จิระศักดิ์ อุปพงษ์
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
1,349 4,736
- File 1
- File 2
- File 3
- File 4
- File 5
- File 6
- File 7
- File 8
- File 9
- File 10
- File 11
- File 12
- File 13
- File 14
หัวเรื่อง : การทอเสื่อกก |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : ครู / อาจารย์, นักเรียน / นักศึกษา, ทั่วไป, ผู้ปกครอง |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : อุษา ฐานวิเศษ |
เจ้าของผลงานร่วม : จิระศักดิ์ อุปพงษ์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
คำสำคัญ : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, การทอเสื่อ, การทอเสื่อกก, ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
คำอธิบาย : ภูมิปัญญาการทอเสื่อกก 114 หมู่ 1 ตำบลดงสิงห์ อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด 45000 ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางอุษา ฐานวิเศษ ที่อยู่ 114 หมู่ 1 ตำบลดงสิงห์ อำเภอจังหาร จังหวัด ร้อยเอ็ด 45000 อาชีพ ทำนา,ทำสวน อายุการศึกษาภูมิปัญญา 20 ปี ชื่อภูมิปัญญา การทอเสื่อกก ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา ด้วยภูมิศาสตร์ของหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านที่มีฝายน้ำ(ฝายกั้นน้ำ)จึงทำให้ดินที่มีความชุ่มชื่นมีต้นผือขึ้นเป็นจำนวนมากทำให้คนในหมู่บ้านเห็นความสำคัญและประโยชน์ของต้นผือ เพื่อนำมาทำเป็นของใช้ในครัวเรือน เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยการนำต้นผือมาทอเป็นสาด(หรือเสื่อ)เพื่อนำมาปูนั่งในครัวเรือนในบ้าน แต่ในปัจจุบันเราสามารถปลูกใช้ในพื้นที่ว่างเปล่าได้เอง จึงมีกลุ่มแม่บ้านในหมู่บ้านรวมกันตำสาดหรือทอเสื่อขายกันและมีการพัฒนาจากต้นผือ มาเป็นสาดหรือเสื่อพลาสติกที่เราพบเห็นและขายกันในปัจจุบันนี้เอง การทอเสื่อด้วยต้นกกหรือต้นผือ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้าน โดยเจ้าของภูมิปัญญาได้ศึกษามาจากคุณแม่ ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก (อุษา ฐานวิเศษ, ตุลาคม 2560: สัมภาษณ์) กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก) การแสวงหาความรู้ ซึ่งนอกจากการนำต้นกกและต้นผือซึ่งจะมีวิธีการทำหรือเหลือใช้วัสดุที่มีคุณภาพแล้วยังต้องแสวงหาวิธีการทำที่ดีอีกด้วย โดย สมัยอุษา ฐานวิเศษ ยังเป็นเด็กได้ช่วยคุณแม่และคุณยายทอเสื่อทอสาดตั้งแต่ยังสาวและได้ซึมซับศึกษาวิธีการทำด้วยการเป็นลูกมือและได้จดจำวิธีการขั้นการทำได้จนครบทุกขั้นตอนหลังจากที่ได้เรียนรู้วิธีการทำจากแม่และยายแล้ว จึงได้เกิดควานรู้ในการทำเสื่อหรือสาดแล้วจึงได้กลับมาทำด้วยตนเองโดยการจดจำสิ่งที่เห็นจากแม่กับยายทำเสื่อหรือสาดตั้งแต่ขั้นตอนแรกและขั้นตอนสำคัญ คือการใช้ด้ายไนลอนมาขึ้นกับโฮงที่จะใช้ตำหรือใช้ทอก็ต้องมีขั้นตอนและความรู้เพราะเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการทอสาดหรือเสื่อและเป็นวิธีที่ยุงยากพอสมควรต้องมีหลักการการทำแต่ละลายออกมาให้สวยงามรวมไปถึงขั้นตอนการทำต่างๆ โดยความรู้ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เกิดจากความรู้ที่ได้จากภายในครอบครัวคือคุณแม่และคุณยาย การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา) วัสดุอุปกรณ์ในการใช้ทอเสื่อ(ตำสาด) 1.กรรไกร 2. กกหรือไหล 3. เชือกไนลอนหรือเชือกเอ็น 4. ฟืมทอเสื่อ 1 เมตร 5. โฮมทอเสื่อ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร 6. ไม้สอดกก 7. สียอมกก 8. ด้ายในลอน ขั้นตอนและวิธีการทำ การเตรียมวัสดุ 1. ขั้นตอนการตัดต้นกกหรือต้นผือ นำมากองรวมกันไว้จำนวนพอประมาณ เพื่อวัดขนาดและตัด ปลายออกให้มีขนาดความยาวเท่ากัน (ภาพประกอบ ) 2. การนำต้นกกหรือต้นผือที่มีขนาดความยาวเท่ากันมาทำการมาส่อยหรือการใช้มีดกีดและดึงไป ตามความยาวต้นกกหรือต้นผือ เพื่อให้มีเส้นเล็กลง เพราะถ้าไม่ทำในลักษณะนี้จะทำให้ขั้นตอนการตากจะแห้งช้า รวมไปถึงการตำหากนำไปทอหรือตำก็จะไม่สวยงามและไม่นุ่ม (ภาพประกอบ) 3. นำต้นกกหรือต้นผือที่ทำการส่อยให้เล็กแล้วนำไปตากแดดให้แห้งสนิท เพื่อป้องกันการ เกิดเชื่อรา (ภาพประกอบ ) 4. การย้อมสี เราจะเลือกสีตามความต้องการ ว่าต้องการใช้สีไรบ้างแต่ในอดีตไม่มีการย้อมสีกก เพียงแต่ใช้สีตามธรรมชาติ โดยจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน แต่ในปัจจุบันเมื่อตากกกแห้งแล้วก็นำมาย้อมสีตามต้องการ โดยสีที่ย้อมส่วนใหญ่เป็นสีเคมีอย่างดี และมักจะย้อมเป็น สีน้ำตาลและสีขาว สีแดง สีน้ำเงิน (ภาพประกอบ) 5. การทอเสื่อหรือตำสาดควรเลือกขนาดของฟืมให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ นำฟืมไปตั้งในโฮงที่ จะทอแล้วตั้งให้ได้ระดับ ระยะห่างจากเหล็กตีนเสื่อประมาณ 2 ฟุต นำเชือกไนลอนมาขึงจากริมฟืมซี่แรก จะเริ่มจากด้านซ้าย หรือขวาก่อนก็ได้แล้วแต่ถนัด การขึงเชือกใช้คน 2 คน คนหนึ่งนั่งอยู่ที่หัวเสื่อคอยมัดเชือกที่ขึงให้ตึง และแน่น อีกคนนั่งอยู่ตีนเสื่อคอยสอดเชือกเข้ากับเหล็กตีนเสื่อและ ใช้เชือกสอดเข้าไปในรูฟืมที่เจาะไว้ เป็นสองแถว แล้วดึงปลายเชือกไปเกาะติดกับตะปูที่เราตอกงอไว้ติดกับไม้อีกท่อนหนึ่ง แล้วยึดกันให้แน่น เชือกดึงให้ยาวตามความยาวของเสื่อ พรมนำใส่กกที่จะทอ (ภาพประกอบ) ในการทอเสื่อจะใช้คน 2 คน คนแรกเป็นคนทอ อีกคนหนึ่งเป็นคนคอยสอดเส้นกก กกที่นำมาทอจะใส่ถุงพลาสติกเพื่อให้กกนิ่มและทอได้แน่น การทอคนทอจะต้องคว่ำฟืมเพื่อให้มีช่องว่างสำหรับสอดกก คนสอดจะสอดเส้นกกโดยแนบส่วนหัวของเส้นกกกับไม้สอด สอดไปตามช่องระหว่างเชือกที่แยกออกจากกันขณะที่คว่ำฟืม พอสอดไปสุดริมเชือกอีกข้างดึงไม้สอดกลับคืนคงเหลือแต่เส้นกก คนทอก็กระทบฟืมเข้าหาตัวแล้วคนทอก็หงายฟืม คนสอดก็ใช้ส่วนปลายของเส้นกกแนบกับไม้สอด สอดกกเข้าไปอีก คนทอก็กระตุกฟืมเข้าหาตัว แล้วไพริมเสื่อทางด้านซ้ายมือ การไพริมเสื่อ คือ การใช้ปลายกกม้วนงอลงแล้วสอดพับเชือกขัดไว้ให้แน่น ต่อไปคว่ำฟืม ไพริมเสื่อทางด้านขวามือ ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ขนาดตามที่ต้องการ ในขณะทอหากต้องการให้การทอง่ายยิ่งขึ้นให้ใช้เทียนไขถูกับเส้นเอ็นที่ขึงไว้ให้ทั่ว เพื่อที่จะให้เอ็นลื่นไม่ฝืด ตัดริมเสื่อทั้งสองด้านให้เรียบร้อย เสื่อจะมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น ใช้มีดตัดเชือกเอ็นทางตีนเสื่อเพื่อให้เสื่อออกจากโฮง มัดเอ็นที่ปลายเสื่อ เพื่อเป็นการป้องกันเสื่อรุ่ย นำเสื่อที่ทอเสร็จแล้วผึ่งแดดไว้จนแห้งสนิท จึงพับเก็บไว้จำหน่ายหรือแปรรูปต่อไป (ภาพประกอบ) การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล) การเก็บความรู้ภูมิปัญญา นางอุษา ฐานวิเศษ ได้ใช้วิธีการจดจำโดยการถามคุณแม่คุณยายแล้วลงมือทำตามขั้นตอนที่แม่และยายบอก และลงมือปฏิบัติตามคำแนะนำ เมื่อสงสัยขั้นตอนการทำ ก็ไปถามคุณแม่และคุณยายอีกที การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร) การถ่ายทอดความรู้ นางอุษา ฐานวิเศษ ได้นำความรู้ที่ได้ ไปสอนลูก หลาน และพี่น้อง ทุกคนที่อยู่ให้ชุมชนในหมู่บ้านที่สนใจในการตำเสื่อกก ก็มาถามได้ พิกัด (สถานที่) ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560 ชื่อผู้ศึกษา นายจิระศักดิ์ อุปพงษ์ รหัสนิสิต 6080110167 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 รายวิชา ความเป็นครู (800 5201) เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะ ศึกษาศาสตร์ สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านดงสิงห์(ดำรงราษฎร์สามัคคี) อาจารย์ผู้สอน 1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน) 2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ 3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา 4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์ 5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว 6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย https://youtu.be/1sIWQEIk4cA |
จำแนกตามระดับชั้น : ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , การศึกษาตามอัธยาศัย |
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ : การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ |
จำแนกตามลักษณะของสื่อ : VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน |
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ | |
---|---|
การทอเสื่อกก | 1,349 |
ผลงาน 5 อันดับล่าสุด | |
---|---|
การทอเสื่อกก | 13 พฤษภาคม 2561 |
ผลงานทั้งหมด | |||
---|---|---|---|
# | ชื่อเรื่อง | ผู้เข้าชม | # |
1 | การทอเสื่อกก | 1,349 |