พิธีแต่งแก้

ข้อมูลผลงาน

  5,600      1,583
 
Creative Commons License
พิธีแต่งแก้ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง :  พิธีแต่งแก้
คำอธิบาย :  แต่งแก้ สะเดาะเคราะห์ ความเชื่อปัดเป่าความชั่วร้าย\nบ้านหนองกุงเซิน ตั้งอยู่ที่ ตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ก่อตั้งหมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ.2539 ตั้งชื่อตามต้นกุงใหญ่ข้างหนองน้ำจืด ซึ่งเป็นหนองน้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตของคนในหมู่บ้าน เดิมทีเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ต่อมาได้แยกเป็นหมู่บ้าน 2 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ 1 กับหมู่ที่ 8 มีเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ 216 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำนาและการประมง ขนบธรรมเนียมประเพณีของหมู่บ้านนั้นมีครบตามประเพณีไทยและประเพณีอีสาน 12 เดือน มีผู้นำหมู่บ้านจากอดีตจนถึงปัจจุบันมี 15 คน ชาวบ้านมีความผูกพันกับวัดและพุทธศาสนาสืบมาตั้งแต่บรรพบุรุษ มีความเชื่อและให้ความสำคัญกับบรรพบุรุษเป็นอย่างมาก บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วลูกหลานก็จะมีการทำบุญให้อย่างไม่ขาดสม่ำเสมอ ในหมู่บ้านนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเครือญาติกันทั้งหมด (กำนันสุภี เหลาสีคู, 2561: สัมภาษณ์)\n พิธีกรรมการแต่งแก้ สะเดาะเคราะห์ เป็นอีกหนึ่งความเชื่อที่ชาวบ้านหนองกุงเซินและคนอีสานปฏิบัติและสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บอกว่า ก่อนเราจะนับถือพุทธศาสนานั้นคนไทยได้นับถือพราหมณ์ ซึ่งจะมีความเชื่อเกี่ยวกับไสยศาสตร์และความเชื่อเกี่ยวกับเทวดารวมถึงสิ่งที่มองไม่เห็นแต่เชื่อว่ามีอยู่ ศาสนาพราหมณ์เชื่อว่า ทุกชีวิตกำหนดโดยอำนาจของพระพรหม ฉะนั้น เมื่อมีเหตุการณ์ไม่ดีเกิดขึ้นกับชีวิต ผู้คนก็คิดว่าพระพรหมซึ่งเป็นเทวดาเป็นผู้บันดาลให้เป็นไป แต่พระพรหมจะมีลางสังหรณ์บอกผู้คนให้ทราบก่อนเสมอ ผู้คนจึงกระทำพิธีสวดอ้อนวอนสักการะบูชาเพื่อให้พระพรหมโปรดปรานไม่ให้มีภัยเกิดขึ้นกับตนหรืออาจผ่อนหนักเป็นเบาได้ ความเชื่อและพิธีกรรมสวดอ้อนวอนปัดเป่าสิ่งไม่ดีนี้จึงถูกตราตรึงปลูกฝังอย่างแน่นแฟ้นอยู่ในคนไทยจนในภายหลังได้นำพิธีกรรมมารวมกับพระพุทธศาสนา นานเข้าเลยกลายเป็นอันเดียวกันจนคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า ความเชื่อในการปัดเป่าความชั่วร้ายหรือการสะเดาะเคราะห์เป็นพิธีกรรมของพุทธศาสนา (สุกรรณต์ พรรณภักดี, 2558: เว็บไซต์)\n การแต่งแก้สะเดาะเคราะห์นั้นก็เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง เป็นพิธีกรรมหนึ่งที่พบเห็นเป็นประจำ ซึ่งเคราะห์นั้นมีความหมายว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตของมนุษย์โดยไม่คาดหมาย มีทั้งเคราะห์ดีและเคราะห์ชั่ว สิ่งที่ดี เรียกว่า “สุภเคราะห์” สิ่งที่ไม่ดี เรียกว่า “บาปเคราะห์” ก่อนที่บุคคลจะประสบเคราะห์ไม่ว่าทางดีหรือทางชั่ว มักจะมีเครื่องหมายปรากฏให้เห็นก่อน เรียกว่า “ลาง” ยกตัวอย่างลางที่บอกว่าจะมีเคราะห์ดี เช่น ฝันเห็นพระพุทธรูป พระเจ้า พระสงฆ์ และที่จะมีเคราะห์ร้าย เช่น ฝันเห็นงูทำทาน บึ้ง ข้าวนึ่งแดง เป็นต้น เมื่อมีลางบอกเหตุไม่ดีก็จะเกิดความกังวล เจออุปสรรคจนต้องทำการสะเดาะเคราะห์ และต้องทำให้ถูกพิธีด้วยเคราะห์จึงจะหาย พิธีนี้ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่เพราะบางท่านก็เชื่อว่าสามารถตัดเคราะห์แก้กรรมที่เคยทำมาได้ บางรายก็ไม่เชื่อแต่ผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะตักเตือนคนที่ไม่เชื่อว่า ไม่เชื่อแต่อย่าลบหลู่ บางท่านก็ทำพิธีไปเพื่อความสบายใจให้ตนเองและคนในครอบครัวสบายใจเพราะไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร (พ.กันตสิริ, 2560) \n การแต่งแก้\nปราชญ์พื้นบ้านอีสาน เชื่อว่าปีใดโชคชะตาไม่ดีอาจมีเคราะห์หรือชะตาขาด อาจพบกับภัยพิบัติต่างๆ ท่านให้เสียเคราะห์เสร็จแล้ว “ให้แต่งแก้” ด้วย\n คำ “แต่งแก้” เป็นคำประสมสองคำคือ แต่งและแก้ คำแต่ง หมายความว่า “จัดให้งาม ทำให้ดี ประดับประดาให้งดงาม” ส่วนคำว่า “แก้” หมายความว่า “เปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ดีขึ้น” ดังนั้น “แต่งแก้” จึงหมายความว่า “การตกแต่งประดับประดาให้ดีขึ้น เพื่อแก้ไขสิ่งบกพร่องหรือเคราะห์ร้ายต่างๆ ให้กลายเป็นดีขึ้น เจริญขึ้นและมีความสุขขึ้น” \nการทำพิธีแต่งแก้ สะเดาะเคราะห์จะทำพิธีได้เฉพาะวันเสาร์และวันอังคาร เพราะเป็นวันแข็งทำให้หายทุกข์หายโศกและเป็นวันที่ผีมากินข้าว (พ.กันตสิริ, 2560) \n\nในการแต่งแก้ สะเดาะเคราะห์จะมี 2 ประเภท\n1) การสะเดาะเคราะห์บูชาเทวดา ให้ปกปักรักษาคุ้มครองซึ่งการสะเดาะเคราะห์นี้ ไม่จำเป็นต้องเจอเรื่องไม่ดีมาแต่ทำขึ้นเพื่อส่งเสริมบารมีของชีวิต จึงจะต้องเตรียมเครื่องบูชาเทวดา ดังนี้\n1. กระทง 9 ช่องที่ทำจากกาบกล้วยตัดให้เป็น 4 ท่อนเท่ากัน นำมาต่อกันเป็นสี่เหลี่ยม จัตุรัสแบ่งเป็นเก้าช่อง เพื่อใส่เครื่องบูชาและเครื่องเซ่นไหว้ ในพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์เพื่อรับโชค ต่ออายุ และตัดเวรตัดกรรม \n2. เครื่องเซ่นไหว้ ประกอบด้วย ข้าวดำ ข้าวแดง แกงส้ม แกงหวาน ข้าวขาว ทุงซ่อ ทุงไชย ทุงดำ \nทุงเหลียง ทุงแดง ทุงขาว เสดตะสัด พัด จำมอน รูปแร้ง รูปกา รูปหมู รูปหมา รูปควาย รูปคน กล้วย อ้อย หมาก พลู บุหรี่ เหล้า ยา ปลาปิ้ง ปลาจี่ เข้าเปียก ข้าวสาน ข้าวตอก \n3. เครื่องบูชา ประกอบด้วย ดอกไม้ ธูป เทียน สายสินธุ์ ดอกไม้ (ใช้ดอกไม้สีขาวเท่านั้น)\nในการทำพิธีบูชาเทวดานั้น จะมีการสวดอัญเชิญเทวดาให้ลงมารับเครื่องแต่งแก้นี้ มีคำบูชาถวายเทพเทวดา ว่า “ ฝูงขัาทังหลายพ้อมกันขนขวายหานำมายังเคี่ยงกิ๊ยาบูซาพระเคาะอันนี้ ถวยแก่เทบพะดาเจ้าทังหลาย มีต้นว่า เข้าดำ เข้าแดง แกงส้ม แกงหวาน เข้าขาว ทุงซ่อ ทุงไชย ทุงดำ ทุงแดง ทุงเหลียง ทุงขาว เสดตะสัด พัด จำมอน ฮูบแฮ้ง ฮูปกา ฮูบหมู ฮูบหมา ฮูบหมี มีซู่เหยี่ยง เคี่ยงกินมีซู่แนว คือว่า ถ้วยอ้อย หมาก พู เหล้า ยา ปาปิ้ง ปาจี่ เข้าเปียก เข้าสาน ซู่แนวบ่ไฮ้ ไว้ถวยแก่แทบพะดาเจ้าทังหลาย จงมาฮับเอาเคาะอันนี้จาก (เอ่ยชื่อผู้ถวายกระทง) เอาเคาะนี้หนีไปเมียงบน ขนเคาะนี้หนีไปเมียงฟ้า ตั้งแต่นี้เมียหน้า เคาะอย่าเห้อเห็น เข็นอย่าเห้อฮู้ สิบปีอย่าได้มาเต้า เก้าปีอย่าได้มาพาน อมสิดทิมะหาสิดทิสะหวาหม ” การแต่งแก้เทวดาจะนิยมทำตอนเช้า (ก่อนพระฉันเพล)\n2) สะเดาะเคราะห์หรือการแต่งแก้สำหรับคนดวงตก คนดวงไม่ดี จะมีการดู วัน เดือน ปีเกิด ยามตกฟากควบคู่ไปกับการแต่งแก้ด้วย จะเตรียมเครื่องสะเดาะเคราะห์ ดังนี้\n1. กระทงกาบกล้วยเป็นรูปสี่เหลี่ยม เก้าช่อง เก้าหลัก แต่ละหลัก บักเก้าครั้ง \n2. เครื่องเซ่นไหว้ ประกอบด้วย\n-เมี่ยงคำ เมี่ยงหมาก (จำนวนคำเท่าอายุ)\n-ข้าวแดง ข้าวกล่ำ ข้าวดำ ข้าวขาว แกงส้ม ของหวาน แกงหน่อไม้ส้ม แกงหวาน ปลาปิ้ง ปลาจี่ (ไม่ต้องระบุจำนวน)\n-น้ำส้มป่อยใส่ขัน (ตั้งไว้ข้างกระทง)\n-ตุ๊กตากาบกล้วยเป้น รูปเทวดา ยักษ์หัวกลม เทวดาหัวแหลม\n-เหล้า 1 แก้ว\n-ข้าวเปลือก ข้าวสาร (ใส่ครบ 9 ช่อง)\n-พริก 9 ลูก (ใส่ช่องละลูก) จะสดหรือแห้งก็ได้\n-ปลาร้า 9 ตัว\n-เสื้อผ้า 1 ชุด สำหรับผู้ที่สะเดาะเคราะห์\n-เส้นผม 9 เส้น (ใส่ช่องละเส้น)\n-เล็บมือ เล็บเท้า ใส่ไปในทุกช่อง\n3. เครื่องบูชา ประกอบด้วย ดอกไม้ ธูป เทียน 5 คู่ ด้ายสายสินธุ์ \nนำธงรูปสามเหลี่ยม ธงหน้างัว เอากาบกล้วยทำกระทง 9 อัน เอาหลักไม้ประดับประดาด้วยกระดาษแก้วตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมเหมือนธง 9 ธง ทำตาลปัตรเหมือนตาลปัตรพระโดยใช้กระดาษแข็ง 1 อัน \n\nการบูชาผี จะทำช่วง 4-5 โมงเย็น และจะต้องนำเทียนเวียนหัวจากคอไปหาเอวของผู้สะเดาะเคราะห์เพื่อรับโชค ต่ออายุ และตัดเวรกรรมและจะท่องคาถาจนจบ จากนั้นจะต้องให้ผู้ชายนำกระทงไปวางไว้ท้ายหมู่บ้านและห้ามหันหลังกลับไปมองกระทงเด็ดขาด เพราะมีความเชื่อว่า ถ้าหันหลังกลับไปมองกระทงที่นำไปวางนั้นจะทำให้ความชั่วร้าย ผีปีศาจตามกลับมาที่บ้านอีก (นายบง โสบ้านบัว, 2561: สัมภาษณ์)\n\nการแต่งแก้สะเดาะเคราะห์ เพื่อปัดเป่าความชั่วร้ายนั้น ถึงจะเป็นพิธีกรรมที่สืบต่อกันมานาน แต่ก็มีทั้งคนเชื่อและไม่เชื่อเกี่ยวกับเคราะห์ดีเคราะห์ร้าย ในทางพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงวางหลักง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อนว่า บุคคลหว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว อาจกล่าวได้ว่า เคราะห์นั้นเกิดจากอำนาจกรรมไม่ว่าจะเป็นกรรมเก่าหรือกรรมปัจจุบันที่ทำไว้ ซึ่งก็คงหนีไม่พ้นกิเลสที่เป็นหัวโจกใหญ่ คือ ความโลภ โกรธ หลงนั่นเอง ทั้งนี้ไม่ว่าเคราะห์จะเกิดจากสาเหตุอะไร ทุกคนต่างก็ไม่อยากพบเคราะห์ร้ายกันทั้งนั้น จึงไม่ควรใช้ชีวิตประมาท ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง เดินทางตามทางสายกลางที่มีความพอดี ชีวิตของเราก็จะปลอดภัยและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข\n\nอ้างอิง\nนายบง โสบ้านบัว. (10 เมษายน 25561). สัมภาษณ์.การแต่งแก้ สะเดาะเคราะห์. บ้านหนองกุงเซิน \nตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น.\nพ.กันตสิริ. (2558). วิธีสวดมนต์แก้กรรมสะเดาะเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง \nเพียรเพื่อพุทธศาสน์.\nสุกรรณต์ พรรณภักดี. (2558). พิธีกรรมแต่งแก้. ค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561, จาก\nhttp://brainchangger.blogspot.com/2013/08/blog-post.html.\nกำนันสุภี เหลาสีคู. (11 เมษายน 25561). สัมภาษณ์.การแต่งแก้ สะเดาะเคราะห์. บ้านหนองกุงเซิน \nตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น.
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  ณัฐฐินันท์ เจริญผล
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม :   -
คำสำคัญ :   พิธีแต่งแก้, แต่งแก้, ความเชื่อ, พิธีกรรม, หมากพลู, ก้านกล้วย, อุปกรณ์แต่งแก้
URL  :   -
จำแนกตามระดับชั้น :   ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   รูปภาพ
 

  ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง