ส้มผักแป้นอาหารอีสานสร้างอาชีพ
ข้อมูลผลงาน
3,706 2,781
ส้มผักแป้นอาหารอีสานสร้างอาชีพ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
หัวเรื่อง : ส้มผักแป้นอาหารอีสานสร้างอาชีพ |
คำอธิบาย : ผักแป้นหรือกุยช่าย มีชื่อสามัญว่า Garlic chives, Leek, Chinese chives, Oriental garlic, Chinese leek, Kow choi (จีน) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Allium tuberosum Rottler ex Spreng. จัดอยู่ในวงศ์พลับพลึง (AMARYLLIDACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย ALLIOIDEAE (ALLIACEAE) และยังมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักไม้กวาด (ภาคกลาง), ผักแป้น (ภาคอีสาน), กูไฉ่ (จีนแต้จิ๋ว) เป็นต้น(Medthai : เว็บไซต์)\n กุยช่ายเป็นอาหารที่ชาวจีนรู้จักมากกว่า 3,000 ปี (ประวัติศาสตร์ในสมัยราชวงศ์เชี้ย (2,205 – 1,766 ก่อนคริสต์สักราช ก็ได้บันทึกถึงการปลูกกุยช่ายเพื่อเป็นอาหาร (ชมรมผักพื้นบ้าน : เว็บไซต์) มีลักษณะลำต้นที่เป็นหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน ส่วนใบจะมีสีเขียวคล้ายใบกระเทียมเป็นส่วนที่อยู่เหนือดิน สูงประมาณ 30-45 เซนติเมตร ดอกจะแทงออกกลางลำต้น ก้านดอกมีลักษณะกลม เรียวยาว สูงกว่าใบเล็กน้อย ส่วนดอกจะอยู่ปลายสุด ดอกตูมด้านนอกมีลักษณะสีเขียว เมื่อบานจะมีลักษณะสีขาวหรือม่วง(กูรูเกษตร : เว็บไซต์)\nกุยช่าย มีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ กุยช่ายเขียวและกุยช่ายขาว ซึ่งลักษณะจะไม่แตกต่างกัน แต่จะแตกต่างในเรื่องของกระบวนการปลูกและการดูแลรักษา ในเอเชียตะวันออกแถบภูเขาหิมาลัย จีน อินเดีย ไต้หวัน และญี่ปุ่น จะมีการปลูกกุยช่ายกันอยู่ 2 พันธุ์ นั่นก็คือพันธุ์สีเขียวที่ปลูกทั่ว ๆไปและพันธุ์สีเขียวใบใหญ่สีขาวซึ่งเกิดจากการบังร่ม\nลักษณะของกุยช่าย\nต้นกุยช่าย จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีความสูงประมาณ 30-45 เซนติเมตร มีเหง้าเล็กและแตกกอ\nดอกกุยช่าย หรือ ดอกไม้กวาด ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีสีขาว มีกลิ่นหอม ลักษณะช่อดอกเป็นแบบซี่ร่ม ก้านช่อดอกกลมตันยาวประมาณ 40-45 เซนติเมตร (ยาวกว่าใบ) ออกดอกในระดับเดียวกันที่ปลายของก้านช่อดอก ด้านดอกมีความเท่ากัน และมีใบประดับหุ้มช่อดอก เมื่อดอกเจริญขึ้นก็จะแตกออกเป็นริ้วสีขาว กลีบดอกมีสีขาว 6 กลีบ มีความยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร โคนติดกัน ปลายแยก ที่กลางกลีบดอกด้านนอกมีสันหรือเส้นสีเขียวอ่อน ๆ จากโคนกลีบไปหาปลาย เมื่อดอกบานจะกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้ 6 ก้านอยู่ตรงข้ามกับกลีบดอก และเกสรตัวเมียอีก 1 ก้าน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ\nผลกุยช่าย ลักษณะของผลเป็นผลกลม มีความกว้างและยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร ภายในมีช่อง 3 ช่องและมีผนังตื้น ๆ ผลเมื่อแก่จะแตกตามตะเข็ม ในผลมีเมล็ดช่องละ 1-2 เมล็ด\nเมล็ดกุยช่าย มีลักษณะขรุขระสีน้ำตาลแบน\n \n\n\n\nส้มผักอีสาน\nส้มผักอีสานถือกำเนิดเกิดขึ้นตอนใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่กล่าวกันว่า ในสมัยโบราณ \nอาณาจักร “ลานช้าง” ซึ่งอยู่ห่างไกลทะเล เต็มไปด้วยป่าเขา และสิงห์เสือสางนางไม้ยากที่จะเดินทางติดต่อค้าขาย ในสมัยนั้น “ ผักกาด กะหล่ำปลี ผักกวงตุ้ง “ ยังไม่มีในอาณาจักรแห่งนี้ในคราที่ แผ้วถาง สร้างบ้านแปงเมือง ขยับขยายพื้นที่เพาะปลูก ชาวเมืองได้พบว่า มีพืชชนิดหนึ่งเกิดตามเดิ่นดอน มันก็คือ ผักเสี้ยน ประกอบกับสมัยนั้น ได้มีการระดมพล เพื่อไปรบ สมทบกับ“อโยธยา ศรีรามเทพนคร” เพื่อผนึกกำลังป้องกันการรุกคืบของพม่ารามัญ ซึ่งต้องมีการ สะสมเสบียงชาวลานช้าง จึงคิดค้นอาหารที่สามรถเก็บได้นาน จึงนำเอาผักเสี้ยน มาคั้นส้ม เพื่อถนอมอาหารไว้กิน และเพื่อเป็นเสบียงเดินทางไกลในคราหนึ่ง แม่ทัพพม่า ส่งหน่วย “เสือหมอบ แมวเซา” เข้าปล้นเสบียง เพื่อตัดกำลัง ของชาวลานช้างพบแต่ในไห มีแต่ส้มผักเสี้ยน ซึ่งมีรสเปรี้ยว ขื่นขม จึงคาดว่า เป็นกลลวง ของ กองทัพลานช้างจึงมิได้ทำลายไหส้มผัก กองทัพหน้าชาวลานช้าง จึงมีเสบียงไว้กิน และรวบรวมกำลัง สู้กับพม่าจนอาณาจักร สยาม รอดพ้นเสียเอกราช นับแต่นั้น ส้มผักเสี้ยนได้รับความนิยม แพร่หลายครั้นจะบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ ว่า “ส้มผักเสี้ยน” คืออาหารช่วยชาติ ทางเจ้าขุนจากฝ่าย อโยธยา ฯสอบถามแล้ว มันคือ “ หญ้าดอง” อุวะ “กินหญ้า” มันก็ ควาย หนะสิ เดี๋ยวอาย ชาวโปตุเกต ฮอร์ลันดาส้มผักเสี้ยน จึงรอดพ้น จากการบันทึก ในหนังสือใบลาน ประวัติศาสตร์ ซึงดูเหมือนจะมีเนื้อที่น้อยมาก(สารานุกรมอาหารแห่งอีสาน : เว็บไซต์)\n\nผักแป้นวิถีชีวิตชาวอีสาน\n ผักแป้น หรือ กุยช่าย เป็นผักที่นิยมปลูกกันมากในแถบภาคอีสาน ซึ่งผักแป้นสามารถประกอบอาหารได้หลากหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมคือการทำส้มผักเพราะทำให้เก็บไว้ได้นานและคงคุณค่าทางโภชนาการได้เป็นอย่างดี ซึ่งคุณค่าทางโภชนาการของผักแป้น นั้นให้พลังงานและสารอาหารต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายผัดกุยช่าย มีฤทธิ์ร้อน ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายได้ มันจึงเหมาะอย่างมากที่จะรับประทานในช่วงฤดูหนาวหรือฤดูฝนที่มีอากาศชื้น ช่วยบำรุงและรักษาสายตา เนื่องจากผักกุยช่ายมีวิตามินเอที่ช่วยในการมองเห็น ช่วยบำรุงกระดูก เนื่องจากต้นกุยช่ายมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง\nกุยช่ายมีธาตุเหล็กสูง ซึ่งช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงหรือเกล็ดเลือดต่ำ รักษาภาวะเม็ดเลือดแดงต่ำ แก้อาการอ่อนเพลีย (พบได้บ่อยในผู้ป่วยไข้เลือดออก ผู้ป่วยมะเร็ง และผู้ป่วยที่อยู่ในระยะพักฟื้นหลังการเจ็บป่วย จากการผ่าตัดหรือคลอดบุตร) เม็ดเลือดแดงประกอบด้วยฮีโมโกลบินที่ทำหน้าที่ในการนำออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย ประโยชน์ของใบกุยช่าย ช่วยปรุงแต่งรสอาหารให้อร่อยมากยิ่งขึ้น กุยช่ายนิยมใช้รับประทานเป็นอาหาร ด้วยการใช้ดอกนำมาผัดกับตับหมู หรือจะใช้ใบสดรับประทานกับลาบหรือผัดไทยก็ได้ นอกจากนี้ยังใช้ใบนำมาทำเป็นไส้ของขนมกุยช่ายอีกด้วย (medthai.com : เว็บไซต์) \n\n\n\n\n\n\n\n\n\nวิธีการทำส้มผักแป้น (กัญชลิกา : สัมภาษณ์)\nอุปกรณ์และเครื่องปรุงในการทำส้มผักประกอบด้วย กะละมังสะอาด 1 ใบ กระปุกหรือหม้อที่มีฝาปิดไว้เก็บส้มผักแป้นที่คั้นเสร็จแล้ว เกลือป่น 2 – 3 ถ้วย ข้าวเหนียวสุกขนาดเท่าใข่ไก่ 1 ก้อน ผักแป้น ประมาณ 1 กิโลกรัม ทูล 3 – 4 ก้าน น้ำชาวข้าว หรือน้ำเปล่าสะอาด น้ำตาล 1 ช้อนชา ผลปรุงรสเพื่อเพิ่มความอร่อยของส้มผักแป้น\n\nขั้นตอนการทำส้มผักแป้น\n ล้างผักแป้นให้สะอาด และผึ่งไว้ให้แห้งจนสะเด็ดน้ำ หั่นเป็นท่อน ๆ ขนาดประมาณ 2 -3 นิ้ว ไม่ต้องสั้นมาก\n \n ล้างทูลให้สะอาดหั้นทูลเป็นแทงๆ ยาวประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร และวนำไปใส่รวมกันกับผักแป้นที่เตรียมไว้ตามขั้นตอนแรก\n \n ใส่เกลือ ประมาณ 1 – 2 ถ้วย แล้วคั้นให้ผักแป้นและทูลอ่อนนิ่มจน้ำออกมาจากผัก สาเหตุที่เราต้องใส่เกลือก่อนที่เราจะคั้นเพราะจะช่วยให้ผักนิ่มและกำจัดสารเคมีที่ตกค้างได้เป็นอย่างดี\n \n เมื่อคั้นจนผักแป้นและทูลนิ่มได้ที่แล้ว ให้นำไปล้างด้วยน้ำสะอาด และเพื่องล้างความเค็มของเกลือด้วย\n \n\n\n\n\n จากนั้น นำผักแป้นและทูลที่ล้างแล้วมาปรุงรส โดยใส่ ข้าวเหนียว ใส่เกลือ น้ำตาล และที่ขาดไม่ได้คือผงปรุงรสเพื่อเพิ่มรสชาติในการทำส้มผักแป้น เมื่อใส่จนครบแล้วก็ทำการคั้นอีกรอบเพื่อเป็นการคลุกคร่าวให้เข้ากันระหว่างวัตถุดับกับส่วนผสม \n \n ขั้นตอนสุดท้ายคือการนำเอาส้มผักที่คั้นเสร็จสมบูรณ์แล้วไปใส่ในกระปุกหรือหม้อที่เราได้เตรียมไว้ และเทน้ำชาวข้าวใส่ลงไปพอท่วมก็พอแล้วปิดฝาให้สนิท แช่ไว้ประมาณ 1 – 2 วัน ก็สามารถนำมารับประทาน หรือนำเอาไปจำหน่ายได้\n\nส้มผักแป้นกับการสร้างอาชีพ\n ส่วนใหญ่ชาวบ้านทางภาคอีสานประกอบอาชีพเกษตรกร การปลูกผักแป้นของชาวอีสานนั้นเป็นการสร้างรายได้เข้าสู้ครอบครัวได้เป็นเป็นอย่างดี เพราะกุยซ่าย หรือ ผักเป็นแป้น สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย และเป็นที่ต้องการของตลาด ร้านอาหาร ร้านผัดไทย นำมาสู่การสร้างอาชีพที่มั่นคง สำหรับการขายกุยซ่ายถ้าเป็นกุยซ่ายขาวจะมีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80 – 100 บาท ส่วนกุยซ่ายเขียวจะมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 20 – 40 บาท จึงเป็นที่นิยมนำมาทำส้มผักส้มผักแป้น เพราะมีราคาถูกทั้งยังเป้นการถนอมอาหารให้มีอายุยาวนานมากขึ้น \nดังนั้น ส่งผลให้เกษตรกรที่ปลูกผักแป้น นิยมทำส้มผักแป้นเพื่อเพิ่มรายได้ นำไปสู่การสร้างอาชีพในครอบครัว นางกัญชลิกา ได้กล่าวว่าการทำส้มผักแป้นเพื่อขายให้คนในชุมชน และหมู่บ้านใกล้ๆ ทำให้ตนมีรายได้ ประมาณ 6,000 – 8,000 บาทต่อเดือน ถือว่าเป็นอาชีพหลักในการสร้างรายได้ของตน \nอ้างอิง\nกูรูเกษตร. (2560, 31 ตุลาคม) ค้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2561\nจาก http://www.gurukaset.net/การปลูกกุยซ่าย - ปลูกง่าย/\nชมรมผักพื้นบ้าน (2555, 19 พฤศจิกายน) ค้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2561 \nจาก https://th-th.facebook.com/ChmrmPhakPhunBan\nสารานุกรมอาหารแห่งอีสาน. (2550, 31 มีนาคม) ค้นเมื่อววันที่ 6 มีนาคม 2561 \nจาก http://www.isan.clubs.chula.ac.th\nเว็บเมดไทย. (2556, 2 กันยายน) ค้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2561 จาก https://medthai.com\nอาหารภาคอีสาน. (2559, 11 กันยายน) ค้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2561 \nจาก http://www.baannoi.com/อาหารภาคอีสาน/84-วิธีคั้นส้มผัก.html\nผู้ให้สัมภาษณ์\n นางกัญชลิกา กัลยา. (6 มีนาคม 2561). สัมภาษณ์. ผู้เชียวชาญการทำส้มผักแป้น. \nบ้านหนองค้า จังหวัดขอนแก่น. |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : ทั่วไป |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : ธงชัย กัลยา |
ผู้สร้างสรรค์ร่วม/ผู้แต่งร่วม/เจ้าของผลงานร่วม : - |
คำสำคัญ : ผักแป้น, ส้มผักแป้น, อาหารอีสาน, การถนอมอาหาร, การหมัก, การดองผัก |
URL : - |
จำแนกตามระดับชั้น : ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย |
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ : การงานอาชีพและเทคโนโลยี |
จำแนกตามลักษณะของสื่อ : รูปภาพ |
ไฟล์ดิจิทัล
- ดาวน์โหลด 1 | (91.68 KB) | |
- ดาวน์โหลด 2 | (24.78 KB) | |
- ดาวน์โหลด 3 | (27.09 KB) | |
- ดาวน์โหลด 4 | (34.06 KB) | |
- ดาวน์โหลด 5 | (24.76 KB) | |
- ดาวน์โหลด 6 | (19.48 KB) | |
- ดาวน์โหลด 7 | (19.00 KB) | |
- ดาวน์โหลด 8 | (36.62 KB) | |
- ดาวน์โหลด 9 | (101.66 KB) | |
- ดาวน์โหลด 10 | (55.97 KB) | |
- ดาวน์โหลด 11 | (29.15 KB) | |
- ดาวน์โหลด 12 | (23.42 KB) | |
- ดาวน์โหลด 13 | (23.42 KB) | |
- ดาวน์โหลด 14 | (24.93 KB) | |
- ดาวน์โหลด 15 | (30.02 KB) | |
- ดาวน์โหลด 16 | (24.22 KB) | |
- ดาวน์โหลด 17 | (24.69 KB) |
ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง
-
การทำปลาส้มจำนวนผู้เข้าชม (968)
-
พริกจี่จำนวนผู้เข้าชม (916)
-
ฟักเชื่อมจำนวนผู้เข้าชม (900)