เติม โคสีลา
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
1,292 4,506
- File 1
- File 2
- File 3
- File 4
- File 5
- File 6
- File 7
- File 8
- File 9
- File 10
- File 11
- File 12
หัวเรื่อง : การสานกระติบข้าว |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : ทั่วไป |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : เติม โคสีลา |
เจ้าของผลงานร่วม : ฤทธิ์ณรงค์ สาฆ้อง, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, เติม โคสีลา, การสานกระติบข้าว, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, กระติบข้าว |
คำสำคัญ : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
คำอธิบาย : ภูมิปัญญาท้องถิ่น : การสานกระติบข้าว 89 หมู่ที่7 บ้านถนนกลาง ตำบลสระพัง อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ 36190 ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นายเติม โคสีลา ที่อยู่ 89 หมู่ที่7 บ้านถนนกลาง ตำบลสระพัง อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ 36190 อาชีพ ทำนา อายุการศึกษาภูมิปัญญา 66 ปี ชื่อภูมิปัญญา การสานกระติบข้าว ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา ความเป็นมา จากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ของประชาชนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีค่านิยมในการรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ทำให้มีนักคิดค้น และประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันขึ้นด้วยการนำเอาวัสดุที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ที่หาง่ายและใช้ภูมิปัญญา ที่แฝงด้วยศิลปะแขนงหนึ่ง เช่นศิลปะเช่นศิลปะการจักสาน การถักทอ เป็นต้น ในการประดิษฐ์เครื่องมือต่าง ๆ การสานกระติบข้าว เป็นการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นหัตถกรรม ให้รายได้ให้กับครอบครัว อีกทั้งยังเป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกหลานและชุมชน กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องจักสาน ความหมายของเครื่องจักสาน เครื่องจักสาน หมายถึง ภาชนะเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกิดจากวิธีการจัก สาน ถัก และทอวัสดุที่มีความเหมาะสมซึ่งหาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ ค้า หวาย ทางมะพร้าว ผักตบชวา เป็นต้น งานสานเกิดจากวิธีการกระทำที่เป็นพื้นฐานมาจากการจัก การถัก การทอ และการสาน กระติบ หมายถึง ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่รูปกลมทรงสูง มีฝาครอบ และหูหิ้ว สำหรับบรรจุข้าวเหนียวนึ่ง หรือสิ่งอื่น ๆ แล้วเรียกชื่อตามสิ่งที่บรรจุ งานจักสาน หมายถึง การทำให้เป็นแฉกๆ ทำให้เป็นรอยคล้ายฟันเลื่อย โดยเอามีดผ่าไม้ไผ่หรือค้าให้แตกจากกันเป็นเส้นบาง ๆ การสาน หมายถึง การเอาตอก กก ค้า ไม้ไผ่ ฯลฯอย่างใดอย่างหนึ่งมาไขว้ขัดกันทำเป็นภาชนะ ต่าง ๆ การถัก หมายถึง การเอาเชือกหรือหวาย มาไขว้สอดประสานกันเป็นลวดลายต่าง ๆ หรือทำให้เป็นเส้นเดียวกัน การทำเครื่องจักสานของมนุษย์ในยุคแรกๆ เป็นการใช้วัตถุดิบที่มีในธรรมชาติเท่าที่จะหาได้ใกล้ตัวมาใช้ประโยชน์ เช่น นำกิ่งไม้ ใบไม้ เถาวัลย์ของต้นไม้มาสานขัดกันเป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามประโยชน์ใช้งาน เช่นทำฝาขัดแตะสำหรับทำฝาบ้าน และมุงหลังคา ทำรั้วบ้าน เป็นต้น ต่อมาผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานได้รับการพัฒนาให้เหมาะกับยุคสมัย และประโยชน์ในการใช้สอยมากขึ้น เช่น มวยนึ่งข้าวเหนียว ดัดแปลงทำเป็นกระเป๋าถือ พานใส่ดอกไม้ กระเช้าของขวัญ ซึ่งมีกระบวนการผลิตที่พิถีพิถันประณีตและสวยงาม มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ไว้ ประเภทและประโยชน์ของเครื่องจักสาน เครื่องจักสานที่ใช้กันอยู่แต่ละภาคทุกวันนี้ มีรูปร่างลักษณะและประโยชน์ใช้สอยต่างกันตามความนิยมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งพอแบ่งหัวข้อได้ดังนี้ 1. เครื่องจักสานที่ใช้เป็นภาชนะ เช่น กระจาด ฝาชี กระติบข้าว กระด้ง ตะกร้า เป็นต้น 2. เครื่องจักสานที่ใช้เป็นเครื่องตักและตวง เช่น กระออม กระชุ กระบุง เป็นต้น 3. เครื่องจักสานที่ใช้เป็นภาชนะประกอบอาหารในครัวเรือน เช่น กระชอน หวด มวย เป็นต้น 4. เครื่องจักสานที่ใช้ขนส่งสินค้า เช่น เข่ง หลัว ชะลอม บุ้งกี๋ 5. เครื่องจักสานที่ใช้เป็นเครื่องดักและจับสัตว์ เช่น ชะนาง ลอบ เฝือก สุ่ม ไซ กระชัง ข้อง 6. เครื่องจักสานที่ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องปูลาด เครื่องประดับ เครื่องดนตรี เช่น ฝาขัดแตะ มู่ลี่ หมวก งอบ แคน โหวด กระเช้า ครูผู้สอนได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษคือ บ้านถนนกลาง ตำบลสระพัง อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ เพื่อฝึกพัฒนาการการสานกระติบข้าวตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเยาว์ซึ่งได้รับการฝึกฝนและถ่ายทอดความรู้ให้จนได้นำมาพัฒนาต่อยอด การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา) ขั้นตอนที่ 1 การผ่าไม้ไผ่ ขั้นตอนที่ 2 การขูดตอก ขั้นตอนที่ 3 การสานตัวกระติบข้าว ขั้นตอนที่ 4 การพับ ขั้นตอนที่ 5 การสานฝาและก้น ขั้นตอนที่ 6 การใส่ฝา ขั้นตอนที่ 7 การเย็บ ขั้นตอนที่ 8 การใส่ขากระติบข้าวเสร็จเรียบร้อย การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล) ภูมิปัญญาท้องถิ่น การสานกระติบข้าวได้รับการถ่ายทอดจากคือ บ้านถนนกลาง ตำบลสระพัง อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ จึงทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริมและมีรายได้เพิ่มขึ้น และที่สำคัญได้ส่งเสริมและอนุรักษณ์ภูมิปัญญาของชุมชนต่อไป การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร) การสาน การสาน หมายถึง วิธีใช้เส้นตอกหรือสิ่งเป็นเส้นอื่น ๆ ที่อ่อนตัวได้ขัดกัน คือยกและข่มให้เกิดเป็นลายตามที่ต้องการ ขั้นตอนการสานกระติบข้าว 1. นำปล้องไม้ไผ่มาตัดหัวท้าย ตัดเอาข้อออก ผ่าเป็นซีกทำเส้นตอกกว้างประมาณ2-3 ม.ม. ขูดให้เรียบและบาง 2. นำเส้นตอกที่ได้มาสานเป็นรูปร่างกระติบข้าว หนึ่งลูกมี 2 ฝา มาประกอบกัน 3. นำกระติบข้าวที่ได้จากข้อ (2.) มาพับครึ่งให้เท่า ๆ กันพอดี เรียกว่า 1 ฝา 4. ขั้นตอนการทำฝาปิด โดยจักเส้นตอกที่มีความกว้าง 1 นิ้ว สานเป็นลายตามะกอก และลายขัด 5. นำฝาปิดหัวท้ายมาตัดเป็นวงกลม มาใส่เข้าที่ปลายทั้งสองข้าง 6. ใช้ด้ายไนล่อน และเข็มเย็บเข้าด้วยกันรอบฝาปิดหัวท้าย 7. นำก้านตาลที่ม้วนไว้มาเย็บติดกับฝาล่าง ที่เป็นตัวกระติบข้าว 8. นำกระติบข้าวที่ได้ไปรมควันจากฟางข้าว เพื่อกันแมลงเจาะ และเพื่อความสวยงาม ทนทาน ไม่เกิดราดำ 9. นำไม้มาเหลาเป็นเส้นตอก กลมยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ม.ม. ความยาวรอบ บางเท่ากับฝากระติบพันด้วยด้ายไนล่อน แล้วเย็บติดฝาขอบบน เพื่อความสวยงาม 10. เจาะรูที่เชิงกระติบข้าว ด้วยเหล็กแหลม 2 รู ให้ตรงข้ามกัน แล้วทำหูที่ฝาด้านบน ตรงกับรูที่เจาะเชิงไว้ 11. ใช้ด้ายไนล่อนสอดเข้าเป็นสายไว้สะพายไปมาได้สะดวก จะได้กระติบข้าวที่สำเร็จเรียบร้อย สามารถนำมาใช้และจำหน่ายได้ พิกัด (สถานที่) หมู่บ้าน89 หมู่ที่7 บ้านถนนกลาง ตำบลสระพัง อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ 36190 ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560 ชื่อผู้ศึกษา นายนายฤทธิ์ณรงค์ สาฆ้อง หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 รายวิชา ความเป็นครู (8005201) เน้นศึกษา การอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะ ศึกษาศาสตร์ สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถานที่ทำงาน โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร ต.เมืองใหม่ อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู อาจารย์ผู้สอน 1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง(ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน) 2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ 3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา 4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์ 5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว 6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย https://youtu.be/ik7fXMoGDQc |
จำแนกตามระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , การศึกษาตามอัธยาศัย |
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ : การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ |
จำแนกตามลักษณะของสื่อ : VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน |
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ | |
---|---|
การสานกระติบข้าว | 1,292 |
ผลงาน 5 อันดับล่าสุด | |
---|---|
การสานกระติบข้าว | 16 มีนาคม 2561 |
ผลงานทั้งหมด | |||
---|---|---|---|
# | ชื่อเรื่อง | ผู้เข้าชม | # |
1 | การสานกระติบข้าว | 1,292 |