ณัฐฐินันท์ เจริญผล

ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  954       2,576

-  File 1
-  File 2
-  File 3
-  File 4
-  File 5
-  File 6
-  File 7
-  File 8
-  File 9
-  File 10
-  File 11
-  File 12
หัวเรื่อง :  การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักผลไม้และเศษอาหาร
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  บุญมา สีหาราช
เจ้าของผลงานร่วม :   ณัฐฐินันท์ เจริญผล, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักผลไม้และเศษอาหาร, การทำน้ำหมักชีวภาพ, การทำน้ำหมัก, ประโยชน์จากเศษอาหาร, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คำอธิบาย :  ภูมิปัญญาการทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักผลไม้และเศษอาหาร


บ.แอวมอง ต.พระลับ
อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น


ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา
ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา คุณพ่อบุญมา สีหาราช
ที่อยู่ ๒๐๐ ม.๑๓ บ.แอวมอง ต.พระลับ อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น
อาชีพ เกษตรกร อายุการศึกษาภูมิปัญญา ๕ ปี

ชื่อภูมิปัญญา การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักผลไม้และเศษอาหาร
ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา

การทำน้ำหมักชีวภาพ หรือ น้ำสกัดชีวภาพ หรือ ปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์ ตามแต่จะเรียก เป็นเพราะพ่อบุญมามีอาชีพเป็นเกษตรกรรม ในสมัยก่อนมีที่นาก็ทำนา แต่ช่วงเศรษฐกิจย่ำแย่เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว ได้ขายนาเพื่อนำเงินมาใช้หนี้สินต่างๆ จากนั้นก็ได้อยู่บ้านมากขึ้น ช่วงนั้นผู้ใหญ่บ้านให้ชาวบ้านไปอบรมโครงการเศรษฐกิจพอเพียงกับการเกษตรอำเภอ พ่อบุญมาได้เข้าร่วมการอบรมด้วย พอกลับถึงบ้านจึงคิดปลูกผักไว้กินเอง เริ่มขุดดินทำแปลงผัก ผักที่ปลูกก็จะมีหลายชนิด ทั้ง ข่า ตะไคร้ ต้นมะกรูด พริก ต้นกระเพา ต้นโหรพา และพืชผักสวนครัวอื่นๆ แต่ที่สามารถเก็บขายส่งร้านค้าในหมู่บ้านได้ดีและได้กำไรเยอะ จะเป็นผักคะน้า แปลงผักคะน้าจะเยอะกว่าแปลงอื่น แต่ก่อนนั้นใช้ปุ๋ยเคมีผสมกับมูลสัตว์ แต่ยิ่งใช้ไปเรื่อยๆผักไม่งาม พ่อบุญมามีลูกสาวทำงานอยู่กรมพัฒนาที่ดิน จึงได้แนะนำพ่อว่าถ้ายังใช้ปุ๋ยเคมีอยู่ ดินก็จะเสียไปเรื่อยๆ จะแนะนำการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อให้ผักงามและไม่เป็นอันตรายต่อดินที่ปลูกด้วย น้ำหมักชีวภาพ เป็นสารละลายเข้มข้นที่ได้จากการหมักเศษพืช หรือสัตว์ กับสารที่ให้ความหวานอย่างกากน้ำตาล จนถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการแล้วจะได้สารละลายเข้มข้นสีน้ำตาล ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ และสารอินทรีย์หลายชนิด ทำให้พืชผักสวนครัวให้ผลผลิตดี จากที่จะปลูกไว้กินเอง สามารถส่งขายตามร้านค้าในหมู่บ้าน บางทีก็มีเพื่อนบ้านมาอุดหนุนโดยตรง (ณัฐฐินันท์ เจริญผล , ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐:สัมภาษณ์)
กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)


คุณพ่อบุญมา สีหาราช อายุ ๗๐ ปี อาชีพ เกษตรกร บ้านเลขที่ ๒๐๐ ม.๑๓ บ.แอวมอง ต.พระลับ อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น ได้เริ่มเรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพจากคำแนะนำของลูกสาว ซึ่งลูกสาวทำงานอยู่กรมพัฒนาที่ดิน จ.บุรีรัมย์ ลูกสาวของคุณตาแนะนำว่าถ้าใช้ปุ๋ยทั่วไปนั้นจะทำให้หน้าดินเสียและจะได้ผลผลิตไม่ดีเหมือนช่วงแรก จึงได้พาคุณพ่อบุญมาทำน้ำหมักชีวภาพ เริ่มทำเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2555 คุณพ่อบุญมาได้นำความรู้ที่มีอยู่มาพัฒนาต่อยอด และเข้าร่วมอบรมการเกษตรอยู่เสมอเมื่อมีโครงการของหมู่บ้าน ปัจจุบันคุณพ่อบุญมาได้ปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเอง และส่งขายตามร้านค้าในหมู่บ้าน ถือว่าขายดีมาก เพราะผักสดและปลอดสารเคมี ขายแค่กำละ 10 บาท
การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)
อุปกรณ์และวัตถุดิบที่ใช้ทำน้ำหมักชีวภาพ ๕๐ กก./๑โอ่ง
โอ่ง ถัง ที่ไม่ใช้แล้ว ๑ ถัง
เศษผักเศษอาหารที่กินเหลือในชีวิตประจำวัน ๔๐ กก.
กากน้ำตาล ๑๐ กก.
น้ำเปล่า ๑๐ ลิตร
สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 (มีแจกฟรีที่เกษตรอำเภอ) ๑ ซอง

ขั้นตอนวิธีการหมัก
๑. นำน้ำใส่โอ่ง ๑๐ ลิตร




๒. จากนั้นนำเศษผักเศษอาหาร เช่น อาหารที่กินเหลือแต่ละมื้อ , เปลือกสับปะรด ,
แกนมะม่วง , เศษผักส่วนที่คัดออกก่อนทำอาหาร มาลงในโอ่ง





๓. นำกากน้ำตาล ลงไปผสม




๔. ใส่สารเร่ง พด. 2 ลงไป 1 ซอง



๕. คนให้เข้ากัน ใช้เวลาหมักประมาน ๗ วัน

๖. ใช้ฉีดพ่นทุกๆ 10 วัน


การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้
ใช้การจดจำและการเล่าสู่กันฟังเป็นการสืบทอดความรู้ไปสู่คนรุ่นหลัง
การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์
ให้ประชาชน คนรุ่นหลัง หรือองค์กรเข้ามาศึกษาเรียนรู้ได้
พิกัด (สถานที่)
บ้านเลขที่ ๒๐๐ ม.๑๓ บ.แอวมอง ต.พระลับ อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น




ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา ๒๕๖๐
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวณัฐฐินันท์ เจริญผล

หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น ๔
รายวิชา ความเป็นครู (๘๐๐ ๕๒๐๑)
เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
คณะ ศึกษาศาสตร์
สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สถานที่ทำงาน วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น
อาจารย์ผู้สอน
๑ รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)
๒ อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ
๓ อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา
๔ อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์
๕ อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว
๖ อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
จำแนกตามระดับชั้น :   มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, วิทยาศาสตร์
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักผลไม้และเศษอาหาร 954
พิธีแต่งแก้ 7,981

ผลงาน 5 อันดับล่าสุด
พิธีแต่งแก้ 4 กรกฎาคม 2562
การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักผลไม้และเศษอาหาร 15 มีนาคม 2561
จำนวนไฟล์จำแนกตามประเภท
จำนวนข้อมูลจำแนกตามระดับชั้น
จำนวนข้อมูลจำแนกตามประเภทบุคคล