ใส วัฒนู

ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  367       1,454

-  File 1
-  File 2
-  File 3
-  File 4
-  File 5
-  File 6
-  File 7
-  File 8
-  File 9
-  File 10
-  File 11
-  File 12
-  File 13
หัวเรื่อง :  การทอเสื่อ
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :  ใส วัฒนู
เจ้าของผลงานร่วม :   ปัญญา พรมจันทร์
คำสำคัญ :   การทอเสื่อ, เสื่อ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ทอเสื่อ
คำอธิบาย :  ชื่อหัวข้อภูมิปัญญา การทอเสื่อ
สถานที่ 7 หมู่ที่ 11 บ้านดงมูล ต.ดงมูล อ.หนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์
ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา
ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางใส วัฒนู
ที่อยู่ 7 หมู่ที่ 11 บ้านดงมูล ต.ดงมูล อ.หนองกุงศรี
จ.กาฬสินธุ์ 46220
อาชีพ ตำเสื่อ อายุการศึกษาภูมิปัญญา 35 ปี


ชื่อภูมิปัญญา การตำเสื่อ
ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา
ประวัติการกำเนิดการตำเสื่อ
การตำเสื่อเป็นวิธีดั้งเดิมที่ชาวบ้านดงมูลได้ยึดถือและสืบทอดกันมายาวนานซึ่งเป็นอาชีพที่บรรพบุรุษได้ถ่ายทอดให้กับบุคคลรุ่นหลังจากรุ่นสู่รุ่นจนกลายเป็นอาชีพเสริมในเวลาว่างของชาวบ้านบางคนในหมู่บ้านดงมูล
ดังนั้นคุณยายใส วัฒนู (คุณยายใส) วัย 61 ปี จึงได้นำความรู้ที่มีมาแต่อดีดมาจัดทำเสื่อเพื่อใช้ในการปูนั่ง เสื่อที่ทอได้มีลักษณะแตกต่างกันหลากหลายลาย ที่สืบทอดมาแต่โบราณ และคุณยายทองใสยังได้สืบทอดต่อไปยังลูกหลานในครอบครัวเพื่อให้ภูมิปัญญาเหล่านี้อยู่กับชาวบ้านดงมูลต่อไปในภายพากหน้า (ปัญญา พรมจันทร์ 24 ตุลาคม 2560 : สัมภาษณ์ )
กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้(ภายใน/ภายนอก)
ด้านความรู้ของการทำเสื่อได้ทำการศึกษาค้นคว้าดังต่อไปนี้
การศึกษาค้นคว้าภายในศึกษาข้อมูลลายเสื่อเดิมที่ตกทอดมาจากรุ่นปู่รุ่นย่า จากรุ่นสู่รุ่น
การศึกษาค้นคว้าภายนอก มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครัวเรือนที่ตำเสื่อเหมือนกัน เช่นลวดลายในการตำเสื่อ

การสร้างความรู้(ขั้นตอน/วิธีการสร้างภูมิปัญญา)
ขั้นตอนการตำเสื่อ
การตำเสื่อเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้ผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ คือต้นไหลมีลักษณะเป็นกอเกิดได้ดีในพื้นที่ที่มีน้ำเป็นพืชที่มีเส้นใยที่มีความเหนียว ทน ไม่ฉีกขาดง่ายชาวบ้านจึงนิยมนำต้นไหลมาใช้ในการตำเสื่อ
การถ่ายถอดหรือสร้างความรู้อาศัยการจดจำและการเรียนรู้แบบปฏิบัติเมื่อมีคนในครอบคัวเช่นย่า ยาย น้า อา มีการตำเสื่อ คนที่อยู่รอบข้างหรือพี่น้องก็จะเกิดการเรียนรู้และซึมชับ เช่น ย่าใช้ให้ช่วยย่าแหย่ไหล เพราะการตำสาดบางครั้งต้องใช้คนสองคนเพื่อความสะดวกและรวดเร็น คนหนึ่งเป็นคนตำให้ไหลชิดกันอีกคนจะคอยช่วยแหย่ไหล หรือเอาไหลเข้าไปโฮงที่เตรียมไว้ ดังนั้นการทำแบบนี้ทำให้ลูกหลานที่ช่วยสามารถทำเป็นโดยอัตโนมัติ

วิธีการและขั้นตอนการตำเสื่อ
เลือกขนาดของฟืมให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ นำฟืมไปตั้งในโฮงที่จะทอแล้วตั้งให้ได้ระดับ ระยะห่างจากเหล็กตีนเสื่อประมาณ 2 ฟุต นำเชือกไนลอนมาขึงจามริมฟืมซี่แรก จะเริ่มจากด้านซ้าย หรือขวาก่อนก็ได้แล้วแต่ถนัด การขึงเชือกใช้คน 2 คน คนหนึ่งนั่งอยู่ที่หัวเสื่อคอยมัดเชือกที่ขึงให้ตึง และแน่น อีกคนนั่งอยู่ตีนเสื่อคอยสอดเชือกเข้ากับเหล็กตีนเสื่อ ใช้เชือกสอดเข้าไปในรูฟืมที่เจาะไว้ เป็นสองแถว แล้วดึงปลายเชือกไปเกาะติดกับตะปูที่เราตอกงอไว้ติดกับไม้อีกท่อนหนึ่ง แล้วยึดกันให้แน่น เชือกดึงให้ยาวตามความยาวของเสื่อ พรมนำใส่กกที่จะทอ

ในการทอเสื่อจะใช้คน 2 คน คนแรกเป็นคนทอ อีกคนหนึ่งเป็นคนคอยสอดเส้นกก กกที่นำมาทอจะใส่ถุงพลาสติกเพื่อให้กกนิ่มและทอได้แน่น การทอคนทอจะต้องคว่ำฟืมเพื่อให้มีช่องว่างสำหรับสอดกก คนสอดจะสอดเส้นกกโดยแนบส่วนหัวของเส้นกกกับไม้สอด สอดไปตามช่องระหว่างเชือกที่แยกออกจากกันขณะที่คว่ำฟืม พอสอดไปสุดริมเชือกอีกข้างดึงไม้สอดกลับคืนคงเหลือแต่เส้นกก คนทอก็กระทบฟืมเข้าหาตัวแล้วคนทอก็หงายฟืม คนสอดก็ใช้ส่วนปลายของเส้นกกแนบกับไม้สอด สอดกกเข้าไปอีก คนทอก็กระตุกฟืมเข้าหาตัว แล้วไพริมเสื่อทางด้านซ้ายมือ การไพริมเสื่อ คือ การใช้ปลายกกม้วนงอลงแล้วสอดพับเชือกขัดไว้ให้แน่น ต่อไปคว่ำฟืม ไพริมเสื่อทางด้านขวามือ ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ขนาดตามที่ต้องการ ในขณะทอหากต้องการให้การทอง่ายยิ่งขึ้นให้ใช้เทียนไขถูกับเส้นเอ็นที่ขึงไว้ให้ทั่ว เพื่อที่จะให้เอ็นลื่นไม่ฝืด ตัดริมเสื่อทั้งสองด้านให้เรียบร้อย เสื่อจะมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น ใช้มีดตัดเชือกเอ็นทางตีนเสื่อเพื่อให้เสื่อออกจากโฮง มัดเอ็นที่ปลายเสื่อ เพื่อเป็นการป้องกันเสื่อรุ่ย นำเสื่อที่ทอเสร็จแล้วผึ่งแดดไว้จนแห้งสนิท จึงพับเก็บไว้จำหน่ายหรือแปรรูปต่อไป

การทอเสื่อที่สวยงามนั่นต้องใช้คามปราณีตและความอดทนสูงเพราะการทอเสื่อต้องใช้ระยะเวลาในการทอมาก จึงจะได้เสื่อที่สวยงามมาก และอีกอย่างหนึ่งก็คือการใช้สีในการใส่ลวยลายให้เกิดสีสรรค์สวยงามตามใจผู้ทำ




การจัดเก็บและการค้นคว้าความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)
การจดจำและการเรียนรู้ปฏิบัติจริง




การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์(ซึมซับไว้กับตนเองหรือเผยความรู้ให้กับองค์กร)
การถ่ายทอดความรู้เป็นการถ่ายทอดความรู้แบบเผยความรู้ โดยการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นภายในครอบครัวก่อนจากนั้นจึงถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเกี่ยวกับการตำเสื่อแต่ส่วนมากก็ในครอบครัวและเครือญาติพี่น้อง

พิกัด(สถานที่)

ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560
ชื่อผู้ศึกษา



นายปัญญา พรมจันทร์
หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัญฑิต) รุ่น4
รายวิชา ความเป็นครู (8005201)
เน้นศึกษา ครูอนุรักษ์และสงเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
คณะ ศึกษาศาสตร์
สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สถานที่ทำงาน โรงเรียนมัธยมธษพล บ้านดงมูล ตำบลดงมูล อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์

อาจารย์ผู้สอน
1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย,ศิลปินมรดกอีสาน)
2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ
3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา
4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์
5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว
6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย

https://youtu.be/F6GroNPYuuM
จำแนกตามระดับชั้น :   การศึกษาตามอัธยาศัย
จำแนกตามสาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ
จำแนกตามลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, ใบงาน
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
การทอเสื่อ 367

ผลงาน 5 อันดับล่าสุด
การทอเสื่อ 10 มีนาคม 2561
จำนวนไฟล์จำแนกตามประเภท
จำนวนข้อมูลจำแนกตามระดับชั้น
จำนวนข้อมูลจำแนกตามประเภทบุคคล
ผลงานทั้งหมด
# ชื่อเรื่อง ผู้เข้าชม #
1 การทอเสื่อ 367