ไกรสร เกตุพิบูลย์ (ประธานกลุ่มฯ)

ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  2,810       4,844

-  File 1
-  File 2
-  File 3
-  File 4
-  File 5
-  File 6
หัวเรื่อง :  การทำไม้กวาดดอกหญ้า
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ครู / อาจารย์, นักเรียน / นักศึกษา, ทั่วไป, ผู้ปกครอง
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  ไกรสร เกตุพิบูลย์ (ประธานกลุ่มฯ)
เจ้าของผลงานร่วม :   รัตติยา สนธิรักษ์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, การทำไม้กวาดดอกหญ้า, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คำอธิบาย :  ภูมิปัญญาท้องถิ่น : ไม้กวาดดอกหญ้า
123 หมู่ที่ 10 บ้านหันใหญ่-แม่เอีย ตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น 40120
ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา

ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางไกรสร เกตุพิบูลย์ (ประธานกลุ่มฯ)
ที่อยู่ 123 หมู่ที่ 10 บ้านหันใหญ่-แม่เอีย ตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น 40120
อาชีพ เกษตรกร อายุการศึกษาภูมิปัญญา 10 ปี

ชื่อภูมิปัญญา ไม้กวาดดอกหญ้า
ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา
เรื่องราวความเป็นมาของกลุ่มผู้ผลิตไม้กวาดดอกหญ้าบ้านหันใหญ่-แม่เอีย เกิดขึ้นเมื่อมีคนของหมู่บ้านหันใหญ่-แม่เอีย ได้มองเห็นความสำคัญของการหารายได้เข้าสู่ชุมชนจึงได้ศึกษาอบรมกับทางชุมชนและได้เรียนรู้เรื่องการทำไม้กวาดดอกหญ้า จึงได้จำตั้งกลุ่มแม่บ้านบ้านหันใหญ่-แม่เอีย ได้จำนวน 21 คน ลงทุนหุ้นละ 100 บาทเพื่อนเป็นเงินทุนในการซื้อดอกหญ้า (ก๋ง ที่ชาวบ้านเรียก) และต้นไผ่ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ทำไม้กวาด มีขึ้นอยู่ทั่วไปตามท้องตลาด จึงได้นำความรู้ วิธีการทำไม้กวาดดอกหญ้ามาเผยแพร่ให้กับคนในครอบครัว ญาติพี่น้องได้ทำใช้ในครัวเรือน และขายให้กับคนในหมู่บ้าน และเมื่อมีผู้ผลิตมากขึ้นเหลือใช้ในครัวเรือนจึงนำออกขายให้กับเพื่อนบ้าน ต่างหมู่บ้าน ต่างตำบลและจังหวัด เผยแพร่ยังต่างจังหวัด ขยายออกเป็นวงกว้าง นอกจากนั้นยังมีพ่อค้าต่างจังหวัดมารับซื้อเพื่อไปจำหน่าย ทำให้เรื่องการทำไม้กวาดกลายเป็นอาชีพหลัก และเป็นอาชีพเสริมของหลายครอบครัว สร้างรายได้ให้กับตนเอง เป็นอาชีพที่ทำรายได้ตลอดทั้งปี ( นางไกรสร เกตุพิบูลย์ , พฤศจิกายน 2560 : สัมภาษณ์)



กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับไม้กวาดดอกหญ้า
“ไม้กวาด” เป็นวัสดุ เครื่องมือเครื่องใช้ ในครัวเรือน ใช้ทำความสะอาดบ้าน บริเวณบ้าน อาคารสถานที่ต่าง ๆ ในสมัยโบราณ คนในครอบครัว จัดทำขึ้นใช้เฉพาะในครัวเรือนของตนเอง แลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้าน ในปัจจุบันผลิตขึ้นเพื่อจำหน่ายเป็นอาชีพหลัก / อาชีพรองของท้องถิ่น ในระยะแรกๆ ด้ามไม้กวาดทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่นไม้เหียง, ไม้จุมปี จุมปา ไม้ไผ่ ปัจจุบันได้มีวิวัฒนาการด้ามทำจากพลาสติก
ที่ให้ความสวยงาม และคงทนกว่า
“ดอกหญ้า” (ก๋ง เป็นชื่อเรียกดอกหญ้าของท้องถิ่นภาคเหนือเรียก) เป็นส่วนที่ใช้กวาด นอกจากจะทำเป็นไม้กวาดสำหรับกวาดพื้นแล้ว ยังมีไม้กวาดขนาดเล็ก ลำหรับกวาดบนโต๊ะ ตู้ และขนาดเล็กๆ สำหรับเป็นของชำร่วย ประดับตกแต่ง
ลักษณะที่โดดเด่น
ไม้กวาดดอกหญ้าของชุมชนบ้านโง้งจะนำดอกหญ้าเกรดเอ ดอกหญ้ามีน้ำหนักเท่ากันใส่กาวเพื่อไม่ให้ดอกหญ้าหลุดง่ายเวลากวาดบ้านนอกจากนั้นระยะเวลาการใช้งานของไม้กวาดใช้งานคงทนนอกจากนี้ไม้กวาดบ้านหันใหญ่-แม่เอีย ของกลุ่มไม้กวาดดอกหญ้าบ้านหันใหญ่-แม่เอีย มีหลากหลายขนาดให้เลือก
การทำหัตถกรรมไม้กวาดจากดอกหญ้าของชุมชนบ้านโง้งตำบลโพธิ์งาม อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาของชุมชนที่สืบทอดกันมากว่า 10 ปี ซึ่งคนในชุมชนได้ประกอบอาชีพเสริมทำให้รายได้ของครัวเรือนของคนในตำบลโพธิ์งามมีรายได้ทุกวันในปัจจุบันรายได้หลักของครัวเรือนและตำบลโพธิ์งามและตำบลใกล้เคียงในอำเภอประจันตคามส่วนใหญ่ทำอาชีพไม้กวาดเป็นรายได้หลักของครัวเรือน

การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)
อุปกรณ์การทำไม้กวาดดอกหญ้า







1. เข็มเย็บกระสอบ
2. เชือกฟาง
3. ไม้ไผ่ ความยาวประมาณ 80 ซม.
4. ดอกหญ้า
5. ตะปูขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 ตัว ขั้นตอนการทำไม้กวาด
6. ลวด
7. เต้าพลาสติก
8. คีมตัดลวด
9. ค้อน
วิธีทำไม้กวาดดอกหญ้า
1.นำดอกหญ้ามาทำความสะอาดและตากแดดให้แห้งคัดเลือกเฉพาะดอกหญ้าที่มีคุณภาพ ดี
2. นำดอกหญ้าปริมาณ 1 กำมือ มัดให้เป็นวงกลมโดยมัดด้วยลวด

3. นำเข็มเย็บกระสอบ ซึ่งร้อยเชือกฟางไว้แล้ว แทงเข้าตรงกลางมัดดอกหญ้า แล้วถักขึ้นลงแบบหางปลา ให้ได้ 3 ชั้น พร้อมจัดดอกหญ้าให้มีลักษณะแบน
4. ตัดโคนดอกหญ้าให้เสมอกัน

5. นำด้ามไม้ไผ่เจาะรูที่หัวไว้สำหรับห้อยเชือกและเจาะรูตรงปลายนำมาขัดด้วยก้อนจากนั้นเสียบเข้าตรงกลางมัดดอกหญ้า
6. นำเชือกฟางมัดดอกหญ้าไว้ด้วยกัน โดยนำเชือกฟางมาสอดตรงรูที่เจาะ เพื่อป้องกันไม่ให้ดอกหญ้าออกจากกัน

7. ตอกตะปูที่เตรียมไว้ เพื่อให้ดอกหญ้าติดกับด้ามไม้ไผ่ และมีความแข็งแรงขึ้น * เคล็ดลับทำให้ไม้กวาดแข็งแรง ควรนำดอกหญ้าตากแดดให้แห้งสนิทก่อนมัด จะได้ไม้กวาดที่มีความแข็งแรง ไม่หลุดง่าย เมื่อถึงเวลาใช้งาน

การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)
ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำไม้กวาดดอกหญ้าการถ่ายทอดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนหมู่บ้านบ้านหันใหญ่-แม่เอีย ตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่นซึ่งผู้ใหญ่บ้านได้เรียกประชุม หารือกัน เพื่อร่วมกันสร้างอาชีพเสริม หารายได้จากการการทำไม้กวาดดอกหญ้านอกจากหน้าทำหน้าและว่างจากการทำอาชีพหลักแล้ว จึงทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริมและมีรายได้เพิ่มขึ้นเข้าสู่ครอบครัวและที่สำคัญได้ส่งเสริมและอนุรักษณ์ภูมิปัญญาของชุมชนต่อไป
การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)
การถ่ายทอดการทำไม้กวาดดอกหญ้าเป็นการถ่ายทอดให้กับนักเรียนและประชาชนที่ให้ความสนใจและทำได้ง่ายๆในสถานศึกษา ปลอดภัย ซึ่งถือเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับนักเรียนที่อยู่แถวตามหมู่บ้าน
ประโยชน์ตองกง/หญ้าไม้กวาด
1. ช่อดอกนิยมใช้ทำไม้กวาด หรือที่เรียก ไม้กวาดดอกหญ้า ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับทุกครัวเรือน ซึ่งมีการผลิตจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ทั้งในรูปของเกษตรในครัวเรือน หรือรวมกลุ่มกันในชุมชน รวมถึงผลิตในระดับอุตสาหกรรมสำหรับส่งจำหน่ายต่างประเทศ
2. ยอดอ่อน และหน่ออ่อนนำมารับประทานสดคู่กับน้ำพริกหรือนำไปประกอบอาหารจำพวกเมนูผัดหรือแกงต่างๆ
3. ลำต้น ใบ และยอดอ่อนใช้สำหรับเป็นอาหารหยาบให้แก่โค กระบือ

วิธีเก็บรักษาไม้กวาดดอกหญ้า
1. สำหรับด้ามไม้กวาดที่มีเชือกแขวน หลังจากใช้แล้วให้แขวนไว้ โดยมีความสูงที่ผืนดอกหญ้าไม่พับวางบนพื้น
2. หากด้ามไม้กวาดไม่มีเชือกห้อย ให้วางด้ามไม้กวาด โดยให้ผืนแผ่นหญ้าตั้งขึ้นอยู่ด้านบน เพราะหากวางผืนดอกหญ้าพับบนพื้นจะทำให้ก้านดอกหญ้างอพับได้ แต่บางตำรามองว่า การชันตั้งขึ้นอาจทำให้ฝุ่น และเชื้อโรคมาติดกับด้ามได้ และบางครั้งอาจทำให้ก้านดอกหญ้าโค้งงอลงด้านล่างได้เช่นกัน
3. ไม่ควรเก็บไม้กวาดด้านนอกที่เสี่ยงต่อน้ำฝน และหากก้านดอกหญ้าถูกน้ำจนเปียก จะต้องนำออกผึ่งแดดให้แห้งก่อนนำมาใช้














พิกัด (สถานที่) บ้านหันใหญ่-แม่เอีย ตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น 40120


















ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560

ชื่อผู้ศึกษา นางสาวรัตติยา สนธิรักษ์ รหัสนักศึกษา 6080110097
ห้อง/เลขที่ Section 4 เลขที่ 7
หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4
รายวิชา ความเป็นครู (8005201)
เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
คณะ ศึกษาศาสตร์
สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สถานที่ทำงาน วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการหนองสองห้อง อำเภอหนองสองห้อง
จังหวัดขอนแก่น
อาจารย์ผู้สอน
1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)
2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ
3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา
4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์
5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว
6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย

https://youtu.be/SOHhrFj1Qow
จำแนกตามระดับชั้น :   ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
การทำไม้กวาดดอกหญ้า 2,810

ผลงาน 5 อันดับล่าสุด
การทำไม้กวาดดอกหญ้า 14 พฤษภาคม 2561
จำนวนไฟล์จำแนกตามประเภท
จำนวนข้อมูลจำแนกตามระดับชั้น
จำนวนข้อมูลจำแนกตามประเภทบุคคล
ผลงานทั้งหมด
# ชื่อเรื่อง ผู้เข้าชม #
1 การทำไม้กวาดดอกหญ้า 2,810