ชัยยศ เย็นศิริ

ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  963       980

-  File 1
-  File 2
-  File 3
-  File 4
-  File 5
หัวเรื่อง :  พัดไม้ไผ่
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  ประเสริฐ ธุระพันธ์
เจ้าของผลงานร่วม :   ชัยยศ เย็นศิริ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, พัดไม่ไผ่, จักสาร, งานจักสานไม้ไผ่, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คำอธิบาย :  ชื่อหัวข้อภูมิปัญญางานจักรสานไม้ไผ่
สถานที่บ้านเลขที่ 94 หมู่ 8 ตำบลเมืองสรวง อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด
ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา

ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา คุณพ่อประเสริฐ ธุระพันธ์อายุ 67 ปี
ที่อยู่ 94 หมู่ 8 ตำบลเมืองสรวง อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด
อาชีพ เกษตรกร อายุการศึกษาภูมิปัญญา 30 ปี

ชื่อภูมิปัญญา งานจักรสานไม้ไผ่
ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา

ประวัติหมู่บ้านชุมชนบ้านผำ
ความเป็นมาของบ้านผำใหญ่ ตำบลเมืองสรวง อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด คนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังว่า
แต่ก่อนนั้น บ้านหนองยาง เดิมทีได้ตั้งอยู่บ้านท่าช้าง (อยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของบ้านตาแหลว ตำบลนาใหญ่ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ยังมีวัดเก่าที่มีพัทธสีมาปรากฎให้เห็นอยู่จนทุกวันนี้) ซึ่งอยู่ตอนใต้ของดงสวนผึ้ง ตั้งอยู่ริมห้วยอันมีน้ำไหลผ่านจากดงสวนผึ้ง ผ่านดงขวาง แล้วผ่านบ้านท่าช้างไป ในถิ่นนั้น มีดงไม้ทึบและมีฝูงช้างมากมาย เมื่อถึงฤดูกาลทำนา ฝูงช้างในถิ่นนั้น จะออกมากินข้าวกล้าที่ชาวนาปลูกไว้เสียหายหมด และยังเกิดโรคระบาดขึ้นในหมู่บ้านนั้นอีก ชาวบ้านจึงพากันอพยพหนีจากที่นั้น หาที่ทำมาหากินใหม่ จึงเกิดแยกกันออกเป็น ๒ สาย คือ
สายที่ ๑ ได้อพยพจากบ้านท่าช้าง มาตั้งอยู่ที่บ้านหนองจอกน้อยและพวกนั้นยังได้แยกกันอีก บางพวกก็แยกต่อมาตั้งอยู่ที่บ้านหนองยาง จนถึงทุกวันนี้ คนถิ่นนั้นจึงมักเรียกรวมกันว่า บ้านหนองจอกหนองยาง จนติดปากและมีบางพวกย้ายกันไปเรื่อยๆ จนถึงบ้านโปด บ้านบัวสูง บ้านดู่ บ้านหัวนา ได้ย้ายกันไปเรื่อยๆ
สายที่ ๒ ได้อพยพจากบ้านท่าช้างเช่นเดียวกัน แล้วมาตั้งอยู่ที่บ้านโนนม่วง(ทิศตะวันออกของโนนธาตุบัวสูง ซึ่งมีต้นมะม่วงเก่าแก่อยู่หลายต้น ที่มีปรากฎให้เห็นอยู่และเป็นที่ตั้งโรงเรียนประชาบาลบ้านบัวสูงในปัจจุบัน) อยู่ต่อมา การทำมาหาเลี้ยงชีพไม่สะดวกพอ ได้มี ๒ คนพี่น้อง คนพี่ชื่อคำ คนน้องชื่อดำ ได้พากันบุกป่าฝ่าดงหาตรวจดูพื้นที่ ทำเลที่พอเหมาะ พอจะตั้งหมู่บ้านได้ จึงพากันผ่านไปเรื่อยๆ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนกระทั่งได้พบพื้นที่อันมีหนองน้ำ (หนองคูปัจจุบัน) ซึ่งมี “หมากไข่ผำ” อยู่มากมายและยังมีน้ำใสเย็นดี มีป่าไม้ที่ไม่ใหญ่นัก เห็นว่าพอเหมาะแก่การตั้งบ้าน ทำมาหากินเลี้ยงชีพได้ดี จึงได้กลับไปอพยพเอาพวกญาติพี่น้องมาตั้งบ้านอยู่ทางทิศเหนือของหนองน้ำนั้น และมาถึงที่นั่นเวลาพอผึมผำ(จวนจะค่ำ) จึงพากันเรียกชื่อบ้านนั้นว่า “บ้านผำ” ครั้นเวลาต่อมาก็พากันทำคันคูกั้นน้ำไว้ให้มีที่ขังน้ำไว้ใช้ได้ตลอดปี
(ประเสริฐ ธุระพันธ์, 20 พฤศจิกายน 2560)


กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)

ประวัติการทำจักรสานไม้ไผ่
เริ่มจากเมื่อครั้งสมัยก่อนนั้นพ่อใหญ่เสริฐ (นายประเสริฐ ธุระพันธ์)เมื่อครั้นสำเร็จการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก็ได้ออกจากโรงเรียนเนื่องด้วยฐานะทางบ้านไม่ดีจึงไม่ได้เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นไป จึงหันหน้าทำงานเกษตรกรรมอย่างจริงจังช่วย บิดา มารดาของตน เมื่อก้าวเข้าสู่ไวหนุ่ม จึงได้สมรสกับภรรยา เมื่ออายุ 25 ปี หลังจากแต่งงานก็ได้ไปทำงานที่จังหวัดยะลา กับเรือประมง เมื่อได้ไปสัมผัสของชีวิตชาวประมงก็รู้สึกตื่นแต่ และวิตกกังวลเพราะได้จากบ้านมาไกลหลายร้อยกิโล บนเรือประมงก็ได้เรียนรู้การใช้เชือกชนิดต่างๆ เช่น การต่อสลิง การต่อเชือกใต้น้ำ เป็นต้น จากความรู้และประสบการณ์ที่ได้ในระยะเวลา 9 เดือน พ่อใหญ่เสริฐก็เดินทางมายังภูมิลำเนาของตนที่จังหวัดร้อยเอ็ด และยึดถืออาชีพเกษตรกรรมเพื่อเลี้ยงชีพเช่นเคย มีการเลี้ยง ควาย เลี้ยงสัตว์ ทำนา ยังสามารถฝั่นเชือกเพื่อใช้งาน
เมื่อมาอยู่บ้านก็ได้เกิดความสนใจในงานจักรสานไม้ไผ่แต่ไม่มีความรู้ จึงได้ไปเรียนกับ ตาสิน มงคลอินทร์ เป็นผู้สอน การทำวี (พัด)ให้กับพ่อใหญ่เสริฐ ถือว่าเป็นครูคนแรกของพ่อใหญ่เสริฐในเรื่องงานจักรสาน ต่อมาก็ได้ไปเรียน วิชาการสานกระติบข้าว จากตาลุน อย่างตั้งใจเพราะนอกจากจะนำไว้ใช้ในครัวเรือนแล้วยังสามารถนำมาขายสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้อีกด้วย (ประเสริฐ ธุระพันธ์, 30 พฤศจิกายน 2560)


วัสดุอุปกรณ์ในการทำงานจักรสานไม้ไผ่
1. ไม้ไผ่
2. มีดจักหรือมีดเหลา
3. มีดพร้าหรืออีโต้
4. ค้อน

การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)

ขั้นตอนการสานพัด(วี)

ขั้นตอนที่ 1 : การเลือกไม้ไผ่
การเลือกไม้ไผ่ ต้องเป็นไม้ไผ่แก่ ที่ด้านปลายของลำต้นไม่ด้วน และตาหรือปล้องไม้ไผ่ไม่ใหญ่

ขั้นตอนที่ 2 : การจักหรือเหลาไม้ไผ่
เมื่อตัดลำไม้ไผ่มาแล้ว ก็จะนำมาเลื่อยตัดตามขนาด แล้วนำมาเหลาไม้ไผ่ให้บางที่สุดเพื่อง่ายแก่การจักรสาน ขั้นตอนนี้ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูงเพราะมีดเหลาหรือมีดจักมีความคมอย่างมาก




ขั้นตอนที่ 3 : นำไปแช่น้ำ
นำไม้ไผ่ที่เหลาแล้วหรือตอก นำไปแช่น้ำเพื่อให้ไม้ตอกมีความนิ่ม ซึ่งจะง่ายในการนำมาสาน ไม้จะอ่อนและไม่หักง่าย
ขั้นตอนที่ 4 : การเริ่มสานพัด
นำไม้ตอกหรือไม้ไผ่มาเรียงกันแล้วเริ่มสาน ตามลายที่ได้คิดไว้แล้วทำไปเรื่อยๆจนเสร็จ




พัดไม้ไผ่ที่เสร็จสมบูรณ์






สรุป
การทำงานจักรสานไม้ไผ่นั้นพ่อใหญ่เสริฐเล่าว่า ทุกวันนี้เทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตมีมากยิ่งขึ้น คนก็ไม่ค่อยสนใจกับงานจักรสานไม้ไผ่แล้ว เพราะว่าหลายที่มีขายซื้อเอาก็ได้ คนที่จะมาเรียนภูมิปัญญาส่วนใหญ่ก็เป็นผู้สูงอายุ ที่เอาไว้ทำในเวลาว่าง หลังเสร็จสิ้นฤดูการทำนา หลายคนก็ยึดเป็นอาชีพหลัก บางคนก็ทำไว้ใช้ในครัวเรือน พ่อใหญ่เสริฐก็หวังว่า ภูมิปัญญาเหล่านี้คงจะไม่หายไปไหน ถ้าคนรุ่นใหม่หัดเรียนรู้และรักษามันไว้รุ่นต่อรุ่น และอยู่กับชุมชนตลอดไป
(ประเสริฐ ธุระพันธ์, : สัมภาษณ์ 30 พ.ย. 60 )


พิกัด (สถานที่)





ภาพแผนที่ดาวเทียม บ้านชุมชนบ้านผำ





ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560
ชื่อผู้ศึกษา นายชัยยศ เย็นศิริ

หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4
รายวิชา ความเป็นครู (800 5201)
เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
คณะ ศึกษาศาสตร์
สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สถานที่ทำงาน โรงเรียนชุมชนบ้านผำ ต.เมืองสรวง อ.เมืองสรวง จ.ร้อยเอ็ด
อาจารย์ผู้สอน
1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง(ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)
2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ
3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา
4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์
5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว
6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย

https://youtu.be/N-PPdzHIDD8
จำแนกตามระดับชั้น :   ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, ศิลปะ, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
พัดไม้ไผ่ 963
พัดไม้ไผ่ 383

ผลงาน 5 อันดับล่าสุด
พัดไม้ไผ่ 14 มีนาคม 2561
พัดไม้ไผ่ 14 มีนาคม 2561
จำนวนไฟล์จำแนกตามประเภท
จำนวนข้อมูลจำแนกตามระดับชั้น
จำนวนข้อมูลจำแนกตามประเภทบุคคล
ผลงานทั้งหมด
# ชื่อเรื่อง ผู้เข้าชม #
1 พัดไม้ไผ่ 963
2 พัดไม้ไผ่ 383