\nพิกัด (สถานที่)\n \n\n \n\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\nชื่อผู้ศึกษา นายจักรพันธ์ กองจันทร์ \nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 \nรายวิชา ความเป็นครู (800 5201) \nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \nคณะ ศึกษาศาสตร์ \nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\nสถานที่ทำงาน โรงเรียนหนองกระแหล่งกระเดาวิทยา ต.หนองกุงเซิน อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น\nอาจารย์ผู้สอน\n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :
ทั่วไป |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : ณัฏฐกิตติ์ ลมซิด
|
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :
จักรพันธ์ กองจันทร์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
คำสำคัญ :
เห็ดฟาง, การเพาะเห็ดฟาง, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
URL
:
- |
จำแนกตามระดับชั้น :
มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย |
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :
การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :
VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน |