ชม โพนะทา

ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  273       1,444

-  File 1
-  File 2
-  File 3
-  File 4
-  File 5
-  File 6
-  File 7
-  File 8
-  File 9
-  File 10
-  File 11
-  File 12
-  File 13
-  File 14
-  File 15
-  File 16
-  File 17
-  File 18
หัวเรื่อง :  การทอผ้าไหมแพรวา
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  ชม โพนะทา
เจ้าของผลงานร่วม :   พัชรพงษ์ อนุพัฒน์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   การทอผ้าไหมแพรวา, การทอผ้าไหม, การทอผ้า, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คำอธิบาย :  ชื่อหัวข้อภูมิปัญญา การทอผ้าไหมแพรวา
สถานที่ บ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา

ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางชม โพนะทา
ที่อยู่ บ้านเลขที่ 81 หมู่ 1 บ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46180
อาชีพ ทอผ้า อายุการศึกษาภูมิปัญญา 54 ปี

ชื่อภูมิปัญญา การทอผ้าไหมแพรวา
ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา
นางชม โพนะทา อายุ 54 ปี เป็นชาวผู้ไทย หรือภูไท บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีบุตรธิดา จำนวน 2 คน มีอาชีพทำไร่ทำนา ทำสวนพุทรา และทอผ้าไหมแพรวาขาย ซึ่งผ้าไหมแพรวาเป็นของดีขึ้นชื่อของอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ จนกลายเป็นรายได้เสริมที่มีราคาหลายหมื่นบาทในปัจจุบัน

กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)
การทอผ้าไหมแพรวา มีการสืบทอดวิธีการทำจากบรรพบุรุษชาวผู้ไทย จากรุ่นสู่รุ่น มีการสืบทอดทางผืนผ้าลวดลายแพรวาโดยจะมี ผ้าแซ่ว ซึ่งเป็นผ้าไหม ทอพื้นสีขาวหรือสีอ่อนๆ ขนาดพอประมาณ มีลวดลายต่าง ๆ หลายๆ ลายที่เป็นต้นแบบดั้งเดิมตั้งแต่โบราณ โดยจะเก็บรักษาไว้บนในผืนผ้าแซ่ว สืบทอดต่อไป


ผ้าแซ่ว



การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)
อุปกรณ์ในการทอผ้าไหมแพรวา
1. กี่ทอผ้า คือหัวใจหลักในการทอผ้าทุกชนิด

2. ฟืม อุปกรณ์อัดเส้นได้ให้เรียงเป็นระเบียบ


3. เขาเล็ก สำหรับยกเส้นด้ายสลับขึ้นลง



4. เขาใหญ่ มีไว้พิเศษเพื่อใช้เก็บลวดลายผ้าไหมแพรวาทำให้ง่ายต่อการทอลวดลายแต่ละส่วน

5. กระสวย เป็นตัวนำพาเส้นด้ายสานสลับไปมา

6. ไม้กำพั้น มีไว้สอดเพื่อยกในขณะที่ต้องทำให้เกิดลวดลาย


7. ไม้เก็บลาย อยู่ด้วยกันกับเขาใหญ่ทำหน้าที่เก็บลวดลายไว้

8. หลอดสำหรับกรอไหม เป็นตัวเก็บเส้นไหม

9. ผ้าแพรวาสั่งทำลวดลายพิเศษ คุณแม่ชม กับลูกสาวช่วยกันทอ ใช้เวลาสามเดือนจึงสำเร็จหนึ่งผืน ราคาตามเนื้องาน

การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)
ผ้าแซ่ว จะเป็นแหล่งความรู้ด้านลวดลายที่รักษาลวดลายไว้ได้ และมีการสนับสนุนจากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านบ่อเดือนห้า ตำบลโคกภู อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร รับไว้เป็นสมาชิกของศูนย์ฯ

การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)
คุณแม่ชมได้มีการเผยแพร่ความรู้ให้กับลูกหลาน และหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งบุคคลทั่วไปที่สนใจ อยู่เป็นประจำ

พิกัด (สถานที่)










ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560
ชื่อผู้ศึกษา นายพัชรพงษ์ อนุพัฒน์
หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4
รายวิชา ความเป็นครู (800 5201)
เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
คณะ ศึกษาศาสตร์
สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สถานที่ทำงาน วิทยาลัยการอาชีพคำม่วง
อาจารย์ผู้สอน
1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)
2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ
3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา
4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์
5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว
6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย

https://youtu.be/EfK2N17D6EI
จำแนกตามระดับชั้น :   มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, ศิลปะ, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
การทอผ้าไหมแพรวา 273

ผลงาน 5 อันดับล่าสุด
การทอผ้าไหมแพรวา 15 มีนาคม 2561
จำนวนไฟล์จำแนกตามประเภท
จำนวนข้อมูลจำแนกตามระดับชั้น
จำนวนข้อมูลจำแนกตามประเภทบุคคล
ผลงานทั้งหมด
# ชื่อเรื่อง ผู้เข้าชม #
1 การทอผ้าไหมแพรวา 273