สุพัตรา สีลาอ้อ

ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  9,377       7,960

-  File 1
-  File 2
-  File 3
-  File 4
-  File 5
-  File 6
-  File 7
-  File 8
-  File 9
หัวเรื่อง :  การสานตะกร้าไม้ไผ่
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ครู / อาจารย์, นักเรียน / นักศึกษา, ทั่วไป, ผู้ปกครอง
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  สมพราง ทองเกิ้น
เจ้าของผลงานร่วม :   สุพัตรา สีลาอ้อ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   การสานตะกร้าไม้ไผ่, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, งานจักสาน, การสานตะกร้า, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คำอธิบาย :  ภูมิปัญญาท้องถิ่น : การสานตะกร้าไม้ไผ่\
82หมู่ที่ 1บ้านห้วยไผ่ตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น40140\
\
ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \
ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นายสมพรางทองเกิ้น \
ที่อยู่ 82หมู่ที่ 1บ้านห้วยไผ่ ตำบลน้ำพอง \
อำเภอน้ำพองจังหวัดขอนแก่น 40140 \
อาชีพ เกษตรกร อายุการศึกษาภูมิปัญญา20 ปี \
\
\
ชื่อภูมิปัญญา\
\
การสานตะกร้าไม้ไผ่\
ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา\
นายสมพราง ทองเกิ้น อายุ 73 ปี อาศัยอยู่ที่บ้านห้วยไผ่ บ้านเลขที่ 82หมู่ที่ 1ตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น การศึกษาจบ ป.4 ที่โรงเรียนบ้านห้วยไผ่หนองโน ประกอบอาชีพ เกษตรกร สมรสกับนางสม โสสีทา มีลูกทั้งหมด 4 คน เป็น ชาย 2 คน หญิง 2 คน\
\
กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\
\
นายสมพราง ทองเกิ้นได้รับการถ่ายทอดความรู้วิธีการสานเครื่องจักรสานที่ทำจากไม้ไผ่มาจากพ่อ โดยเริ่มจากการที่เขาเห็นพ่อสานเครื่องจักรสานในช่วงว่างจากงานเพื่อนำมาใช้สอยเองในครอบครัวจึงเกิดความสนใจและอยากจะเรียนรู้วิธีการทำว่ามีขั้นตอนเป็นอย่างไรเพราะอยากช่วยพ่อทำบ้าง ซึ่งพ่อได้เริ่มสอนจากการสานที่ง่าย ๆ ก่อนเช่น สอนให้ทำตอกมัดข้าว และต่อมาก็สานกระด้ง กระจาด เมื่อนายสมพรางเริ่มทำเป็นและมีความชำนาญมากขึ้น ก็ได้ลองสานเครื่องจักรสานชนิดอื่นเพิ่มเติม คือ ที่ดักกบ และตะกร้าไม้ไผ่ ในช่วงแรกยังไม่ได้ทำจริงจังเพราะอาชีพหลักคือทำไร่ ทำนา จึงอาศัยเวลาที่ว่างจากงานประจำมาสานเพื่อนำไปใช้ในครอบครัว ต่อมาเมื่ออายุเริ่มมากขึ้นอีกทั้งลูกชายและลูกสาวต่างแต่งงานมีครอบครัวก็ได้ช่วยทำไร่ทำนาแทนนายสมพรางจึงหันมาสานเครื่องจักรสานอย่างจริงจังประกอบกับนายสมพรางมีใจรักด้านนี้เป็นทุนอยู่แล้วจึงได้มีการสานตะกร้าไม้ไผ่เพื่อจำหน่ายให้กับคนในหมู่บ้านที่สนใจซึ่งส่วนใหญ่ จะสานตามความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก\
\
\
การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\
\
\
ขั้นตอนที่ 1 การตัดไม้ไผ่ ขั้นตอนที่ 2การผ่าไม้ไผ่ทำเป็นเส้นตอกขั้นตอนที่ 3การจักตอก \
\
ขั้นตอนที่ 4การสานก่อเป็นรูปตะกร้าขั้นตอนที่ 5 การใส่ห่วงตะกร้าขั้นตอนที่ 6 การสานตะกร้าเสร็จเรียบร้อย\
\
การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\
ปัจจุบันนายสมพราง ทองเกิ้นถ่ายทอดภูมิปัญญาการสานไม้ไผ่ให้ลูกชาย หลาน และคนในหมู่บ้านที่สนใจ และเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยไผ่ ได้ฝึกเรียนรู้วิธีการสานเครื่องจักสานที่ทำมาจากไม้ไผ่ ที่บ้านห้วยไผ่ บ้านเลขที่ 82 หมู่ที่ 1 ตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น แต่ไม่ได้มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่ฝึกปฏิบัติจริงให้คนที่สนใจให้ทำเป็นและนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อยอดต่อไป\
การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\
การถ่ายทอดการสานตะกร้าไม้ไผ่ เป็นการถ่ายทอดให้กับลูกชาย หลานและคนในชุมชนที่สนใจ ซึ่งถือว่าให้ความรู้กับผู้ที่สนใจและเพื่ออนุรักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้สูญหายและให้ลูกหลานสืบทอดต่อไปขั้นตอนและวิธีการสานดังต่อไปนี้\
1. นำไม้ไผ่ที่ได้ขนาดมาตัดเป็นท่อนขนาดยาวประมาณ 1 เมตร (ขนาดแล้วแต่ขนาดของตะกร้า) โดยการใช้เลื่อยตัดเป็นท่อน จากนั้นใช้มีดโต้เหลาตาข้อไม้ไผ่ออก แล้วทำการขูดผิวเปลือกนอกของไม้ไผ่ออกเสร็จแล้วใช้มีดโต้ผ่าเป็นซีก \
2. นำไม้ไผ่ที่ผ่าซีกมาจักเป็นเส้นตอก แล้วใช้มีดตอกแต่งเส้นตอกให้เรียบซึ่งเรียกว่า “เหลาตอก” หรือ “ขูดตอก”\
3. นำเส้นตอกที่เหลาเรียบร้อยแล้ว มาสานก่อขึ้นรูปตะกร้า โดยเริ่มสานจากฐานก้านตะกร้าก่อนเป็นลำดับแรก ทำไม้ไผ่เหลาเป็นฐานตะกร้า 2 ชิ้น มัดผูกไขว้กันเพื่อเป็นฐานก้นตะกร้า ซึ่งนิยมสานด้วยลายสองและใช้เส้นตอกตามขนาดของตะกร้าที่สาน\
4. ใช้ตอกเส้นเล็กกลมเพื่อสานขัดกับตอกเส้นยืน สานเป็นลายสับหว่างกัน โดยสานตอกเส้นยืนยก 1 ข่ม 1 สานไปเรื่อย ๆ จนได้ตามขนาดที่ต้องการจนเสร็จ เมื่อได้ขนาดตะกร้าตามต้องการแล้ว ทำขอบปากตะกร้าโดยการสานไขว้กันไปเรื่อย ๆ จนเสร็จ แล้วใส่ห่วงตะกร้า (ฮวงตะกร้า) ซึ่งทำด้วยไม้ไผ่เหลาปลายให้แหลม โดยการเสียบเข้าไปในลายตะกร้า แล้วใช้หวายถักให้ห่วงยึดแน่นกับตะกร้า\
\
พิกัด (สถานที่) หมู่บ้านห้วยไผ่ ตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น\
\
\
ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวสุพัตรา สีลาอ้อ \
หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 \
รายวิชา ความเป็นครู (800 5201) \
เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \
คณะ ศึกษาศาสตร์ \
สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\
สถานที่ทำงาน วิทยาลัยเทคโนโลยีพุทธเกษม ตำบลหนองกุง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น\
อาจารย์ผู้สอน\
1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง(ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\
2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\
3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\
4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\
5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\
6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย\
https://youtu.be/7CR7TrI_Wqs
จำแนกตามระดับชั้น :   มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
การสานตะกร้าไม้ไผ่ 9,377

ผลงาน 5 อันดับล่าสุด
การสานตะกร้าไม้ไผ่ 13 พฤษภาคม 2561
จำนวนไฟล์จำแนกตามประเภท
จำนวนข้อมูลจำแนกตามระดับชั้น
จำนวนข้อมูลจำแนกตามประเภทบุคคล
ผลงานทั้งหมด
# ชื่อเรื่อง ผู้เข้าชม #
1 การสานตะกร้าไม้ไผ่ 9,377