อมรรัตน์ แปลงกันทา
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
หัวเรื่อง : มะพร้าวแก้วเชียงคาน |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : ทั่วไป |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : ดวงใจ บุตรตา |
เจ้าของผลงานร่วม : อมรรัตน์ แปลงกันทา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
คำสำคัญ : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, มะพร้าวแก้วเชียงคาน, มะพร้าวแก้ว, ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
คำอธิบาย : ภูมิปัญญาภูมิปัญญาท้องถิ่น มะพร้าวแก้วเชียงคาน บ.น้อย ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา รูปภาพ ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา คุณแม่ ดวงใจ บุตรตา ที่อยู่ 7/1 ม.4 บ.น้อย ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย 42110 อาชีพ ทำมะพร้าวแก้ว อายุการศึกษาภูมิปัญญา 10 ปี ชื่อภูมิปัญญา มะพร้าวแก้วเชียงคาน ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา มะพร้าวเป็นไม้ผลที่มีอยู่ทั่วไป สามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศสามารถกินได้ทั้งมะพร้าวอ่อน น้ำมะพร้าว มะพร้าวแก่ กะทิ แต่ที่บ้านน้อย ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคานแปรรูปมะพร้าวเป็น มะพร้าวแก้วโดย...กลุ่มอาชีพสตรี พ.ศ. 2507 สตรีอาสาบ้านน้อยจำนวนหนึ่งได้รวมตัวกันเพื่อจะแสวงหาอาชีพเสริมเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว จึงได้ประสานงานขอรับการสนับสนุนจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเลยให้มาฝึกอบรม และฝึกสอนวิธีการทำขนมต่างๆ การทำมะพร้าวแก้ว เพื่อนำไปจำหน่ายที่แก่งคุดคู้ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด อาชีพการทำมะพร้าวแก้วจึงได้ ขยายวงไปอย่างกว้างขวางและพัฒนาจากการได้ทำเป็นลักษณะแบบเส้นเล็กๆ เคี่ยวเสร็จนำมากองเป็นก้อน และได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาให้แก่ลูกแก่หลาน ที่ชุมชนบ้านน้อย ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย ซึ่งได้เล่งเห็นว่ามีสถานที่ท่องเที่ยวเป็นที่รู้จักกันดี คือแก่งคุดคู้ จึงได้ริเริ่มทำเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สินค้าที่ระลึก และสินค้า OTOP มากมาย ภายหลังได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้บางช่วง วัตถุดิบบางอย่างไม่เพียงพอ โดยมะพร้าวในพื้นที่จะมีเอกลักษณ์คือเนื้อที่หนา จนกระทั่งต่อมาจึงได้มีการรวมกลุ่มกัน เรียนรู้และพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้อร่อยน่ารับประทานมีมาตรฐาน เช่น มะพร้าวจะนำมาทำเป็นเส้นบางๆ มะพร้าวอ่อนทำเป็นแผ่น เป็นต้น กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก) คุณแม่ ดวงใจ บุตรตา อายุ 49 ปี อาชีพ ทำมะพร้าวแก้ว บ้านเลขที่ 7/1 ม.4 บ.น้อย ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย 42110 ได้เริ่มเรียนรู้การทำมะพร้าวแก้วจากกลุ่มอาชีพสตรีในพื้นที่และครอบครัวญาติพี่น้องที่มีภูมิในการมะพร้าวแก้ว แล้วได้นำมาใช้ประกอบอาชีพในครอบครัวซึ่งเมื่อ 10 ปีก่อน ได้พัฒนาต่อยอดขึ้นมาเรื่อยๆโดยเริ่มหัดทำตั้งแต่เริ่มต้นการทำมะพร้าวแก้ว แต่งเดิมขึ้นมาเรื่อยๆจนทำให้ได้ประสบการณ์ในการทำมาเป็นเวลานานต่อมาคนที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงและคนในหมู่บ้านที่สนใจก็ได้มาเรียนรู้ขั้นตอนการทำกับ มะพร้าวแก้ว เพื่อให้เป็นการเสริมสร้างให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้เรียนรู้กันต่อไปและได้มีไว้ใช้ประโยชน์ภายในบ้านและครอบครัว การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา) 1. ผ่ามะพร้าวและใช้พายแคะเนื้อมะพร้าว และใช้มีดปลอกเปลือกสีน้ำตาลที่ติดอยู่บริเวณเนื้อมะพร้าวออก 2. คัดแยกมะพร้าว ขนาดอ่อนจะเป็นชนิดแผ่น ( ถ้ามะพร้าวแก่จะเป็นมะพร้าวแก้วชนิดเส้น) ใช้มีดสองคมฝานเป็นชิ้นหนาและบาง ตามชนิดและขนาด(ถ้าเป็นเกรดAจะฝานได้แค่ครึ่งเดียว,ถ้าเป็นเกรดBจะฝานได้ไม่เกิน3ครั้งของชิ้นมะพร้าวที่แคะออกมาจากกะลา) 3. จากนั้นเอามะพร้าวที่คัดแยกเกรดได้แล้วไปล้างน้ำสะอาด 4. หลังจากล้างเสร็จแล้ว ให้น้ำไปคั่วในส่วนผสมที่มะพร้าว 5 กิโลกรัม ต่อ น้ำตาล2 กิโลกรัม และเติมเกลือครึ่งช้อนโต๊ะ 5. ใช้เวลาในการคั่ว 1ชั่วโมง จากนั้นก็นำขึ้นมาพักในกะละมังให้เย็น แล้วนำบรรจุภัณฑ์ขายได้เลย การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล) ใช้การจดจำ และการเล่าสู่กันฟังเป็นการสืบทอดความรู้ไปสู่คนรุ่นหลัง การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร) ให้ประชาชน คนรุ่นหลังหรือองค์กรเข้ามาศึกษาเรียนรู้ได้ พิกัด (สถานที่) ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2561 ชื่อผู้ศึกษา นาย นางอมรรัตน์ แปลงกันทา หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 รายวิชา ความเป็นครู (800 5201) เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะ ศึกษาศาสตร์ สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถานที่ทำงาน กศน.อำเภอเชียงคาน อาจารย์ผู้สอน 1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน) 2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ 3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา 4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์ 5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว 6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย https://youtu.be/3M-PjQZE0_4 |
จำแนกตามระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , การศึกษาตามอัธยาศัย |
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ : การงานอาชีพและเทคโนโลยี |
จำแนกตามลักษณะของสื่อ : VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน |
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ | |
---|---|
มะพร้าวแก้วเชียงคาน | 1,444 |
ผลงาน 5 อันดับล่าสุด | |
---|---|
มะพร้าวแก้วเชียงคาน | 15 มีนาคม 2561 |
ผลงานทั้งหมด | |||
---|---|---|---|
# | ชื่อเรื่อง | ผู้เข้าชม | # |
1 | มะพร้าวแก้วเชียงคาน | 1,444 |